Skip to main content

ภาษา

2 ปีหลังการเสียชีวิตของเด็กผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย อลัน เคอร์ดี้บนชายหาดของประเทศตุรกี

 

2 ปีหลังการเสียชีวิตของเด็กผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย อลัน เคอร์ดี้บนชายหาดของประเทศตุรกี

รูปวาดน้องอลัน เคอร์ดี้ โดย Yante Ismail ©UNHCR/Yante Ismail

 

 

2 ปีหลังการเสียชีวิตของเด็กผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย อลัน เคอร์ดี้บนชายหาดของประเทศตุรกี 

 

 

เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เราได้พบร่างของน้องอลัน เคอร์ดี เด็กผู้ลี้ภัยชาวซีเรียวัย 3 ปี ที่เสียชีวิตที่ชายหาดของประเทศตุรกี UNHCR เรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ลงมือปฏิบัติงานร่วมกันอย่างจริงจังเพื่อป้องกันโศกนาฏกรรมไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้น

ถึงแม้ว่าจำนวนผู้อพยพมาที่ทวีปยุโรปจะจำนวนลงหลังจากการเสียชีวิตของอลัน แต่ก็ยังมีผู้คนที่ยังพยายามเดินทางเข้ามาและหลายคนต้องเสียชีวิตลงระหว่างทาง ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ปี 2559 มีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพอย่างน้อย 8,500 คน เสียชีวิต หรือสูญหายระหว่างเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่อีกจำนวนมากเสียชีวิตขณะเดินทางข้ามทะเลทราย

มีเด็กมากมายที่ต้องเดินทางเพียงลำพังไปยังทวีปยุโรป เนื่องจากพวกเขาเป็นเด็ก การเดินทางนี้จึงน่ากลัวและอันตรายมากขึ้นอีก และนี่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพราะใน 7 เดือนแรกของปี 2560 ร้อยละ 92 จากเด็ก 13,700 คน คือเด็กที่เดินทางเพียงลำพังทางทะเลมาถึงอิตาลี

เด็กๆ เหล่านี้และผู้ที่ถูกบังคับให้ออกจากบ้านกลุ่มอื่นๆต้องการทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะว่าถ้าหากเขาต้องอยู่อย่างไม่มีความหวังและหวาดกลัว พวกเขาก็จะต้องหาทางออกที่เสียงกับชีวิตของตนเอง และเลือกการเดินทางที่อันตรายนี้

UNHCR ได้รับการสนับสนุนจากการประชุมและข้อตกลงเกี่ยวกับการอพยพและลี้ภัยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาซึ่งได้มีการกล่าวถึงทางออกของปัญหาดังกล่าว แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยชีวิตพวกเขา

เหล่าผู้นำทางการเมืองต้องทำงานร่วมกันเพื่อหาทางออกที่ปลอดภัยมากขึ้น  ให้ข้อมูลแก่ผู้ที่กำลังคิดเดินทางบนเส้นทางอันตรายที่พวกเขาต้องเผชิญอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาของการย้ายถิ่นฐาน โดยการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นที่ประเทศต้นทาง

UNHCR เรียกร้องให้เปิดชายแดนช่วยเหลือผู้ที่ต้องหนีความรุนแรงจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์

 

UNHCR เรียกร้องให้เปิดชายแดนช่วยเหลือผู้ที่ต้องหนีความรุนแรงจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์

 

UNHCR เรียกร้องให้เปิดชายแดนช่วยเหลือผู้ที่ต้องหนีความรุนแรงจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์

 

เนื่องจากสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ย่ำแย่ลงตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา UNHCR ได้มีการพูดคุยกับรัฐบาลบังคลาเทศเกี่ยวกับความพร้อมของ UNHCR ในการให้ความสนับสนุนรัฐบาลบังคลาเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ข้ามชายแดนเข้ามา ตั้งแต่วันพฤหัสบดีจนถึงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีประชาชนราว 5,200 คน เดินทางจากประเทศเมียนมาร์มาที่บังคลาเทศ จากรายงานพบว่ายังมีคนอีกนับพันคนยังอยู่ในบริเวณแนวชายแดนประเทศเมียนมาร์ UNHCR ขอเน้นย้ำถ้อยแถลงการณ์จากท่านเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาที่ประณามความรุนแรงในรัฐยะไข่ บนแนวชายแดนของประเทศบังคลาเทศ ผู้คนบางส่วนอยู่ในบริเวณแนวกั้นใกล้กับชายแดน ในขณะที่อีกจำนวนหนึ่งอยู่ในบริเวณค่ายผู้ลี้ภัยกูตปาลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เด็ก หรือผู้สูงอายุ และมีรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บรวมอยู่ด้วย 

 

                  หลังลี้ภัยจากความรุนแรงในประเทศพม่าเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอยู่ร่วมกันในที่พักพิงชั่วคราวอย่างแออัดในเมืองคอกซ์บาซาร์ ประเทศ บังกลาเทศ ที่พักพิงชั่วคราวถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับจำนวนครอบครัวผู้ลี้ภัยที่เพิ่มสูงขึ้น © UNHCR

 

หน่วยงานรัฐของประเทศบังคลาเทศ ชุมชนท้องถิ่น พันธมิตรของ UNHCR และNGOs เร่งให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรวมไปถึงการมอบอาหาร น้ำดื่ม และการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาถึง UNHCR ซาบซึ้งใจในความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศบังคลาเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์นั้นรุนแรงและเรามีกังวลว่าจำนวนของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เราได้เร่งวางแผนทำการสำรวจความต้องการการช่วยเหลือแก่พวกเขาอย่างเร่งด่วนแล้ว

UNHCR ได้ทราบข้อมูลรายงานหลายชิ้นเกี่ยวกับคนที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศบังคลาเทศ  ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้

ประเทศบังคลาเทศได้ให้พื้นที่ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์มาหลายสิบปี และ UNHCR เชื่อว่าการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีจากความรุนแรงได้รับความปลอดภัยในประเทศบังคลาเทศมีความสำคัญอย่างมากที่สุด นอกจากนี้ UNHCR ขอเรียกร้องต่อประชาคมโลกให้การสนับสนุนประเทศบังคลาเทศในการเปิดชายแดนรับผู้ลี้ภัยโดยการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่างๆ

ขณะเดียวกันในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ การช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบยังคงถูกจำกัด เราได้ขอให้ทางการของประเทศเมียนมาร์ทำทุกอย่างที่จะทำได้เพื่อช่วยให้เราให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและมั่นใจได้ว่าเจ้าหน้าที่ของเราจะปลอดภัย

ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรีฯ เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรี

 

ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรีฯ เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรี

ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรีฯ เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

 

 

 

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

คณชัย เบญจรงคกุล เติบโตจากภายในด้วยการให้

 

คณชัย เบญจรงคกุล เติบโตจากภายในด้วยการให้

 

คณชัย เบญจรงคกุล เติบโตจากภายในด้วยการให้

เป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าชื่นชมแนวความคิดเรื่องการให้และการแบ่งปัน คิด-คณชัย เบญจรงคกุล ที่แม้จะทำงานในสายช่างภาพแฟชั่น แต่เขาก็ช่วยเหลือสังคมในโครงการต่างๆ มาโดยตลอด

 

จำนวนผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้ในประเทศยูกันดาเพิ่มสูงขึ้นเกินหนึ่งล้านคน

 

จำนวนผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้ในประเทศยูกันดาเพิ่มสูงขึ้นเกินหนึ่งล้านคน

ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้กว่าหนึ่งล้านคนได้ลี้ภัยเพื่อหาที่ปลอดภัยในประเทศยูกันดาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนทั้งหมด มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิงและเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

 

 

ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้กว่าหนึ่งล้านคนได้ลี้ภัยเพื่อหาที่ปลอดภัยในประเทศยูกันดาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนทั้งหมด มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิงและเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

 
 
ภายใต้ท้องฟ้าที่สดใส ทาบู ซันเดย์ วัย 14 ปีกำลังกำจัดวัชพืชในสวนเล็กๆ ในค่ายผู้ลี้ภัยอิมเวพีทางตอนเหนือของยูกันดา ทาบูภาคภูมิใจกับงานที่เธอทำในบริเวณบ้าน แม้ว่าบ้านหลังนั้นจะไม่ใช่ของเธอ 
 
  • ทาบู(ซ้าย) พักผ่อนกับฝาแฝดของเธอ ณ ที่พักของพวกเขา © UNHCR/Peter Caton

  • ทาบูมาเอาเสบียงของครอบครัวของเธอกับแม่อุปถัมภ์(กลาง)และฝาแฝด(ขวา) © UNHCR/Peter Caton

  • ทาบู(ขวา)จัดก้อนหินกับฝาแฝดของเธอในบริเวณที่พักของพวกเขา © UNHCR/Peter Caton

  • ทาบูรับประทานอาหารเย็นกับครอบครัวอุปถัมภ์ของเธอ © UNHCR/Peter Caton

  • ณ โรงเรียนที่สร้างโดย UNHCR ทาบู(ขวา)และเรน่า ฝาแฝดของเธอสนุกกับการเข้าเรียน แม้ว่าทาบูจะบอกว่าในชั้นเรียนมีคนเยอะมากเกินไปและเธอไม่มีหนังสือเรียน © UNHCR/Peter Caton

การแสวงหาสันติภาพในซูดานใต้เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนมากขึ้น

 

การแสวงหาสันติภาพในซูดานใต้เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนมากขึ้น

ระหว่างการเยือนประเทศซูดาน นายฟิลลิปโป กรันดีเรียกร้องให้กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในความไม่สงบ ประเทศต่างๆในภูมิภาคและประชาคมโลกพยายามช่วยกันหยุดความขัดแย้งที่เป็นเหตุให้คนกว่า 4 ล้านคนต้องพลัดถิ่น

 

 

 

“ผู้ตกเป็นเหยื่อของความผิดพลาดนในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้คือ พลเมือง ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่”

“เหยื่อของความผิดพลาดในครั้งนี้ คือ พลเมือง ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่ ผู้ที่ต้องละทิ้งทุกสิ่งไว้ข้างหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงในชีวิตโดยลำพังไม่มีสมาชิกครอบครัวผู้ชายมาดูแล เพราะพวกเขารู้สึกกลัวที่จะกลับไปอาศัยในบ้านของพวกเขาที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม” นายกรันดีกล่าว

 

ในระหว่างการเยือนซูดานใต้ของเขา ข้าหลวงใหญ่ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทหลักของประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้ ค่ายผู้ลี้ภัยอัลนามีร์เป็นที่พักพิงช่วงคราวของผู้ลี้ภัยกว่า 5,000 คน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้หญิงและเด็ก

 

“ผมต้องการบอกให้โลกรู้ว่าซูดานยังคงเปิดประตูให้ผู้ลี้ภัย ในขณะที่หลายประเทศปิดประตู” นายกรันดีกล่าว

 

ข้าหลวงใหญ่ฯ ยังได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือให้แก่ประเทศซูดานให้มากขึ้นด้วย “หลายครั้งเราลืมไปว่าซูดานยังเป็นประเทศที่ให้ที่พักพิงที่สำคัญไม่เพียงแต่สำหรับชาวซูดานใต้ แต่ยังเป็นที่พักพิงสำหรับชาวเอริเทรีย ไซเรียและผู้ลี้ภัยอื่นๆ” เขากล่าว

 

นายกรันดี ยังกล่าวชื่นชมตัวอย่างของความร่วมมือกันและการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ลี้ภัยและคนในชุมชนในซูดาน

 

“ทั่วทั้งโลกเราพยายามหาทางใหม่ที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น สนับสนุนเรื่องแหล่งพลังงานรูปแบบใหม่และการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ให้ที่พักพิงพวกเขา ผมคิดว่าซูดานเป็นประเทศที่เหมาะสมอย่างมากที่จะเป็นตัวอย่างการพัฒนานี้”

 

