Skip to main content

ภาษา

ภารกิจแรกเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees โดยคุณสแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

 

ภารกิจแรกเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees โดยคุณสแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

สแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ร่วมภารกิจปันน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

20 กรกฎาคม 2560 - สแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข นักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดังร่วมกับ สำนักงานข้าหลวงผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR สานต่อความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยภายในประเทศไทย ผ่านแคมเปญ Namjai for Refugees มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR เพราะเชื่อว่าผู้ลี้ภัยทุกคนต่างมีศักยภาพ และพวกเขาต้องการโอกาสเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพนั้นเพื่อดูแลตนเอง และครอบครัวได้ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม โดยคนไทยทุกคนสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ผ่านการแบ่งปันน้ำใจ ภายใต้โครงการ Namjai for Refugees 

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

มร.ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

มร.ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ระหว่างการเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฐานะข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในประเทศไทย

 

 

มร.ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ฯ UNHCR เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีระหว่างการเยือนประเทศไทย ©Thaigov.go.th
 

 

ความร่วมมือด้านมนุษยธรรมระหว่างUNHCR  และรัฐบาลไทยเพื่อผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

 

ขอขอบคุณภาพข่าวจากทำเนียบรัฐบาล

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5099

©Thaigov.go.th

 

 

 

โครงการที่เกิดขึ้นได้ด้วยเงินบริจาค

 

โครงการที่เกิดขึ้นได้ด้วยเงินบริจาค

 

น้ำใจและเงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้อย่างไร

เงินบริจาคทั้งหมดของผู้บริจาคในประเทศไทยจะถูกใช้เพื่อผลประโยชน์ของผู้ลี้ภัยในค่ายในประเทศไทยเท่านั้น
ภายใต้โครงการต่างๆ ในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่สุดดังนี้

โครงการให้ความช่วยเหลือในปัจจุบันที่ UNHCR ทำได้แก่

 

นิทาน "ชีวิตของพาซู" เรื่องราวของเด็กผู้ลี้ภัย ที่จะให้คุณเข้าใจผู้ลี้ภัยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

 

นิทาน "ชีวิตของพาซู" เรื่องราวของเด็กผู้ลี้ภัย ที่จะให้คุณเข้าใจผู้ลี้ภัยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

เรื่องราวจากชีวิตจริงของเด็กผู้ลี้ภัยในประเทศไทยที่ได้รับความช่วยเหลือจาก UNHCR

 

เค้าโครงมาจากชีวิตจริงของเด็กผู้ลี้ภัยในประเทศไทยที่ได้รับความช่วยเหลือจาก UNHCR 

 

 

เรื่องจริงของผู้ลี้ภัย

 

เรื่องจริงของผู้ลี้ภัย

 

เรื่องจริงของผู้ลี้ภัย

 

UNHCR ยกระดับแคมเปญ Namjai for Refugees ดึงเหล่าคนดังร่วมพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย

 

UNHCR ยกระดับแคมเปญ Namjai for Refugees ดึงเหล่าคนดังร่วมพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย

คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ผู้สนบสนุนที่มีชื่อเสีงของUNHCR สานต่อโครงการเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for refugees ร่วมกับผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงท่านอื่นๆ

 

UNHCR ยกระดับแคมเปญ Namjai for Refugees ดึงเหล่าคนดังร่วมพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย

 

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เดินทางเยือนประเทศไทย

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เดินทางเยือนประเทศไทย

พร้อมสนับสนุนไทยและเมียนมา ในการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยกลับเมียนมา ตามความสมัครใจ และชื่นชมรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ

 
 
 
 
 
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เดินทางเยือนประเทศไทย พร้อมสนับสนุนไทยและเมียนมา ในการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยกลับเมียนมา ตามความสมัครใจ และชื่นชมรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ แต่ยังเป็นห่วงปัญหาชาวโรฮิงญาและผู้พลัดถิ่นในเมียนมา ที่เรียกร้องให้ร่วมกันหาทางออกเพื่อสันติภาพในภูมิภาคนี้

