Skip to main content

ภาษา

วิกฤติผู้ลี้ภัยซูดานใต้:สงครามและความอดอยาก:ข่าว 3 มิติ

 

วิกฤติผู้ลี้ภัยซูดานใต้:สงครามและความอดอยาก:ข่าว 3 มิติ

 

วิกฤตผู้ลี้ภัยซูดานใต้:สงครามและความอดอยาก

ภารกิจของทีมข่าว 3 มิติ ร่วมกับ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ประเทศยูกันดา เพื่อสำรวจสถานการณ์ความเป็นอยู่ หลังจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เปิดระดมทุนช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและความอดอยาก โดยเฉพาะที่ประเทศซูดานใต้ ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤติที่รุนแรงที่สุดในทวีปแอฟริกา

รายการข่าว 3 มิติโครงการ Nobody Left Outside และผู้ลี้ภัยซูดานใต้

 

รายการข่าว 3 มิติโครงการ Nobody Left Outside และผู้ลี้ภัยซูดานใต้

 

สรุป 6 เดือนโครงการ Nobody left outside ออกอากาศรายการข่าว 3 มิติวันที่ 15 เมษายน 2560

สงครามและความอดอยากเพิ่มจำนวนผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้

 

สงครามและความอดอยากเพิ่มจำนวนผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้

การต่อสู้และความขัดแย้งสองปีที่ผ่านมาทำให้ชาวนาไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้อาหารขาดแคลนและก่อให้เกิดปัญหาความอกกอยากที่เรื้อรังและทำให้ชาวซูดานใต้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆเสี่ยงอันตรายที่จะลี้ภัยไปที่อื่นเพื่อหาความช่วยเหลือ

 

ชาวซูดานใต้ 31 คนต้องหนีจากบ้านของตนเองหลังจากต้องเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของสงครามหลายปี ที่ทำให้พวกเขาไม่มีอาหารกินและต้องผลัดกันทานผลปาล์มประทังชีวิตไปวันๆ
ส่วนใหญ่แล้วเป็นแม่และลูกเล็ก และผู้ชายที่แก่กว่าหน่อยด้านหลังท่าทางกระวนกระวายใจกำลังกอดลูกชายที่ป่วยของเขา ทุกคนที่นี่ร่างกายซูบผอมและมีแววตาที่เหม่อลอย ลูกปาล์มนี้อาจะเป็นอาหารเพียงมื้อเดียวของพวกเขาที่นี่ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ปลอดภัย “แม้ว่าที่นี่จะมีอาหารเพียวน้อยนิด และเด็กๆก็ป่วย แต่อย่างน้อยที่นี่ก็ไม่มีเสียงปืน” เนย์พัค เบนีลุค หญิงชาวซูดานใต้วัย 25  ปีกล่าว

  • นีอานโชว ทีนี วัยสองขวบดื่มน้ำใบสะเดาสกัดในเมืองรุมเบ็ค ประเทศซูดานใต้ ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรักษาอาการไอ ท้องร่วง และอาเจียน

  • นีอานโชว ทีนี เคี้ยวลูกปาล์มที่เมืองรุมเบ็ค ซูดานใต้ ที่ใช้ประทังชีวิตพร้อมกับนมแม่มาตลอดระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมาหลังจากลี้ภัยมาจากเมืองมาเย็นดิท

  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านจากใบสะเดาสกัดถูกทิ้งไว้ให้หายร้อนก่อนที่จะให้เด็กๆที่ป่วยได้ดื่มรักษาอาการป่วย

  • ชล เด็กชายวัย 4 ขวบลูกชายของมาคิว เกง ป่วยรัหว่างลี้ภัยแต่ผู้เป็นพ่อไม่สามารถพาเขาไปรักษาที่โรงพยาบาลได้ และไม่มีความมั่นใจในการรักษาแบบพื้นบ้าน “ผมต้องทำอย่างไร” ผู้เป็นพ่อถาม UNHCR/Rocco Nuri

  • อาดิว ชลเก็บใบสะเดาให้ที่พักของเธอในเมืองรุมเบ็ค ซูดานใต้เพื่อเตรียมทำน้ำสมุนไพรรักษาอาการไอ อาเจียนสำหรับเด็กๆที่ป่วย

  • นีพาร์ กาลวกวัย 60 ปีนั่งพักอยู่ข้างหลานสาวในกระท่อมดินของพวกเขา พวกเขาลี้ภัยมาจากเมืองมาเย็นดิทเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2558 เนื่องจากความขัดแย้งและความอดอยาก UNHCR/Rocco Nuri