ในช่วงการเยือนของเขา นายกรันดีได้พบกับซาเดีย โมฮัมเหม็ด วาลี คุณแม่ผู้ลี้ภัยวัย 42 ปี ซาเดียลี้ภัยจากซูดานใต้มาพร้อมกับลูกอีก 7 คน ตอนที่บ้านเกิดของเธอเกิดการต่อสู้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

“พวกเรามาพร้อมกับลูกๆ และเราไม่มีอาหารที่จะให้พวกเขากิน”

“พวกเรารู้สึกกลัวมาก” เธอเล่าถึงรายละเอียดการเดินทางที่ใช้เวลานานนับเดือนจนกระทั่งถึงที่ปลอดภัยในซูดาน “การเดินทางนั้นยากลำบากมากสำหรับพวกเรา เพราะพวกเรามาพร้อมกับลูกของพวกเราและเราไม่มีอาหารที่จะให้พวกเขากิน พวกเราเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่” เธอเล่า “คนที่มีอาหารเล็กๆ น้อยๆ ติดมาด้วยก็จะแบ่งอาหารมาให้พวกเราซึ่งเราก็เอาให้เด็กๆ”

เธอได้บอกความปรารถนาที่อยากให้ลูกของเธอได้รับการศึกษาที่ดีและเธออยากได้รับความช่วยเหลือธุรกิจเล็กๆของเธอ เธอขายถั่วอบ ขนมและของหวาน

 

ซูดานเป็นที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยกว่า 416,000 คนจากซูดานใต้ตั้งแต่ปี 2013 รวมไปถึงผู้ที่เพิ่งลี้ภัยกว่า 170,000 คน ในปีที่ผ่านมา ซูดานใต้กลายเป็นประเทศที่มีอายุน้อยที่สุดหลังได้รับเอกราชจากประเทศซูดานในปี 2011 ผู้ลี้ภัยคนอื่นๆกว่าแสนคนที่พักพิงอยู่ในประเทศซูดานจากการแยกตัวก็ยังต้องการความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ในวันพุธที่ผ่านมา ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้จบการเยือนด้วยการพบปะกับผู้นำซูดานและเจ้าหน้าที่ปกครองในเมืองคาร์ทูม

 

 

ทีมผู้ลี้ภัยเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก

 

ทีมผู้ลี้ภัยเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก

นักกีฬา 5 คนมุ่งหน้าจากประเทศเคนย่าไปยังการแข่งขันสหพันธ์กรีฑานานาชาติหรือ IAAP championship ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน

 

นักกีฬา 5 คนมุ่งหน้าจากประเทศเคนย่าไปยังการแข่งขันสหพันธ์กรีฑานานาชาติหรือ IAAP championship ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน

 
 
 
กรุงไนโรบี, ประเทศเคนย่า นักกีฬาผู้ลี้ภัย 5 คน ได้มุ่งหน้าจากประเทศเคนย่าไปยังกรุงลอนดอนเพื่อเข้าร่วมการเปิดการแข่งขันชิงแชมป์โลกในสัปดาห์นื้ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ ประวัติศาสตร์ 34 ปีของการแข่งขันที่มีผู้ลี้ภัยเข้าร่วมด้วย 
 
อาเม็ด บาเชอร์ ฟารา,แองเจลิน่า โลฮาล
  • นักวิ่งระยะกลาง แองเจลิน่า โลฮาลิท (ซ้าย) และ โรส โลคอนเยน สมาชิกของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยที่ได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมในกรุงไนโรบีสำหรับการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกที่กรุงลอนดอน

  • สมาชิกของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยพักเบรคหลังจากการฝึกซ้อมกับทีมชาติเคนย่าที่ศูนย์กีฬานานาชาติ โมจ ที่กรุงไนโรบี

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees

จัดประมูลเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ออนไลน์เพื่อผู้ลี้ภัย

 

 

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees ประมูลเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ออนไลน์เพื่อผู้ลี้ภัย ผ่านทาง Facebook Live UNHCR Thailand

 

 

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

 

เริ่มต้นเดือนสิงหาคม ด้วยภารกิจระดมทุนปันน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยโดยคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม ที่ได้รับไม้ต่อภารกิจปันน้ำใจมาจากคุณโอปอล์ ปาณิสราและคุณหมอโอ๊ค สมิทธ์ อารยะสกุล ค่ะ

ภารกิจในครั้งนี้พิเศษมากๆ ค่ะ เพราะนอกจากจะมีคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม เป็นผู้ทำภารกิจแล้ว แขกรับเชิญพิเศษของภารกิจเพื่อผู้ลี้ภัยครั้งนี้คือ คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงและผู้ริเริ่มแคมเปญระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees ในปีนี้

โดยคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม ได้นำความสามารถที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน คือความสามารถในการเป็นนักขาย นำเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ มาประมูลออนไลน์ถึง 2 ตัว ผ่านทาง Facebook Live ของ UNHCR Thailand บรรยากาศการประมูลเป็นไปด้วยความสนุกสนานและได้มุมมองเกี่ยวกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากทั้งคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม และคุณก้อง สหรัถ อีกด้วย ทั้งนี้เสื้อทั้งสองตัวถูกประมูลโดยแฟนคลับของทั้งสองท่านเรียบร้อยค่ะ

 

ร่วมปันน้ำใจกับคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม และคุณก้อง สหรัถ ได้ที่

www.unhcr.or.th

- SMS พิมพ์ 30 ส่งมาที่ 4642789  (บริจาคครั้งละ 30 บาท)

น้ำใจจากคุณคือชีวิตและความหวังของผู้ลี้ภัย ขอขอบคุณทุกๆ น้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยนะคะ

#Namjaiforrefugees #JenniferKimforUNHCR #KongforUNHCR #UNHCRThailand #เพื่อผู้ลี้ภัย

คุณโอปอล์ ปาณิสรา และคุณหมอโอ๊ค สมิทธิ์ อารยะสกุล กับภารกิจ Namjai for Refugees ในรายการ Opal All Around

 

คุณโอปอล์ ปาณิสรา และคุณหมอโอ๊ค สมิทธิ์ อารยะสกุล กับภารกิจ Namjai for Refugees ในรายการ Opal All Around