นายฟิลิปโป กรันดี  ข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเริ่มทำงานเพื่อผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ชื่นชมที่ไทยยังคงหลักการด้านมนุษยธรรมอย่างไม่เปลี่ยนแปลง นับจากการให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัยกว่าหนึ่งล้านคนจากอินโดจีน และการให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมา กว่า 1 แสนคนในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามแนวชายแดนไทยเมียนมา ตลอดเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา จนมีความร่วมมือกับเมียนมาในการส่งกลับผู้ลี้ภัย กลุ่มแรก 71 คนได้กลับประเทศโดยสมัครใจ เมื่อปีที่แล้ว และยังมีอีก 260คนที่รอการพิจารณาจากประเทศเมียนมาร์เพื่อเดินทางกลับ ซึ่งทั้งสองประเทศพร้อมที่จะผลักดันเรื่องนี้ โดยมาจากความสมัครใจของผู้ลี้ภัย

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้แก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่ทำให้เด็กนักเรียน และ คนไร้รัฐไร้สัญชาติกว่า 8,000 คนได้รับสัญชาติไทยเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เด็กได้รับการศึกษา และอยากเห็นความคืบหน้าของรัฐบาลในการมอบสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ลี้ภัยในเมืองและผู้ขอลี้ภัย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เฉพาะในกรุงเทพ มีผู้ลี้ภัยในเมืองจาก 50 ประเทศ เช่น ปากีสถาน ซีเรีย ศรีลังกา โซมาเลีย อัฟกานิสถานจำนวน กว่า 7,000 คน มีกว่า 4,000 คนที่ UNHCR รับรองสถานะแล้ว ยังขอสถานะอีกกว่า 3,000 คน

 

ก่อนหน้านี้ ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้เดินทางเยือนเมียนมา เป็นเวลา 6 วัน เนื่องจากเมียนมามีปัญหาผู้พลัดถิ่นกว่า 1 ล้านคน นอกจากเข้าพบนางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ หารือถึงการส่งกลับผู้ลี้ภัยแล้ว ยังย้ำถึงการร่วมกันหาทางออกปัญหาผู้พลัดถิ่นในประเทศ โดยเฉพาะชาวโรฮิงญา ที่นายกรันดี  ได้ไปเยี่ยมชุมชนมุสลิม และชุมชนยะไข่ทางในเมืองทองดอว์ รัฐยะไข่ จึงเรียกร้องให้มอบเสรีภาพในการเดินทาง และการเข้าถึงบริการ และการมอบสิทธิพลเมือง เพราะปัญหาชาวโรฮิงญา เชื่อมโยงในหลายประเทศ รวมถึงไทยและบังคลาเทศ ที่ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะเดินทางไปเยือนบังคลาเทศเป็นประเทศสุดท้ายของการเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

#ข่าว3มิติ #UNHCR #UNHCRThailand

UNHCR และมูลนิธิวิมุตตยาลัย โดยท่านว. วชิรเมธี จัดประชุมเผยแพร่หลักพุทธศาสนา กับการทำงานด้านมนุษยธรรม

 

UNHCR และมูลนิธิวิมุตตยาลัย โดยท่านว. วชิรเมธี จัดประชุมเผยแพร่หลักพุทธศาสนา กับการทำงานด้านมนุษยธรรม

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ร่วมกับมูลนิธิวิมุตตยาลัย โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จัดงานเสวนาวิชาการ “พุทธศาสนาและมนุษยธรรมในเอเชีย” เป็นครั้งแรก ภายใต้แนวคิด หลักพุทธศาสนากับการทำงานด้านมนุษยธรรม รวบรวมพระสงฆ์กว่า 200รูปจากประเทศต่างๆในเอเชีย อาทิ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว พม่า ศรีลังกา เวียดนาม และไทย ร่วมหารือนาน 3วัน ระหว่างวันทื่ 7-9กรกฎาคม 2560 ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย 

 

