Skip to main content

ภาษา

ความรุนแรงในเมืองดาร์ฟูร์ ประเทศซูดานบังคับให้ผู้คนหลายพันคนต้องหนีเอาชีวิตรอด

 

ความรุนแรงในเมืองดาร์ฟูร์ ประเทศซูดานบังคับให้ผู้คนหลายพันคนต้องหนีเอาชีวิตรอด

 

ความรุนแรงในเมืองดาร์ฟูร์ ประเทศซูดานบังคับให้ผู้คนหลายพันคนต้องหนีเอาชีวิตรอด

เจ้าหน้าที่ UNHCR พูดคุยกับชาวซูดานที่เดินทางมาถึงเมือง Adre ของประเทศชาด ในฐานะผู้ลี้ภัย  © UNHCR/Aristophane Ngargoune

 

การปะทะกันในเมือง El Geneina ทางตะวันตกของรัฐดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน บังคับให้ผู้คนมากกว่า 11,000 คน ต้องลี้ภัยไปยังประเทศชาด ประเทศเพื่อนบ้านนับตั้งแต่เดือนธันวาคม ราว 4,000 คน หนีออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าการปะทะอาจทำให้ประชาชนราว 4,600 คน ต้องพลัดถิ่นอยู่ในประเทศ

ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้พลัดถิ่นมาจากเมืองอื่นและเมื่อการต่อสู้เกิดขึ้นทางตะวันตกของรัฐดาร์ฟูร์ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 ทำให้ผู้คนต้องหนีมาพักพิงในค่ายผู้พลัดถิ่น รวมถึงที่พักพิง ชั่วคราวตามสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน มัสยิดและอาคารต่างๆ ใน เมือง El Geneina

ผู้ลี้ภัยหลายพันคนเดินทางเข้ามายังชาด จากเมือง El Geneina ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนเพียง 20 กิโลเมตร UNHCR ประเมิณว่าอาจมีจำนวนผู้ที่เดินทางมาถึงใหม่เพิ่มสูงขึ้นถึง 30,000 คน ภายในไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงนี้จากสถานการณ์ที่ยังคงตรึงเครียด เจ้าหน้าที่ UNHCR ทำงานอยู่ในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คนที่หนีออกมากหลังหมู่บ้าน บ้านเรือนและที่อยู่อาศัยถูกโจมตี ซึ่งจำนวนมากถูกเผาทำลาย

ในประเทศชาด มีผู้ลี้ภัยกระจายตัวพักพิงอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนซึ่งมีระยะทางยาวเกือบ 100 กิโลเมตรรอบเมือง Adré ในจังหวัด Ouaddaï ซึ่งเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยชาวซูดานราว 128,000 คน สถานการณ์ของพวกเขาน่าเป็นห่วงและขาดแคลน ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่พักพิงอยู่ในพื้นที่เปิด หรือในที่พักพิงชั่วคราวที่มีอุปกรณ์ที่สามารถมอบความคุ้มครองได้เพียงเล็กน้อย อาหาร น้ำสะอาดเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด และสถานการณ์ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลยังคงน่าเป็นห่วง

UNHCR ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรพันธมิตร ในพื้นที่ มอบความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ ลงทะเบียนให้กับผู้ลี้ภัย มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ ได้แก่อาหาร น้ำสะอาดและอุปกรณ์ยังชีพ เข้าถึงและมอบความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในกลุ่มเปราะบางที่ต้องการการดูแลพิเศษเช่นเด็ก และเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ 

แต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาถึงมากเกินกว่าที่เราจะสามารถรองรับได้ทัน ต้องการทรัพยากรและการสนับสนุนเพื่อสมทบการช่วยเหลือในสถานการณ์นี้ 

UNHCR ทำงานร่วมกับรัฐบาลชาด เพื่อระบุที่ตั้งที่พักพิงแห่งใหม่เพิ่มเติมจากพื้นที่บริเวณชายแดนเพื่อรองรับผู้ลี้ภัยให้ได้รับความปลอดภัยและความช่วยเหลือที่จำเป็น 