ความจริงของ ‘ผู้ลี้ภัย’ เรื่องราวที่ ‘โอปอล์-หมอโอ๊ค’ อยากแชร์

 

 

 

“ในความเป็นมนุษย์ ถ้ามองข้ามเชื้อชาติ มองข้ามความเป็นประเทศ หรือคิดว่าเขาไม่ใช่ญาติพี่น้อง แล้วเปิดใจกว้างในฐานะเพื่อนมนุษย์ ผมคิดว่าเราต้องช่วยกัน”

 

  • เมื่อพูดถึง ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะนึกถึงอะไร 

     โอปอล์: พูดตามความเป็นจริงเลยนะคะ ก่อนหน้าที่ทาง UNHCR Thailand จะติดต่อมา หรือก่อนที่จะเริ่มเข้ามาทำความรู้จักกับ UNHCR คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ สำหรับปอล์คือ ‘ไม่เกี่ยวกับเรา’ ไกลตัวมาก เป็นใครมาจากไหนไม่รู้ 

     แต่พอรู้จักกับ UNHCR แล้วได้ดูข้อมูลอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ ศึกษาข้อมูลเรื่องค่ายผู้ลี้ภัยจริงๆ ถึงได้ตระหนักว่าผู้ลี้ภัยก็คือคนเหมือนเรานี่แหละ เขาต้องลี้ภัยจากสงคราม ในขณะที่ประเทศเราสมบูรณ์พูนสุขจนไม่รู้ ไม่ใส่ใจว่าจริงๆ แล้วสงครามมันยังมีอยู่ ยังมีคนที่บ้านแตกสาแหรกขาดจริงๆ ซึ่งพวกเขาเองก็เคยมีชีวิตที่ดี ยกตัวอย่างง่ายๆ กับข่าวสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย ทุกคนเคยมีบ้าน มีครอบครัว มีอาชีพ แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรเลย

     เรื่องพวกนี้มันกินเข้าไปในใจมาก อย่างเราเป็นพ่อแม่ สิ่งที่ทนดูไม่ได้คือภาพผู้ลี้ภัยจากซีเรียที่ต้องข้ามทะเล เห็นศพเด็กเกยฝั่ง… มันหนักไปสำหรับเราที่จะรับได้ พอได้มาทำความรู้จักถึงรู้ว่าเราคือมนุษย์เหมือนกัน มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ และใกล้ตัวเรามากกว่าที่เคยคิด

     หมอโอ๊ค: ที่ผ่านมาผมได้รับรู้ในมุมของข่าวต่างประเทศมากกว่า ที่เรามักจะได้เห็นความขัดแย้ง ความไม่สงบ และสงครามต่างๆ ในภาพข่าวเหล่านั้น เราก็จะไม่เห็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ถามว่าสงสารไหม ก็สงสาร แต่ก็ยังรู้สึกไกลตัว แล้วในภาพข่าว เราไม่ได้นึกว่าปริมาณผู้ได้รับผลกระทบจะมากขนาดเป็นแสนหรือเป็นล้าน แต่พอได้เห็นสถิติจริง โอ้โห ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยอยู่ 65 ล้านคน มันเท่ากับจำนวนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศเลย! เฮ้ย มันเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่เราคิดนะ

     ยิ่งพอเราได้มาเข้ามาร่วมงานก็ยิ่งเกิดความสนใจ เริ่มค้นคว้ามากขึ้น ก็ได้เห็นหลายๆ ภาพ ได้เห็นอะไรหลายมุมอย่างที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ยกตัวอย่าง ในชายแดนประเทศเราเองก็มีค่ายผู้ลี้ภัย แต่ผมก็ไม่ทราบ ที่ผ่านมาเราอาจจะมองไม่เห็น แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เข้าไปในใจเราไงครับ มันไม่ได้มาร์กเข้าไปในหัวสมองว่ามันเป็นปัญหาของประเทศเราด้วยนะ

     วันนี้เลยถือเป็นโอกาสที่ดีในชีวิตที่ทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจโลกนี้เพิ่มมากขึ้นอีกนิด

 

  • พอเข้าใจแล้ว ความรู้สึกกับคำนี้เปลี่ยนไปเลยไหม

     โอปอล์: อย่างที่พี่โอ๊คบอกไปว่าบางทีเราฟังอะไรผ่านๆ แต่มันไม่ได้เข้าหัว ไม่ได้เข้าไปในใจ พอเราได้รู้ข้อมูลเรื่องผู้ลี้ภัย เราคิดกลับกันเลยว่าถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเรา อย่างทุกวันนี้เรามีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น ต่อให้เรากลับดึกแค่ไหนก็ยังได้เจอกัน โมเมนต์สุดท้ายของวันเราอาจจะได้กอดกัน แต่บางคนเขาไม่เหลืออะไรให้กลับไปเลย บางคนพ่อแม่ตายต่อหน้า บางคนถูกพรากลูกไปจากอก เขาต้องเผชิญเรื่องเหล่านี้ทั้งที่เขาไม่ควรต้องเจอ

     เรื่องแบบนี้มันมีอยู่จริง แล้วเขาต้องการให้มีคนสักกลุ่มหนึ่ง ‘เข้าใจ’ ว่าเกิดเรื่องเหล่านี้กับเขาอยู่นะ ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเขา ให้ที่พักพิง ให้เงิน ให้ที่อยู่ ให้การดูแลเยี่ยงมนุษย์ที่พอจะหยิบยื่นให้กันได้

     หมอโอ๊ค: แน่นอนแหละ มันเป็นความฝันที่น่ากลัวที่สุดเนอะ เวลาเราคิดถึงเรื่องอะไรแบบนี้ โดยเฉพาะครอบครัวเราที่มีลูกเล็กๆ เวลาดูข่าวพวกนี้เยอะๆ ผมเคยฝันร้ายนะว่าวันดีคืนดีบ้านของเราระเบิดบึ้มแล้วหายไปเลย คือเราก็คิดมุมกลับอย่างที่โอปอล์พูดจริงๆ ว่า แล้วลูกเราล่ะ… เขาไม่เคยสัมผัสกับเรื่องราวอะไรที่มันทุกข์ร้อนแบบนี้เลย แล้วถ้าเจอแบบนั้น เราจะทำยังไงต่อ