ความขัดแย้ง และการประหัตประหารทำให้จำนวนของผู้คนทั่วโลกที่ต้องลี้ภัยจนถึงปลายปีพ.ศ 2557 มีจำนวนมากถึง 59.5 ล้านคนแล้ว (ข้อมูลจาก UNHCR) โดยสาเหตุของการพลัดถิ่นนั้นมีหลากหลาย และแนวโน้มที่จำนวนนี้จะลดลงในปีพ.ศ. 2558 ก็น้อยมากเช่นกัน

ซูดานใต้ ประเทศที่ใหม่ที่สุดในโลก ต้องเผชิญกับสงครามเทื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2556 เป็นเวลาหลายเดือนที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองได้ปะทุขึ้นจนกลายเป็นการยิงปืนต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่อต้านและกลุ่มคุ้มกันประธานาธิบดี เหตุการณืความรุนแรงที่บานปลายทำให้ผู้คนจำนวนมากลี้ภัยจากบ้านและหมู่บ้านของตนเอง รวมทั้งปัญหาความอดอยากที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้การเก็บเกี่ยวพืชผลเป็นไปด้วยความยากลำบากและทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเสี่ยงชีวิตเดินเท้าลี้ภัยอย่างยากลำบากเพื่อเอาชีวิตรอด

“ความอดอยากและเหตุการณ์ความไม่สงบย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนไม่มีอะไรเหลือให้กินอีกเลย”

เมื่อเดือนตุลาคม รายงานจากหน่วยงานด้านมนุษยธรรม 12 แห่งที่ทำงานในพื้นที่ซูดานตีรวมทั้งองค์การอาหารโลก และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่ากว่าร้อยละ 80 ของผู้คนที่นี่ “เผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงด้านอาหารและสารอาหารขั้นรุนแรง” กว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เช่นพื้นที่ของรัฐเอกภาพที่เบเนลักซ์และกลุ่มของเธอลี้ภัยมา “การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจำเป็นเร่งด่วนในการหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของผู้เสียชีวิตจากการขาดสารอาหาร” กลุ่มงานด้านเทคนิคเพื่อการวิเคราะห์ความมั่นคงด้านอาหารในซูดานใต้ กล่าวเตือน

แต่หลังจากนั้น หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือยังไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างอิสระในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงสุด การต่อสู้ที่เมืองเลียร์ซึ่งเป็นรัฐเอกภาพก็เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการกล่าวเตือนในครั้งนี้ และยังมีการต่อสู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่อื่น โดยได้มีรายงานว่าได้มีการละเมิดข้อตกลงด้านสันติภาพอย่างต่อเนื่องเมื่อเดือนสิงหาคม
 

จนถึงตอนนี้สถานการณ์ได้แย่ซ้ำลงอีก “ความไม่มั่นคงงด้านอาหารรุนแรงขึ้นอย่างมากตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ในรัฐเอกภาพและรัฐอื่นๆ เช่นไนล์ตอนเหนือ และจงเลย” โครงการ Fewsnet ของรัฐบาลสหรัฐกล่าวเตือน
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นล่วงเวลาที่จำเป็นต้องลี้ภัย “สถานการณ์ความอดอยากและการต่อสู้นั้นย่ำแย่มาก พวกเราไม่เหลืออาหารให้กินเลยแม้แต่น้อย เราไม่มีทางเลือกนอกจากจะลี้ภัยมาที่นี่ แม้ว่าตอนนี้เรายังต้องหิวโหย เด็กๆก็ยังเจ็บป่วย เราไม่เหลืออะไรติดตัวมาเลยแม้แต่อย่างเดียว แม้แต่เสื่อปูนอนซักผืนยังไม่มีเลย เบนีลุค กล่าว

นียาวิช บานกตที่นั่งอยู่ใกล้ๆพยักหน้าเห็นด้วย ลูกสาวคนเล็กจองเธอนอนอยู่บนตักของเธอ “มีการฆ่าฟันแบบไร้เหตุผลอยู่มากมาย ผู้คนถูกฆ่าเสียชีวิตอย่างไร้สาเหตุ หรือแม้แต่เด็กๆก็เช่นเดียวกัน บ้านเรามีเสบียงอาหาร อาหารที่เราปลูกกับมือที่ทำให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้แต่ตอนนี้ถูกทำลายจนหมดสิ้นทุกอย่าง”

“เด็กๆเจ็บป่วยและเราไม่เหลืออะไรเลยซักอย่าง”