พระสงฆ์ทั่วเอเชียแสดงคำมั่นในการผนึกกำลังพุทธศาสนา สู่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ร่วมกับองค์กรมนุษยธรรมต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความเห็นอกเห็นใจกันระหว่างเพื่อนมนุษย์บนโลกใบนี้  

ปฏิญญาว่าด้วยผลจากการประชุม ”พุทธศาสนาและมนุษยธรรมในเอเชีย” ได้ถูกประกาศขึ้นในวันสุดท้ายของงานประชุม 3 วัน ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR และมูลนิธิวิมุตตยาลัย โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นการนำวิสัยทัศน์ของมูลนิธิวิมุตตยาลัยเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาเพื่อสังคม มาเชื่อมโยงกับการทำงานของ UNHCR บนพื้นฐานของหลักความเชื่อทางศาสนาและการให้ความคุ้มครองสากล งานประชุม ”พุทธศาสนาและมนุษยธรรมในเอเชีย” มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ สถาบันการศึกษา และนักเรียนจาก 13 ประเทศ อาทิ บังคลาเทศ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว พม่า ศรีลังกา เวียดนาม และไทย

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้กล่าวว่า “คำสอนของทุกๆศาสนานั้น ต่างมุ่งเน้นความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นด้วยเงื่อนไขของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและทรัพยากรที่จำกัดในปัจจุบัน เราทุกคนจึงต้องร่วมกันหาทางออกเพื่อปกป้องและดูแลคนรุ่นต่อในอนาคต

นายอินดริกา รัตวัตติ ว่าที่ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ UNHCR ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “ความเชื่อทางศาสนาไม่ควรถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายของการเข่นฆ่า หรือเป็นสาเหตุของการพลัดถิ่น การร่วมกันแบ่งปันแนวคิดที่มีพื้นฐานเดียวกันของทุกศาสนา จะเป็นการช่วยกำหนดกรอบการทำงานที่เข้มแข็งเพื่อส่งเสริมความอดทนอดกลั้น และการเปิดใจรับความคิดเห็นของคนต่างศาสนามากขึ้น”  นายอินดริกา ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงความสำคัญขององค์กรด้านศาสนาที่มีต่อแนวทางการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะการเน้นย้ำเรื่องการให้อภัยซึ่งกันและกัน รวมถึงสันติภาพจากการอยู่ร่วมกันในสังคม

และด้วยจำนวนประชากรชาวพุทธกว่า 250 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาค หลักคำสอนเรื่อง ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการไม่แบ่งแยกนั้น ถือเป็นหัวใจหลักที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของ UNHCR และองค์กรด้านมนุษยธรรมอื่นๆ

การประชุม ”พุทธศาสนาและมนุษยธรรมในเอเชีย” ที่จ.เชียงรายในครั้งนี้ เป็นการร่วมกันค้นหาคุณค่าที่เหมือนกันในมุมมองของพระพุทธศาสนา และมนุษยธรรม ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งทางสังคม การเสริมสร้างพลังทางสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในการประชุมยังประกอบไปด้วยกลุ่มเสวนาย่อยซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์การรับมือกับปัญหาข้างต้นในประเทศของตนเอง รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การแก้ไขปัญหาโดยมีชุมชนเป็นผู้นำ และบทบาทหน้าที่ขององค์กรด้านศาสนาที่มีต่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม    

โดยจากการเสวนากลุ่มย่อยหัวข้อ การก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งทางสังคม นั้นได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกลุ่มต่างๆ รวมถึงความต้องการที่จะนำหลักคำสอนของพุทธศาสนามาปรับใช้อย่างจริงจังในระดับชุมชน จากการเสวนายังได้ข้อสรุปอีกว่า การจัดลำดับความสำคัญของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน อย่างเช่น ผู้ลี้ภัย บุคคลไร้รัฐ แรงงานอพยพ ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและความขัดแย้ง นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก  

 

  • © UNHCR

  • © UNHCR

  • © UNHCR

หัวข้อของการเสวนาในครั้งนี้ยังรวมถึง การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งของสงคราม การเสริมสร้างพลังทางสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การเสวนาแต่ละหัวข้อได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา อาทิ สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และมูลนิธิสามอาร์ (3R Foundation) เป็นต้น