     คนที่ประสบกับเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะในซีเรียหรือประเทศไหนก็ตาม ความจริงเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนอย่างเรานี่แหละ คือเกิดมาเรียนหนังสือ ประกอบสัมมาอาชีพ เป็นหมอ เป็นพิธีกร ที่วันดีคืนดีก็ต้องพลัดพรากจากกันโดยที่เขาก็ไม่ได้ทำผิดอะไร เขาผิดเหรอที่เกิดในประเทศนั้น เขาไม่ได้เป็นคนทำให้สงครามมันเกิดขึ้นด้วยซ้ำ

     ดังนั้นในความเป็นมนุษย์ ถ้ามองข้ามเชื้อชาติ มองข้ามความเป็นประเทศ หรือคิดว่าเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องเรา แล้วเปิดใจกว้างในฐานะเพื่อนมนุษย์ ผมคิดว่าเราต้องช่วยกัน

 

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

 

  • ‘ภารกิจ’ ที่หมอโอ๊คและโอปอล์ต้องทำในวันนี้คืออะไร

     โอปอล์: ทาง UNHCR ติดต่อมาว่าอยากให้เราทำภารกิจที่ใช้ความสามารถของตัวเอง ออกมาช่วยเหลือหรือตระหนักรู้ว่าผู้ลี้ภัยเขาก็มีความสามารถเหมือนปุถุชนทั่วไปเหมือนกัน เงินที่เราระดมทุนได้ก็อยากจะนำไปสนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยใช้เพื่อแสดงความสามารถของตัวเอง อย่างน้อยก็ช่วยเพิ่มความหวังให้เขาอยากมีชีวิตอยู่

     เราก็มานั่งคิดว่าความสามารถของเราคืออะไร ปอล์คงไม่สามารถไปเล่นดนตรีเปิดหมวกได้อย่างคุณแสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข แต่สิ่งหนึ่งที่ปอล์คิดว่าครอบครัวเรามีคือการสื่อสารในฐานะ ‘สื่อ’ เรามีช่องทางเพื่อให้คนติดตามอย่างหลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรือรายการที่ทำอยู่ ทำไมเราถึงไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อแสดงความถนัดของเราในฐานะพิธีกรและคนเบื้องหน้า ทำให้คนรู้และเข้าใจ 

     โจทย์ของเราคือทำรายการ Opal All Around เทปนี้เพื่อสื่อสารให้คนรู้ว่า UNHCR คืออะไร เขากำลังทำอะไร เพื่อใคร และในความเป็นมนุษย์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง รายการของปอล์ยาวแค่ 20 นาทีเอง แต่ภายในเวลาเท่านี้ คนดูต้องเข้าใจ ดูจบแล้วต้องเปิดใจ ต้องรู้ว่ามันเกิดขึ้นกับเขาและครอบครัวได้เหมือนกัน ปอล์อยากทำให้คนที่ได้ดูจิตใจอ่อนโยนและเปิดใจให้เรื่องผู้ลี้ภัยมากขึ้น

     หมอโอ๊ค: ผมไม่ได้เป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางด้านสื่อสารมวลชนโดยตรงนะครับ แต่ในฐานะคนที่เป็นสื่อกลาง ได้สัมผัสกับทีมงานที่ได้เป็นสื่อ และในฐานะคนที่เสพสื่อด้วย ผมอยากให้มีอะไรอย่างนี้เยอะๆ โลกนี้มันมีอะไรที่ควรจะบอกกล่าวกันมากกว่าบางเรื่องที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ (หัวเราะ) คือมันไม่ใช่เรื่องบันเทิงด้วยนะ เราเข้าใจมุมบันเทิงมาก ความบันเทิงไม่ใช่เรื่องผิด ความสนุกสนานผ่อนคลายเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว

     แต่กับบางเรื่อง มันเป็นปัญหาที่เล็กน้อยมาก แต่คนเราตีกันจนวุ่นวายไปหมด ในขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งของโลกกำลังหายใจอยู่อย่างหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง

     ผมว่าการที่เรานำเสนออะไรแบบนี้ มันได้ทั้งความเข้าใจ ได้ทั้งจำนวนเงินบริจาคเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ลี้ภัย แต่ผู้ที่ได้รับสารนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ผมอยากให้คนรู้สึกได้แล้วว่า ไอ้ที่เราเจอกันทุกวันน่ะมันเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากเลยนะ แล้วผมเชื่อว่าเมื่อได้รู้ เรื่องเหล่านี้มันจะเข้าไปสะกิดอะไรบางอย่างให้ในใจคนสะอาดขึ้น ผมรู้สึกว่าข้างในมันจะรับรู้ว่าเราควรจะเป็นมนุษย์แบบไหน แล้วยิ่งถ้ามันไปสะกิดใจผู้ที่มีอำนาจว่าการที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือคิดจะก่อสงคราม… ความจริงแล้วชาวบ้านตาดำๆ อย่างเรานี่แหละที่จะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ฉะน้ั้นถ้ามันไปถึงระดับนั้นได้ก็วิเศษสุด เพราะในใจผม ผมคิดว่ามันไม่ควรจะมีสงครามเกิดขึ้นในโลกนี้ มันไม่ควรมีความขัดแย้งเลย

     โอปอล์: พี่โอ๊คเป็นคนสอนให้ปอล์เข้าใจถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้นนะ เดิมทีปอล์เป็นชาวบ้านที่แมสมาก คือใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นสุขนิยม เป็นคนที่รายได้สูงแล้วพอจะต้องเสียภาษี โอ๊ย! ทำไมต้องเสียภาษี (หัวเราะ) แต่พี่โอ๊คเป็นคนพูดว่า เรากำลังเสียภาษีให้แผ่นดินที่เรายืนอยู่ เขาเป็นคนให้สติเราในหลายๆ เรื่อง อย่างตอนแรกที่ปอล์ไม่อยากมีลูก เพราะรู้สึกว่าโลกเดี๋ยวนี้มันน่ากลัว มันโหดร้าย แต่พี่โอ๊คพูดว่าถ้าคนที่พร้อมอย่างเราไม่มีลูก แล้วในอนาคตเด็กๆ ในเจเนอเรชันนั้นจะเป็นอย่างไร ทั้งที่เราพร้อมจะสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับโลก

     ก่อนหน้านี้เราเป็นคนไม่เคยคิดเผื่อโลก การทำเต็มที่ของปอล์คือการไม่รับถุงพลาสติก เราเอาถุงผ้าไปซื้อของ นี่คือที่สุดของปอล์กับการเป็น ‘Eco Girl’ ในขณะที่พี่โอ๊คเป็นคนที่คิดอะไรมากกว่านั้น เขาเป็นคนคิดเผื่อโลก อย่างวันนี้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มันตรงเป้าเราทุกอย่าง เราผ่านอะไรหลายอย่างมาก เรามีความมั่นคงในชีวิต เรามีลูกที่น่ารัก เรารู้แล้วว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อใคร แค่นี้พอแล้ว เราหยุดแล้ว อีกอย่างบางทีเราก็เป็นปุถุชน เราก็สนุกไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องน่ะ ดราม่าต่างๆ เรื่องของคนนี้อะไรยังไง ใครได้กับใคร แซ่บตลอด (หัวเรา) แต่พี่โอ๊คจะเป็นคนไม่หยุด เขาจะเป็นคนสะกิดเราว่า มองดูคนข้างๆ หรือยังว่ายังมีคนอีกมากที่เขาต้องการความช่วยเหลือ พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดให้เราดูเรื่องสงครามซีเรีย และเป็นคนสะกิดให้เราไปเรียนเรื่องการเมือง

     สำคัญที่สุด เหตุผลที่เราตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้เพราะเราอยากทำให้รู้ว่าทุกคนช่วยเปลี่ยนโลกนี้ได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงจากเรื่องใกล้ๆ ตัว เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ยกตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมา ถ้าไม่มีคนคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง โลกเราในวันนี้จะไม่มีทางเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้

     เรื่องของผู้ลี้ภัยก็เช่นกัน แค่คุณตระหนักรู้ว่ามันมีปัญหา สิ่งที่คุณทำได้ นอกจากจะแชร์บทความที่คุณกำลังอ่านนี้ไปแล้ว ยังมีอีกทางคือส่ง sms โดยพิมพ์ 30 แล้วส่งมาที่ 4642789 เพื่อบริจาคครั้งละ 30 บาท หรือแค่เข้าเว็บไซต์ www.unhcr.or.th หรือบริจาคทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ 0 2206 2144 ปอล์เชื่อว่าเงินอาจไม่ต้องมาก อาจจะเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ บางทีมันสามารถรันทุกอย่างเดินหน้าไปได้

 

  • ถ้าต้องไปร่วมชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย หน้าที่ไหนที่คุณน่าจะทำได้ดีที่สุด และคุณคิดว่าตัวเองจะทนได้ไหม โดยเฉพาะในวันและคืนที่ตัวเองมีลูกน้อยที่ต้องดูแลด้วยแล้วถึงสองคน

     โอปอล์: ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ปอล์กับพี่โอ๊คคุยกันตลอด คือเนื่องจากเป็นคนชอบดูละคร ในละครชอบมีฉากสงคราม ปอล์ถามพี่โอ๊คว่าถ้าเราเกิดมาในยุคสงครามเนี่ย เราจะไปอยู่หน่วยไหนวะ

     หมอโอ๊ค: ผมนี่ก็ไม่ยาก คงจะไปอยู่หน่วยแพทย์ล่ะมั้ง (หัวเราะ)

     โอปอล์: ส่วนปอล์ก็คิดว่าเราน่าจะอยู่โรงครัว เพราะว่ามีอาหาร ที่ไหนมีอาหาร ที่นั่นมีเรา (ยิ้ม) คือปอล์แค่รู้สึกว่าในทุกที่ แม้แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยเหมือนกัน ทุกคนจะอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่เราทุกคนล้วนมีความถนัดของตัวเอง เช่นกันกับคนที่อ่านบทความนี้อยู่ ถ้าอ่านแล้วคิดว่าแล้วฉันจะไปช่วยอะไรพวกเขาได้ ปอล์จะบอกว่าให้ใช้ความถนัดของตัวเอง อย่างตัวปอล์เป็นคนบันเทิงเบื้องหน้า ความถนัดของเราคือการพูดให้ทุกคนได้ยิน เราออกไปยืนข้างหน้าแล้วมีคนเห็นเยอะ พูดแล้วมีคนฟัง งั้นเราก็บอกต่อสิ

     อย่างทุกครั้งที่บ้านเมืองเราเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แล้วคนในประเทศเราทำเรื่องน่ารักด้วยการใช้ความถนัดของตัวเองมาร่วมแรงร่วมใจกัน เช่น ใครเป็นแพทย์ก็มารวมตัวกันตั้งทีมอาสาสมัครไปลงพื้นที่ ใครร่างกายแข็งแรงก็ออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน ใครทำอาหารได้ก็ทำข้าวกล่อง ผัดกันสู้ตาย เสร็จแล้วนำไปแจกจ่ายผู้ที่กำลังเดือดร้อน ฯลฯ ภาพต่างๆ เหล่านี้ปอล์ยังจำได้ นี่แหละ แค่นี้ก็ได้แล้ว

 

  • โดยปกติแล้ว ‘ความทุกข์หรือ ความลำบาก’ ที่สุดในชีวิตของคุณคือเรื่องอะไร และถ้าต้องได้ร่วมพูดคุย มุมมองแบบไหนในชีวิตที่คุณอยากจะทำความเข้าใจและร่วมแชร์กับเขามากที่สุด

     หมอโอ๊ค: (หัวเราะ) ตัวเราเองก็ยังไม่ได้ละกิเลสได้หรอก เราเป็นคนธรรมดามาก ผมก็ใช้ชีวิตของตัวเองในทุกๆ วันเหมือนกับทุกคนนี่แหละ ถึงเวลาก็หงุดหงิดที่อากาศร้อน รถติด ซึ่งความจริงมันเทียบกันไม่ได้กับความทุกข์หรือปัญหาในระดับเดียวกับผู้ลี้ภัย