ในขณะเดียวกันทางตะวันตกของดาร์ฟูร์ UNHCR และองค์กรพันธมิตรเร่งแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์เช่น ผ้าห่ม เสื่อนอนและถังน้ำเอนกประสงค์ แก่เด็ก ผู้ชายและผู้หญิงที่กำลังพลัดถิ่นตามจุดต่างๆ สัปดาห์ที่ผ่านมารถบรรทุกได้ลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์จากคลังเก็บสิ่งของบรรเทาทุกข์ของ UNHCR ในรัฐดาร์ฟูร์ และกำลังทะยอยลำเลียงความช่วยเหลือเพิ่มเติม 

UNHCR ยังคงเรียกร้องความช่วยเหลือจากประชาคมโลกให้กับรัฐบาลชั่วคราวของซูดาน เพื่อระบุสาเหตุของความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ การฟื้นฟูความมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างสันติภาพ ซึ่งทำให้เราสามารถพัฒนาความช่วยเหลือ นำไปสู่การหาทางออกที่ยั่งยืน รวมไปถึงการเดินทางกลับของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศชาวซูดานในวันที่สถานการณ์เอื้ออำนวย

 

ร่วมบริจาคได้ที่ http://unh.cr/5e3d1aa06


#UNHCR #Sudan #Darfur #ซูดาน #ดาร์ฟูร์

มติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือน

 

มติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือน

 

มติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือน

 

 

UNHCR ตอบรับมติจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  จากกรณีของ Teitiota ที่เกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ 

ขณะที่การขอความคุ้มครองโดยนาย Teitiota ถูกปฏิเสธโดยพื้นฐานที่ว่าชีวิตของเขาไม่ได้ตกอยู่ในความเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการฯ มีมติว่าผู้ที่หนีด้วยสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่สมควรถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทางหากมีความเสี่ยงที่สิทธิขั้นพื้นฐานอาจถูกริดรอนเมื่อกลับไป

นับเป็นมติสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกี่ยวพันถึงการมอบความคุ้มครองระหว่างประเทศต่อผู้พลัดถิ่นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาหาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ มตินี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติการของประเทศต่างๆ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจบังคับให้ผู้คนต้องหนีและส่งผลให้เกิดพันธกรณีระหว่างประเทศในอนาคต 

รายละเอียดเพิ่มเติมจากการประเมินของ UNHCR ในมติดังกล่าว:

UNHCR มีการเน้นย้ำว่าผู้ที่หนีเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและค่อยๆ เกิดขึ้น ควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ปี พ.ศ. 2494 หรือ กรอบการกติกาเรื่องผู้ลี้ภัยในระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงแต่สถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดและเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและความรุนแรง มติคณะกรรมาธิการฯ สนับสนุนการตีความนี้ในแนวปฏิบัติปัจจุบันในการมอบความคุ้มครอง มติยังรับรองว่ากฎหมายความคุ้มครองระหว่างประเทศแก่ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ได้ในกรณีการพลัดถิ่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่หลากหลายต่อหลายประเทศ ชุมชน ความเป็นอยู่ส่วนบุคคลรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงและใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลต่ออนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ปี พ.ศ. 2494 กรอบการกติกาเรื่องผู้ลี้ภัยในระดับภูมิภาค เช่น อนุสัญญา OAU และพิธีสารการ์ตาเกนา

มติดังกล่าวยังครอบคลุมและเฉพาะเจาะจงถึงสิทธิมนุษยชนที่อาจถูกริดรอนซึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติรวมเป็นถึงสิทธิในการมีชีวิต ในมติยังมีการระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลันหรือเหตุการณ์ที่ก่อตัวอย่างช้าๆ สามารถทำให้เกิดการอพยพข้ามชายแดนเพื่อแสวงหาความคุ้มครองและเอาชีวิตรอดจากความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