“หากไม่มีอาหาร เราก็ไม่รู้เลยว่าจะอยู่รอดอย่างไร เราเลยจำเป็นต้องหนี แม้ว่าระหว่างทางจะมีผู้คนที่ล้มหมดแรงเพราะอ่อนเพลียจากการขาดอาหาร แต่คุณก็ไม่สามารถที่จะหยุดช่วยพวกเขาได้ เพราะว่ามันเยอะไปหมด บางคนก็ถูกทิ้งไว้ในพุ่มไม้”

กลุ่ม 31 คนนี้เป็นเพียงหนึ่งในจำนวน 350 คนที่เพิ่งเดินทางมาถึงเมืองรุมเบค เมืองหลวงของรัฐเลคส์ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าหนึ่งสับดาห์จากภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบสูงสุด

รายงานจากโครงการ Fewsnet ชี้ว่าผู้คนอีกจำนวนมากกำลังอยู่ระหว่างทาง การต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุน และอีกฝ่ายที่ต่อต้านประธานาธิบดีทำให้ชาวนาไม่สามารถที่จะปลูกพืชผักได้ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีเพียงหนึ่งในสิบของปริมาณที่ผลิตได้ปกติเท่านั้น

ความมั่นคงด้านอาหารของซูดานใต้ในเดือนตุลาคม 2558 จนถึงเดือนมีนาคม 2559 ได้รายงานว่าราคาสินค้าตามท้องตลาดพุ่งสูงที่สุดในรอบปี ข้าวฟ่างซึ่งเป็นผลผลิตของเมืองรุมเบ็คราคาก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวซึ่งมากกว่าร้อยละ 140 ซึ่งเป็นราคาของเมืองหลวงจูบา

ค่าเงินของปอนด์ซูดานใต้อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ บวกกับปัญหาความขาดแคลนด้านเชื้อเพลิงซึ่งทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นไปอีก และผู้คนก็ไม่มีกำลังซื้อมากพอ ตลาดในเมืองไนล์ตอนเหนือและจงเลยต้องปิดตัวลง

รายงานการศึกษาชี้ว่าอัตราของผู้ที่ขาดสารอาหารรุนแรงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของความขัดแย้งถึงจุดสูงสุดประมาณร้อยละ 20-34 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ฉุกเฉินที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 15 ถึงเท่าตัว “จำนวนของผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นจนถึงเดือนมีนาคม” โครงการ Fewsnet กล่าว

“ผู้คนเป็นลมล้มป่วยระหว่างทางเพราะอิดโรยจากการขาดอาหาร กลุ่มที่เดินทางมาถึงอยู่ในอาการหิวโหย ขาดน้ำ และเหนื่อยล้า บางคนก็ป่วย” กัณวีร์ สืบแสง หัวหน้าสำนักงาน UNHCR ในเมืองรุมเบ็ค กล่าว
UNHCR ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นชาวซูดานใต้เพื่อให้พวกเขามีที่พักพิงชั่วคราวอาศัย มีหม้อ กะทะ จานชาม ผ้าใบพลาสติกสำหรับทำเป็นที่พักพิงชั่วคราว ผ้าห่ม เสื่อปูนอน ถังน้ำ และมุ้งกันยุง

งบประมาณสนับสนุนของสหประชาชาติขาดแคลนอย่างหนักในการที่จะให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นเช่นเบนีลุค และบงกด รวมถึงครอบครัวและเพื่อนๆของพวกเขาที่เดินทางมาถึงเมืองรุมเบ็ค” คุณกัณรวีร์ กล่าว หลังจากพวกเขาเดินทางมาถึง 3 วัร พวกเขาจะเข้ารับการลงทะเบียนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นขั้นตอนแรกในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนที่พวกเขาต้องการเพื่อรอดชีวิต

“UNHCR และหน่วยงานพันธมิตรไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ต้นทางที่พวกเขาลี้ภัยมาได้ เราคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนอีกจำนวนมากที่จะลี้ภัยมาที่นี่อีกในสัปดาห์นี้” คุณกัณรวีร์ กล่าว

จุดวิกฤติที่ใกล้เข้ามาของรัฐบาลยูกันดา UNHCR เรียกร้องความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้

 

จุดวิกฤติที่ใกล้เข้ามาของรัฐบาลยูกันดา UNHCR เรียกร้องความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้

 

แถลงการณ์ร่วมกันระหว่าง UNHCR และรัฐบาลยูกันดา

รัฐบาลยูกันดาและนายฟิลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติร่วมเรียกร้องความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศวันนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้หลายแสนคนที่ลี้ภัยมาที่ประเทศยูกันดาเพื่อเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ความขัดแย้งและปัญหาความอดอยาก