     โอปอล์: ถ้าทุกข์ที่สุดของปอล์คือตอนที่เราต้องนอนนิ่งๆ ในโรงพยาบาลอยู่ 2 เดือน เราขยับตัวไม่ได้เลย เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปเพื่อลุ้นว่าลูกเราจะรอดหรือไม่ ปกติคนใกล้คลอดเขาจะมีความสุขที่จะได้เห็นหน้าลูกว่าหน้าตาจะออกมายังไง แต่ในสองเดือนนั้นคือเราต้องนอนนิ่งๆ ทั้งกิน ทั้งอึ และฉี่กันบนเตียง โดยไม่รู้ว่าเรากำลังต่อสู้กับอะไรอยู่ เราไม่รู้ว่าลูกในท้องจะออกมาเมื่อไร หมอบอกว่าโอกาสที่ลูกเราจะรอดเปอร์เซ็นต์น้อยมาก และถ้าคลอดออกมา คุณแม่ต้องเตรียมรับว่าลูกอาจจะตาบอด ลูกจะพิการทางสมอง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราใน 2 เดือนนั้น และมันเปลี่ยนเราไปเลย

     ที่รู้สึกเปลี่ยนที่สุดคือ ตอนนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการนอนภาวนาให้ทุกอย่างมันดีขึ้น เรารู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตอย่างนั้น เราต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย ที่แย่ที่สุดไม่ใช่เรื่องปอล์จะตายหรือลูกจะตาย แต่คือการที่ปอล์เห็นพี่โอ๊คทุกข์ทรมาน ตอนนั้นพี่โอ๊คคือคนที่ต้องเดินไปคุยกับหมอแล้วรับรู้ว่าโอปอล์มีอาการหัวใจวายนะ ลูกแทบจะไม่มีโอกาสรอดนะ ถ้ามีโอกาสรอด ลูกจะเป็นอย่างนี้ แล้วเขาแบกทุกอย่างไว้

     ปอล์เห็นภาพตอนที่เขาหน้าแย่ๆ แต่พอผลักประตูเข้ามาแล้วเขาทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับปอล์ พอเห็นทุกอย่างแล้วมันก็ทำให้ปอล์คิดได้ว่าคนเราสุดท้ายก็เท่านี้.. แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าถ้าวันนั้นลูกปอล์ไม่รอดเลยสักคน อย่างน้อยเราก็มีกันและกัน แต่ถ้าวันนั้นปอล์ไม่รอด แล้วพี่โอ๊คจะอยู่กับใคร แล้วระหว่างนั้นถ้าวันหนึ่งพี่โอ๊ครับกับสภาวะเครียดแบบนั้นไม่ได้ ปอล์จะทำยังไง นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตปอล์ไปเลย

     หมอโอ๊ค: สำหรับผม เหมือนความทุกข์ครั้งนั้นมันทำให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นเราปกิณกะมากจริงๆ บอกเลยว่าเหมือนกันทั้งคู่ โอปอล์อยู่ในแวดวงบันเทิง ผมอยู่ในแวดวงความงาม โอ้โห มันคือยอดสูงสุดของพีระมิดแล้วจริงๆ ความฟุ่มเฟือยทุกประการอยู่ที่เราจริงๆ ครับ

     โอปอล์: ความทุกข์ที่สุดคือตามซื้อของไม่ทันในคอลเล็กชันนั้น คือกลวงมาก

     หมอโอ๊ค: เราเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราไม่เคยเข้าใจอะไรเลย แต่พอผ่านเรื่องนี้มา เราสองคนเริ่มเข้าใจความเป็นมนุษย์ เริ่มเข้าใจแล้วว่าเราอยู่ไปเพื่ออะไร เข้าใจคุณค่าของชีวิต และเข้าใจว่าบางอย่างก็เป็นเรื่องที่เราต่อรองไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องความแท้จริงของมนุษย์

     ความเป็นความตายคือเรื่องใหญ่ที่สุด มีเงินเท่าไร มีชื่อเสียงแค่ไหนก็ต่อรองไม่ได้

     นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมมองถึงกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้น

     อย่างหนึ่งเลย ในฐานะพ่อแม่จากมุมที่เปลือกมากคืออยากให้ลูกน่ารัก อยากได้ตาโอปอล์ จมูกเหมือนผม อยากให้ลูกเรียนเก่ง เมื่อก่อนคิดกันอยู่แค่นั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เปลี่ยนมุมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการมีชีวิตอยู่

     ผมไม่ได้จะเคลมว่าผมกับโอปอล์เป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดในโลกนะ ที่พูดนี่ไม่ได้ต้องการคำยกย่องใดๆ เพราะเราก็เป็นแค่ปุถุชนธรรมดา คือทำผิดพลาดได้อยู่เสมอ แต่อย่างหนึ่งคือเราอยากเลี้ยงลูกให้เป็นประชากรของโลก เรารู้สึกว่าเขาต้องมีฝัน รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า และอย่าประเมินตัวเองต่ำ ประชาชนไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อใช้ชีวิต หาเงิน ซื้อของ แล้วก็ตายจากไป ผมอยากให้เขาได้ในเรื่องนี้ ยิ่งผมกับครอบครัวมาร่วมกันทำอะไรแบบนี้ ผมรู้สึกว่ามันเป็นการย้ำ สอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ผมจะได้บอกกับลูกต่อไปในอนาคต

     โอปอล์: มีอยู่ตอนหนึ่งที่ปอล์หัวใจวาย ความรู้สึกมันเหมือนคนจมน้ำน่ะ ปอล์ทำได้แค่นอนอยู่แล้วเหมือนตัวเองกำลังจะขาดใจ ความรู้สึกเหมือนในหนังจริงๆ นะ คือปอล์ตะกุยเตียง ปอล์ต้องใช้ออกซิเจนช่วย หมอต้องให้ยาโดยการเจาะเข้าเส้นเลือดตลอดเพื่อไม่ให้ลูกคลอด ซึ่งยาตัวนี้มันมีผลข้างเคียงคือทำให้หัวใจวาย เราก็กดออดเรียกพยาบาล จนกระทั่งพยาบาลกับพี่โอ๊ควิ่งเข้ามา