งานเสวนา ”พุทธศาสนาและมนุษยธรรมในเอเชีย” ได้รับเกียรติจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัยและมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นผู้กล่าวสรุปปิดงานในวันที่ 9 กรกฎาคม ซึ่ง UNHCR และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ในฐานะผู้จัดงานมีความมุ่งหวังให้ งานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาและถักทอเครือข่ายชาวพุทธที่สนใจในประเด็นการทำงานเพื่อมนุษยธรรม รวมถึงก่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานด้านมนุษยธรรมระหว่างศาสนาต่างๆ ต่อไปในอนาคต

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

ฮันนาห์ แมคโดนันด์ macdonah@unhcr.org, โทรศัพท์+66 64 223 6291

ธนัช จรูญรัตนเมธา jarulrat@unhcr.org,โทรศัพท์+66 89 449 5724

ข้าหลวงใหญ่ UNHCR ฟิลิปโป กรันดี เรียกร้องอีกครั้ง ให้ร่วมหาทางออกในเมียนมาร์

 

ข้าหลวงใหญ่ UNHCR ฟิลิปโป กรันดี เรียกร้องอีกครั้ง ให้ร่วมหาทางออกในเมียนมาร์

 

ย่างกุ้ง เมียนมาร์ 6 กรกฎาคม – ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาติ นายฟิลิปโป กรันดี สิ้นสุดการเดินทางเยือนประเทศเมียนมาร์เป็นครั้งแรก ด้วยการเรียกร้องให้ร่วมหาทางออกที่ครอบคลุมและยั่งยืนต่อสถานการณ์พลัดถิ่น และปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติที่ยืดเยื้อยาวนาน

 

ในการเยือนเมียนมาร์เป็นเวลา 6 วัน นาย กรันดีเดินทางไปยังเมืองย่างกุ้ง เนปิดอร์ ซิตตเว และมองดอว์ ในรัฐยะไข่ เขาได้เข้าเยี่ยมคาราวะนางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ดร.Min Myat Aye

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวใน รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวใน รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์

คุณฟิลิปโป กรันดี เข้าเยี่ยมชุมชนในเขตการควบคุม รัฐยะไข่ เพื่อทำความเข้าใจความขาดแคลนและปัญหาที่พวกเขาเผชิญให้มากขึ้น

 

 

 

 

มันคงไม่ใช่เรื่องง่าย บรรยากาศในเมืองมองดอว์ยังคงตึงเครียดหลังจากความรุนแรงในเดือนตุลาคมที่มีการกล่าวหาถึงกลุ่มติดอาวุธว่าเป็นผู้กระทำผิด

วันอังคาร - เมื่อคุณกรันดีได้พบกับชาวบ้านชาวยะไข่ที่อาศัยอยู่ติดกับหมู่บ้านชาวมุสลิมในเมืองมองดอว์ พวกเขาบอกว่า ก่อนหน้านี้ชุมชนเคยอาศัยและทำงานร่วมกัน“แต่หลังจากหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนตุลาคม พวกเราก็เกรงกลัวที่จะออกจากบ้านเพื่อไปเก็บฟืนและหาปลาเพื่อดำรงชีพ เด็กๆก็อาศัยอยู่กับบ้านแทนที่จะได้ไปโรงเรียน พวกเรายังต้องการความช่วยเหลือบางส่วนจนกว่าอะไรๆจะดีขึ้น” ผู้นำชุมชนกล่าว 

ท่านข้าหลวงใหญ่ฯ ได้กระตุ้นให้ทั้งสองชุมชนดำเนินการเจรจาต่อไป “ความหวาดกลัวในสิ่งจะเกิดต่อครอบครัวของพวกคุณ คือสิ่งเดียวกัน และมีความวิตกเดียวกันว่าจะจัดหาสิ่งต่างๆให้พวกเขาอย่างไร” เขากล่าว “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่จะคงอยู่ตลอดไป การเรียนรู้ที่จะอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คุณสามารถวางรากฐานสำหรับความเจริญและการพัฒนาได้”

