Skip to main content

ภาษา

 

สงครามและความอดอยากเพิ่มจำนวนผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้

การต่อสู้และความขัดแย้งสองปีที่ผ่านมาทำให้ชาวนาไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้อาหารขาดแคลนและก่อให้เกิดปัญหาความอกกอยากที่เรื้อรังและทำให้ชาวซูดานใต้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆเสี่ยงอันตรายที่จะลี้ภัยไปที่อื่นเพื่อหาความช่วยเหลือ

 

ชาวซูดานใต้ 31 คนต้องหนีจากบ้านของตนเองหลังจากต้องเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของสงครามหลายปี ที่ทำให้พวกเขาไม่มีอาหารกินและต้องผลัดกันทานผลปาล์มประทังชีวิตไปวันๆ
ส่วนใหญ่แล้วเป็นแม่และลูกเล็ก และผู้ชายที่แก่กว่าหน่อยด้านหลังท่าทางกระวนกระวายใจกำลังกอดลูกชายที่ป่วยของเขา ทุกคนที่นี่ร่างกายซูบผอมและมีแววตาที่เหม่อลอย ลูกปาล์มนี้อาจะเป็นอาหารเพียงมื้อเดียวของพวกเขาที่นี่ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ปลอดภัย “แม้ว่าที่นี่จะมีอาหารเพียวน้อยนิด และเด็กๆก็ป่วย แต่อย่างน้อยที่นี่ก็ไม่มีเสียงปืน” เนย์พัค เบนีลุค หญิงชาวซูดานใต้วัย 25  ปีกล่าว

พวกเขาเดินเท้าลี้ภัยเป็นระยะเวลาหลายวันเพื่อหนีจากพื้นดินที่อดอยาก แห้งแล้ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นวิกฤติด้านความอดอยากที่สุดของโลก ที่ซึ่งผู้คนเกือบล้านคนต้องอดอยากและประทังชีวิตด้วยพรรณไม้ป่า ดอกบัว และปลาในหนองน้ำที่อยู่ในซุดานใต้

พวกเขาคือหนึ่งในชาวซูดานใต้ 2.4 ล้านคนที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการว่ากำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหาร อ้างอิงจากโครงการ Fewsnet ของรัฐบาลสหรัฐที่ทำการประเมิณสถานการณ์ดังหล่าว โดย 1.6  ล้านคนของจำนวนนี้จำเป็นต้องลี้ภัยจากบ้านของตนเองเนื่องจากสงครามหรือความอดอยาก หรือจากทั้งสองสาเหตุ

  • นีอานโชว ทีนี วัยสองขวบดื่มน้ำใบสะเดาสกัดในเมืองรุมเบ็ค ประเทศซูดานใต้ ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรักษาอาการไอ ท้องร่วง และอาเจียน

  • นีอานโชว ทีนี เคี้ยวลูกปาล์มที่เมืองรุมเบ็ค ซูดานใต้ ที่ใช้ประทังชีวิตพร้อมกับนมแม่มาตลอดระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมาหลังจากลี้ภัยมาจากเมืองมาเย็นดิท

  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านจากใบสะเดาสกัดถูกทิ้งไว้ให้หายร้อนก่อนที่จะให้เด็กๆที่ป่วยได้ดื่มรักษาอาการป่วย

  • ชล เด็กชายวัย 4 ขวบลูกชายของมาคิว เกง ป่วยรัหว่างลี้ภัยแต่ผู้เป็นพ่อไม่สามารถพาเขาไปรักษาที่โรงพยาบาลได้ และไม่มีความมั่นใจในการรักษาแบบพื้นบ้าน “ผมต้องทำอย่างไร” ผู้เป็นพ่อถาม UNHCR/Rocco Nuri

  • อาดิว ชลเก็บใบสะเดาให้ที่พักของเธอในเมืองรุมเบ็ค ซูดานใต้เพื่อเตรียมทำน้ำสมุนไพรรักษาอาการไอ อาเจียนสำหรับเด็กๆที่ป่วย

  • นีพาร์ กาลวกวัย 60 ปีนั่งพักอยู่ข้างหลานสาวในกระท่อมดินของพวกเขา พวกเขาลี้ภัยมาจากเมืองมาเย็นดิทเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2558 เนื่องจากความขัดแย้งและความอดอยาก UNHCR/Rocco Nuri