     หลังจากวันนั้นปอล์รู้สึกเลยว่าคนเรามันตายได้ง่ายๆ แบบนี้เลยใช่ไหม คือเพียงแค่เสี้ยววินาทีที่ต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย หลังจากนั้นปอล์มานั่งคิดเลยว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรกับชีวิตบ้าง เราเป็นลูกที่ดีพอหรือยัง เราเป็นเมีย เป็นเพื่อน เป็นพี่ที่ดีพอหรือยัง ตอนนั้นปอล์คิดจริงๆ นะว่าถ้าเรารอดไปได้ เราจะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ปอล์รู้สึกเหมือนเราได้ second chance ให้มีชีวิตต่อ ฉะนั้นเราจะคิดให้มากกว่าที่ปอล์เคยคิดถึงแต่ตัวเอง

     ครั้งหนึ่งปอล์เคยอยากให้ลูกเป็นหมอเหมือนพี่โอ๊ค แต่พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดว่าเราต้องมองไปให้ไกลกว่านั้นแล้วล่ะ คือไม่ใช่คิดว่าอยากให้ลูกเป็นอะไร หรือมีเงินเท่าไร แต่ลูกต้องคิดไปถึงขนาดที่ว่า เขาจะเปลี่ยนโลกยังไงได้บ้าง ซึ่งตรงนั้นมันยิ่งใหญ่สำหรับปอล์มากนะ เพราะเราก็ไม่เคยนึกว่าจะได้มาใกล้ชิดกับคนที่มีวิชันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่ถ้าเราคิดไปให้ไกล มันไม่ใช่เรื่องของตัวเงิน ไม่ใช่เรื่องการการประสบความสำเร็จ

     เราจะทำให้โลกที่เราอยู่ดีขึ้นได้ยังไง คิดถึงคนอื่นมากขึ้น หมายถึงคิดว่าตัวเองเป็นประชากรโลก อย่าง ‘ผู้ลี้ภัย’ เนี่ย หลายคนรู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนไทย ทำไมต้องช่วย ประเทศไทยก็ไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้เจริญขนาดนั้น แต่ถ้าเรามองว่าทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทุกคนคือหนึ่งในประชากรของโลก มันจะไม่มีคำว่าเขาไม่ใช่คนไทย เขาเป็นมนุษย์ ฉะนั้นต้องมองข้ามผ่านเรื่องเพศ ข้ามผ่านเรื่องเชื้อชาติไปได้แล้ว นาทีนี้มันเป็นเรื่องของมนุษย์

     หมอโอ๊ค: ตรงนี้ผมขอต่อพูดแล้วกัน เพราะผมได้ยินบ่อยมาก และเป็นคอมเมนต์แรกเลย เมื่อก่อนที่เราเริ่มต้นเข้าร่วมกับ UNHCR แม้แต่เพื่อนที่ใกล้ชิดกับเราเขายังพูดว่า “ไปทำอะไร… ไร้สาระ ทำแล้วได้อะไร อ๋อ อยากได้ชื่อเหรอ…” ทุกคนก็มองกันแบบนี้ ซึ่งเราก็เข้าใจเขานะ เขาไม่ได้มีเจตนาร้ายหรอก เขามองเพราะเขาไม่ทราบไง แต่เรารู้สึกว่าเรามองไปมากกว่านั้น มันเป็นเรื่องของมนุษย์จริงๆ

     โอปอล์: สุดท้ายนี้สิ่งที่คิดว่าเราเองจะแชร์ได้ดีที่สุด คิดแทนง่ายๆ เลยว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณเป็นเขา คุณจะทำยังไงต่อไปกับชีวิต แล้วขอขอบคุณทุกอย่างที่คุณไม่ได้เป็นเขา และคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นเราจะทำอะไรเพื่อเขาได้บ้าง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและกำลังเกิดอยู่ในเวลานี้ พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ พวกคุณช่วยได้ง่ายมาก แค่หยิบโทรศัพท์แล้วกด sms ครั้งละ 30 บาท หรือเข้าเว็บไซต์เพื่อโอนเงินในจำนวนที่พอช่วยได้ บางทีจำนวนอาจไม่ต้องมาก แต่ถ้าหลายคน มันช่วยเปลี่ยนโลกได้ หรือถ้าตอนนี้กำลังทรัพย์เราไม่มี บอกต่อ แชร์บทความ สร้างความตระหนักรู้ให้เป็นวงกว้าง ปอล์เชื่อว่าจะต้องมีใครอีกหลายคนที่มีความพร้อมเพื่อจะแบ่งบันสิ่งเหล่านี้

 

 

*ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก THE STANDARD ค่ะ

ครอบครัว วรรธนะสิน ส่งต่อ “พลังแห่งความรักและพลังแห่งน้ำใจ” สู่ผู้ลี้ภัย ภายใต้ แคมเปญ Namjai for Refugees

 

ครอบครัว วรรธนะสิน ส่งต่อ “พลังแห่งความรักและพลังแห่งน้ำใจ” สู่ผู้ลี้ภัย ภายใต้ แคมเปญ Namjai for Refugees

ครอบครัววรรธนะสิน ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR กับภารกิจระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัยในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

 

26 กรกฎาคม 2560 – เพราะบ้านและครอบครัวคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ต่อยอดไปสู่การให้อย่างแท้จริง ปิ่น-เก็จมณี วรรธนะสิน คุณแม่สุดสวย จึงได้นำทีม 2 ลูกชายสุดหล่อ น้องเจ้านายและเจ้าสมุทร มาร่วมปฎิบัติภารกิจกับ UNHCR ในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กับแคมเปญ Namjai For Refugees  

 

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

 

 

แคมเปญ “Namjai for Refugees” ได้รับรางวัล Asia-Pacific Communications Award 2016 สาขา Non-Profit Organisation เป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ลี้ภัยได้เป็นอย่างดี