 

ชาวบ้านในหมู่บ้านทางตอนเหนือของเมืองมองดอว์ รัฐยะไข่ เล่าถึงความหวาดกลัวที่พวกมีแก่ข้าหลวงใหญ่ฯ  © UNHCR/Roger Arnold
ชาวบ้านในหมู่บ้านทางตอนเหนือของเมืองมองดอว์ รัฐยะไข่ เล่าถึงความหวาดกลัวที่พวกมีแก่ข้าหลวงใหญ่ฯ © UNHCR/Roger Arnold

 

ในเมืองมองดอว์ คุณกรันดีได้เข้าเยี่ยมสำนักงานข้าหลวงผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเพื่อสนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติผ่านชั้นเรียนการฝึกทักษะวิชาชีพ โครงการนี้ช่วยให้ผู้หญิงชาวมุสลิมและชาวยะไข่ได้เรียนการตัดเย็บผ้าและการอ่านเขียนขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงสุขศึกษา แม้ว่าพวกเธอดูเหมือนจะมีพื้นฐานชีวิตที่ต่างกันแต่พวกเธอก็มีสิ่งที่เหมือนกันซึ่งก็คือไม่ได้รับการศึกษาหรือจำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

เม ทาน นิว วัย 23 ปี ต้องออกจากโรงเรียนหลังจากที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม เพราะพ่อแม่ของเธอไม่สามารถสนับสนุนค่าเล่าเรียนของเธอได้ เธอทำงานร้านขายน้ำมันก่อนที่จะเข้าชั้นเรียนการตัดเย็บ ตอนนี้เธอวางแผนไว้ว่าจะทำงานเป็นช่างตัดเสื้อและสอนการตัดเย็บหลังจากเรียนจบไป “พ่อแม่ของฉันมักชวนเพื่อนชาวมุสลิมมาที่บ้านและพวกเราเชื่อว่าการแบ่งแยกมีแต่จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้น” เธอกล่าว “ชั้นเรียนนี้ได้ช่วยทำให้ฉันเข้าใจเพื่อนชาวมุสลิมมากขึ้น”

เพื่อนร่วมชั้นของเธอ โซมิรา วัย 19 ปีเสริมว่า “ฉันไม่รู้จักใครที่เป็นชาวยะไข่ก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้ฉันมีเพื่อนชาวยะไข่ในชั้นเรียนบ้างแล้ว”

 

“ชั้นเรียนนี้ได้ช่วยทำให้ฉันเข้าใจเพื่อนชาวมุสลิมมากขึ้น”

 

นอกจากนี้ UNHCRได้ช่วยสร้างพื้นที่ที่เป็นตลาดในตัวเมืองของเมืองมองดอว์ ที่มีผู้อาศัยเป็นชาวมุสลิม ชาวยะไข่ ชาวฮินดูและชนกลุ่มน้อยอื่นๆกว่า 2,000 คน ได้มาใช้จ่ายและสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เมื่อถามว่าอะไรที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น ชาวบ้านชาวมุสลิมคนหนึ่งในเมืองมองดอว์ก็ตอบกลับว่า “พวกเราแค่ต้องการอยู่อย่างสันติ มีบัตรประชาชนและมีสิทธิแบบคนอื่นๆ”

 

ในวันพุธที่ผ่านมา ข้าหลวงใหญ่ฯ ได้เข้าพบที่ปรึกษาแห่งรัฐ นางอองซาน ซูจี และรัฐมนตรีคนอื่นๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ การพลัดถิ่นในรัฐคะฉิ่น และทางตอนเหนือของรัฐฉาน รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่ขณะนี้อาศัยอยู่ในประเทศไทยจะสามารถกลับบ้านได้โดยสมัครใจ

 

จากประเทศเมียนมาร์ คุณกรันดีจะเดินทางต่อไปที่ประเทศไทยและ บังคลาเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นผู้ลี้ภัยในทั้งสองประเทศ ก่อนที่จะจบการเดินทางในภูมิภาคในวันที่ 11 กรกฎาคม