ความขัดแย้ง และการประหัตประหารทำให้จำนวนของผู้คนทั่วโลกที่ต้องลี้ภัยจนถึงปลายปีพ.ศ 2557 มีจำนวนมากถึง 59.5 ล้านคนแล้ว (ข้อมูลจาก UNHCR) โดยสาเหตุของการพลัดถิ่นนั้นมีหลากหลาย และแนวโน้มที่จำนวนนี้จะลดลงในปีพ.ศ. 2558 ก็น้อยมากเช่นกัน

ซูดานใต้ ประเทศที่ใหม่ที่สุดในโลก ต้องเผชิญกับสงครามเทื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2556 เป็นเวลาหลายเดือนที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองได้ปะทุขึ้นจนกลายเป็นการยิงปืนต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่อต้านและกลุ่มคุ้มกันประธานาธิบดี เหตุการณืความรุนแรงที่บานปลายทำให้ผู้คนจำนวนมากลี้ภัยจากบ้านและหมู่บ้านของตนเอง รวมทั้งปัญหาความอดอยากที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้การเก็บเกี่ยวพืชผลเป็นไปด้วยความยากลำบากและทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเสี่ยงชีวิตเดินเท้าลี้ภัยอย่างยากลำบากเพื่อเอาชีวิตรอด

“ความอดอยากและเหตุการณ์ความไม่สงบย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนไม่มีอะไรเหลือให้กินอีกเลย”

เมื่อเดือนตุลาคม รายงานจากหน่วยงานด้านมนุษยธรรม 12 แห่งที่ทำงานในพื้นที่ซูดานตีรวมทั้งองค์การอาหารโลก และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่ากว่าร้อยละ 80 ของผู้คนที่นี่ “เผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงด้านอาหารและสารอาหารขั้นรุนแรง” กว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เช่นพื้นที่ของรัฐเอกภาพที่เบเนลักซ์และกลุ่มของเธอลี้ภัยมา “การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจำเป็นเร่งด่วนในการหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของผู้เสียชีวิตจากการขาดสารอาหาร” กลุ่มงานด้านเทคนิคเพื่อการวิเคราะห์ความมั่นคงด้านอาหารในซูดานใต้ กล่าวเตือน

แต่หลังจากนั้น หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือยังไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างอิสระในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงสุด การต่อสู้ที่เมืองเลียร์ซึ่งเป็นรัฐเอกภาพก็เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการกล่าวเตือนในครั้งนี้ และยังมีการต่อสู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่อื่น โดยได้มีรายงานว่าได้มีการละเมิดข้อตกลงด้านสันติภาพอย่างต่อเนื่องเมื่อเดือนสิงหาคม
 

จนถึงตอนนี้สถานการณ์ได้แย่ซ้ำลงอีก “ความไม่มั่นคงงด้านอาหารรุนแรงขึ้นอย่างมากตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ในรัฐเอกภาพและรัฐอื่นๆ เช่นไนล์ตอนเหนือ และจงเลย” โครงการ Fewsnet ของรัฐบาลสหรัฐกล่าวเตือน
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นล่วงเวลาที่จำเป็นต้องลี้ภัย “สถานการณ์ความอดอยากและการต่อสู้นั้นย่ำแย่มาก พวกเราไม่เหลืออาหารให้กินเลยแม้แต่น้อย เราไม่มีทางเลือกนอกจากจะลี้ภัยมาที่นี่ แม้ว่าตอนนี้เรายังต้องหิวโหย เด็กๆก็ยังเจ็บป่วย เราไม่เหลืออะไรติดตัวมาเลยแม้แต่อย่างเดียว แม้แต่เสื่อปูนอนซักผืนยังไม่มีเลย เบนีลุค กล่าว

นียาวิช บานกตที่นั่งอยู่ใกล้ๆพยักหน้าเห็นด้วย ลูกสาวคนเล็กจองเธอนอนอยู่บนตักของเธอ “มีการฆ่าฟันแบบไร้เหตุผลอยู่มากมาย ผู้คนถูกฆ่าเสียชีวิตอย่างไร้สาเหตุ หรือแม้แต่เด็กๆก็เช่นเดียวกัน บ้านเรามีเสบียงอาหาร อาหารที่เราปลูกกับมือที่ทำให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้แต่ตอนนี้ถูกทำลายจนหมดสิ้นทุกอย่าง”