จำนวนผู้ลี้ภัยในวิกฤติซูดานใต้เพิ่มเร็วที่สุดในโลก

 

จำนวนผู้ลี้ภัยในวิกฤติซูดานใต้เพิ่มเร็วที่สุดในโลก

 

ยูกันดาและรัฐต่างๆในภูมิภาคต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อรับมือกับวิกฤติผู้ลี้ภัยซูดานใต้

“เมื่อเร็วๆนี้เราได้เห็นตัวเลขของผู้ที่ลี้ภัยเข้ามาวันละประมาณ 2 พันคน ซึ่งจำนวนในเดือนกุมภาพันธ์นั้นพุ่งสูงสุดถึงวันละ 6 พันคน ในเดือนมีนาคมวันที่สูงที่สุดอยู่ที่วันละ 5 พันคน โดยในตอนนี้เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 2,800 คน” คุณบาบาร์ บาลอช โฆษก UNHCR กล่าวเสริม

ศูนย์ส่งต่อทางตอนเหนือของยูกันดาจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับผู้ลี้ภัยที่ลี้ภัยเข้ามาใหม่จากซูดานใต้ซึ่งตอนนี้เกินอัตราที่จะรองรับไหวแล้ว ฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ยังทำให้สถานการณ์ที่ลำบากอยู่แล้วย่ำแย่ลงไปอีกด้วย

  • ประเทศยูกันดา: ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้ลี้ภัยไปทุกแห่งที่พวกเขาจะสามารถไปได้

สถานการณ์ที่ยูกันดาตอนนี้คือเครื่องพิสูจน์ถึงพันธะสัญญาที่ได้ตกลงกันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาในการประชุมสุดยอดว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพที่นครนิวยอร์ก ที่ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับพันธะสัญญาหลักๆเพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยทั่วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ Comprehensive Refugee Response Framework (CRRF)  ซึ่งเป็นแบบแผนรับมือสถานการณ์ผู้ลี้ภัยฉบับครอบคลุม

ยูกันดาเป็นรัฐแรกที่นำแนวทางนี้มาปรับใช้ เช่นเดียวกันกับอีก 5 ประเทศที่จะร่วมกันปรับใช้แนวทางนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปพร้อมกันกับการพัฒนา โดยแผนการนี้ได้รวมความช่วยเหลือในด้านการให้ที่ดินกับผู้ลี้ภัย รวมทั้งเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยกับแผนการพัฒนาท้องถิ่น และให้ผู้ลี้ภัยสามารถเข้าถึงตลาดงานได้

“ความพยายามนี้จะล้มเหลวและมีความเสี่ยง เว้นแต่จะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในขอบเขตที่กว้างขึ้นและเร่งด่วน ทุนช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยซูดานใต้โดยณ ขณะนี้มีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นจากจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องใช้จำนวน 781.8 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และเงินทุนของ UNHCR สำหรับยูกันดานั้นยังขาดอยู่เป็นจำนวน 267 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ” คุณบาบาร์ บาลอช โฆษก UNHCR กล่าว

  • ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้เข้าแถวรับอาหารที่ศูนย์รองรับอิมเวพิ เขตอรัว ทางตอนเหนือของยูกันดา

UNHCR เตือนงบประมาณที่ถูกตัดส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือของประเทศเจ้าบ้านที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย

 

UNHCR เตือนงบประมาณที่ถูกตัดส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือของประเทศเจ้าบ้านที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย

เด็กผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย วัย 4 ขวบยืนเท้าเปล่าหน้าที่พักพิงชั่วคราวของครอบครัวที่หุบเขาบีก้า ประเทศเลบานอน © UNHCR/Dalia Khamissy

 

จากการประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องซีเรีย ณ กรุงบรัสเซลชี้ว่า งบประมาณช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับผู้ลี้ภัยหลายล้านคน และชุมชนที่รองรับพวกเขาอาจถูกตัดออกจำนวนมาก

กรุงเจนีวา UNHCR ออกเตือนหลังจากการประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องซีเรีย ณ กรุงบรัสเซลว่า ความช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับผู้ลี้ภัยหลายล้านคน และชุมชนที่รองรับพวกเขาอาจต้องถูกตัดออกจำนวนมาก เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุน

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียสามารถเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ครึ่งหนึ่งของเป้าหมาย 500,000 คนหลังจากการประชุมแนวทางเพิ่มเป้าหมายการตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา

 

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียสามารถเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ครึ่งหนึ่งของเป้าหมาย 500,000 คนหลังจากการประชุมแนวทางเพิ่มเป้าหมายการตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา

ครอบครัวมาห์มุดจากซีเรียเริ่มชีวิตใหม่ที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดาในปีพ.ศ 2559 ภายใต้โครงการด้านมนุษยธรรมของประเทศแคนาดาเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย 25,000 คน ©UNHCR

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า ตอนนี้จำนวนของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่รวมถึงผู้ชาย ผู้หญิง เด็กตลอด 6 ปีที่ผ่านมาเกิน 5 ล้านคนแล้ว ประชาคมระหว่างประเทศต้องให้ความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือมากกว่านี้ “เส้นทางในการให้ความช่วยเหลือด้านการตั้งถิ่นฐานใหม่นั้นยังต้องพัฒนาขึ้นอีกเพื่อเป็นทางออกให้กับผู้ลี้ภัย และการแก้ปัญหาในครั้งนี้ไม่เพียงแต่สถานที่เพื่อรองรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มากขึ้น แต่รวมไปถึงการเร่งเพิ่มความช่วยเหลือจากพันธะสัญญาที่มีอยู่เดิมเช่นกัน”

แองเจลินา โจลี ต่อสัญญาการเป็นผู้แทนฯพิเศษ UNHCR โดยกล่าวว่าจะอยู่เคียงข้างผู้ลี้ภัยไปจนถึงลมหายใจสุดท้าย

 

แองเจลินา โจลี ต่อสัญญาการเป็นผู้แทนฯพิเศษ UNHCR โดยกล่าวว่าจะอยู่เคียงข้างผู้ลี้ภัยไปจนถึงลมหายใจสุดท้าย

แองเจลีนา โจลีเข้าพบกับนายฟิลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ © UNHCR/Mark Henle

 

กรุงเจนีวา - แองเจลินา โจลี ผู้แทนฯพิเศษของ UNHCR ได้ยืนยันอีกครั้งถึงการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลื่อผู้ลี้ภัยทั่วโลก โดยกล่าวกับเจ้าหน้าที่ UNHCR ณ กรุงเจนีวา ว่าจะอยู่เคียงข้างผู้ลี้ภัยจนถึงลมหายใจสุดท้าย

แองเจลีนา โจลีเยื่ยมสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่หลายร้อยคนที่มารวมตัวกัน ณ ห้องประชุม

“วันนี้ดิฉันรู้สึกเหมือนได้กลับมายังบ้านของตัวเอง ดิฉันมาที่นี้เป็นครั้งแรกเมื่อ 16 ปีก่อน โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง และเชื่อว่าหลายคนในห้องนี้ก็คิดไม่ต่างกัน”

ปู ไปรยา ทูตสันถวไมตรี UNHCR เดินทางเยี่ยมผู้ลี้ภัย ประเทศจอร์แดน

 

ปู ไปรยา ทูตสันถวไมตรี UNHCR เดินทางเยี่ยมผู้ลี้ภัย ประเทศจอร์แดน

 

สงครามซีเรียเข้าสู่ปีที่ 7 UNHCR เตือนซีเรียมาถึงทางแยกที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน

 

สงครามซีเรียเข้าสู่ปีที่ 7 UNHCR เตือนซีเรียมาถึงทางแยกที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน

แนสรีน อาห์เม็ด สวี ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่ทริโปลี ประเทศเลบานอน เดือนมีนาคม ปีพ.ศ. 2557 เธอลี้ภัยจากเมืองฮอมส์ ประเทศซีเรีย พร้อมกับลูกของเธอทั้งสี่คนหลังจากสามีของเธอถูกฆ่าเสียชีวิต © UNHCR

 

ในขณะที่ยังมีความหวังสู่อิสรภาพ อีกด้านหนึ่งนั้นความทุกข์ทรมานของชาวซีเรียหลายล้านคนที่ก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้สงครามซีเรียกลายเป็นความล้มเหลวที่ก่อตัวสะสมมาอย่างยาวนาน
กรุงเจนีวา- 9 มีนาคม 2560- ในขณะที่สงครามความรุนแรงในซีเรียได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 UNHCR หน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้ร้องขอประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มความช่วยเหลือเพื่อรับมือกับความทุกข์ทรมานที่สูงขึ้นจากประชาชนชาวซีเรียที่บริสุทธิ์หลายล้านคนที่อยู่ในประเทศและภูมิภาค