“เด็กๆเจ็บป่วยและเราไม่เหลืออะไรเลยซักอย่าง”

“หากไม่มีอาหาร เราก็ไม่รู้เลยว่าจะอยู่รอดอย่างไร เราเลยจำเป็นต้องหนี แม้ว่าระหว่างทางจะมีผู้คนที่ล้มหมดแรงเพราะอ่อนเพลียจากการขาดอาหาร แต่คุณก็ไม่สามารถที่จะหยุดช่วยพวกเขาได้ เพราะว่ามันเยอะไปหมด บางคนก็ถูกทิ้งไว้ในพุ่มไม้”

กลุ่ม 31 คนนี้เป็นเพียงหนึ่งในจำนวน 350 คนที่เพิ่งเดินทางมาถึงเมืองรุมเบค เมืองหลวงของรัฐเลคส์ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าหนึ่งสับดาห์จากภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบสูงสุด

รายงานจากโครงการ Fewsnet ชี้ว่าผู้คนอีกจำนวนมากกำลังอยู่ระหว่างทาง การต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุน และอีกฝ่ายที่ต่อต้านประธานาธิบดีทำให้ชาวนาไม่สามารถที่จะปลูกพืชผักได้ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีเพียงหนึ่งในสิบของปริมาณที่ผลิตได้ปกติเท่านั้น

ความมั่นคงด้านอาหารของซูดานใต้ในเดือนตุลาคม 2558 จนถึงเดือนมีนาคม 2559 ได้รายงานว่าราคาสินค้าตามท้องตลาดพุ่งสูงที่สุดในรอบปี ข้าวฟ่างซึ่งเป็นผลผลิตของเมืองรุมเบ็คราคาก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวซึ่งมากกว่าร้อยละ 140 ซึ่งเป็นราคาของเมืองหลวงจูบา

ค่าเงินของปอนด์ซูดานใต้อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ บวกกับปัญหาความขาดแคลนด้านเชื้อเพลิงซึ่งทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นไปอีก และผู้คนก็ไม่มีกำลังซื้อมากพอ ตลาดในเมืองไนล์ตอนเหนือและจงเลยต้องปิดตัวลง

รายงานการศึกษาชี้ว่าอัตราของผู้ที่ขาดสารอาหารรุนแรงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของความขัดแย้งถึงจุดสูงสุดประมาณร้อยละ 20-34 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ฉุกเฉินที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 15 ถึงเท่าตัว “จำนวนของผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นจนถึงเดือนมีนาคม” โครงการ Fewsnet กล่าว

“ผู้คนเป็นลมล้มป่วยระหว่างทางเพราะอิดโรยจากการขาดอาหาร กลุ่มที่เดินทางมาถึงอยู่ในอาการหิวโหย ขาดน้ำ และเหนื่อยล้า บางคนก็ป่วย” กัณวีร์ สืบแสง หัวหน้าสำนักงาน UNHCR ในเมืองรุมเบ็ค กล่าว
UNHCR ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นชาวซูดานใต้เพื่อให้พวกเขามีที่พักพิงชั่วคราวอาศัย มีหม้อ กะทะ จานชาม ผ้าใบพลาสติกสำหรับทำเป็นที่พักพิงชั่วคราว ผ้าห่ม เสื่อปูนอน ถังน้ำ และมุ้งกันยุง

งบประมาณสนับสนุนของสหประชาชาติขาดแคลนอย่างหนักในการที่จะให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นเช่นเบนีลุค และบงกด รวมถึงครอบครัวและเพื่อนๆของพวกเขาที่เดินทางมาถึงเมืองรุมเบ็ค” คุณกัณรวีร์ กล่าว หลังจากพวกเขาเดินทางมาถึง 3 วัร พวกเขาจะเข้ารับการลงทะเบียนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นขั้นตอนแรกในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนที่พวกเขาต้องการเพื่อรอดชีวิต

“UNHCR และหน่วยงานพันธมิตรไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ต้นทางที่พวกเขาลี้ภัยมาได้ เราคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนอีกจำนวนมากที่จะลี้ภัยมาที่นี่อีกในสัปดาห์นี้” คุณกัณรวีร์ กล่าว