UNHCR ยังได้เน้นย้ำถึงคำวินิจฉัยจากมติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าในพื้นที่ที่อาจเกิดความเสี่ยงดังกล่าว การส่งตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบกลับไปยังพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภัยนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (มาตรา 6) หรือไปยังพื้นที่ที่พวกเขาเสี่ยงจากการเผชิญกับความโหดร้าย ทารุณ การย่ำยีศักดิ์ศรี (มาตรา 7 ของ ICCPR) มีความผิดภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR กติกาดังกล่าวยังครอบคลุมถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่สามารถประยุกต์ใช้กับการพิจารณาผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัย ซึ่งยังรวมไปถึงสิทธิ์อื่นๆ ในการมีชีวิต (มาตรา 6) และสิทธิ์นั้นไม่อยู่ภายใต้การทรมาน หรือการทารุณอย่างโหดร้าย หรือการลงโทษ หรือการย่ำยีศักดิ์ศรี (มาตรา 7)

มติคณะกรรมาธิการฯ ยังกล่างถึงความต้องการความพยายามอย่างจริงจังในระดับชาติและนานาชาติเพื่อหลีกเลี่ยงการริดรอนสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังกล่าวเตือนว่ามีความเสี่ยงสูงที่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ทั้งประเทศจมอยู่ใต้น้ำก่อนที่จะสายเกินไป  สภาพความเป็นอยู่ในประเทศนั้นอาจขัดแย้งกับสิทธิ์ในการมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี การอ้างอิงเหล่านี้ยังเป็นการส่งสัญญาณครั้งสำคัญไปถึงประเทศต่างๆ และประชาคมโลก พวกเขายังเน้นย้ำถึงการสนับสนุนในการป้องกัน ลดความเสี่ยงและการปรับตัวอย่างเร่งด่วนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อขยายความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ ความร่วมมือกันนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลรู้สึกว่าต้องถูกบังคับให้พลัดถิ่นเพื่อเลี่ยงภัยที่ใกล้ตัว ตามที่คณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นว่าจะพันธกรณีระหว่างประเทศในการให้ความคุ้มครอง

#ClimateChange #ClimateAction #UNHCR #Refugees #Displaced #ผู้ลี้ภัย #ผู้พลัดถิ่น #ภัยธรรมชาติ

UNHCR พร้อม ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก และสื่อพันธมิตร เปิดตัวสารคดี และเสวนาพิเศษเพื่อผู้ลี้ภัย และผู้อพยพจากวิกฤติเวเนซุเอลา

 

UNHCR พร้อม ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก และสื่อพันธมิตร เปิดตัวสารคดี และเสวนาพิเศษเพื่อผู้ลี้ภัย และผู้อพยพจากวิกฤติเวเนซุเอลา

 

 

UNHCR พร้อม ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก และสื่อพันธมิตร เปิดตัวสารคดี และเสวนาพิเศษ
เพื่อผู้ลี้ภัย และผู้อพยพจากวิกฤติเวเนซุเอลา

 

 




นับตั้งแต่พ.ศ. 2558 ประชาชนชาวเวเนซุเอลายังต้องเดินทางออกจากประเทศเพื่อหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรงและความขาดแคลนทางสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น อาหาร ยารักษาโรค และการบริการขั้นพื้นฐาน ทำให้โดยเฉลี่ยมีชาวเวเนซุเอลามากกว่า 5,000 คนต่อวัน ต้องออกจากประเทศเพื่อแสวงหาความปลอดภัยและความคุ้มครอง วิกฤตการณ์การลี้ภัยและอพยพครั้งนี้เป็นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ภูมิภาคลาตินอเมริกา มีความร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากวิกฤตซีเรีย และต้องการความช่วยเหลือที่เร่งด่วนที่สุด

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และ คุณปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรี ร่วมกับ รายการข่าว 3 มิติ, แมงกาต้า โปรดักชั่นส์, THE STANDARD และ The Reporters จัดงาน “Venezuela Film Night – Tribute to UNHCR for Refugee and Migrant Crisis” จัดฉายสารคดีและข่าวตอนพิเศษจากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา กับ UNHCR ณ ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลามากที่สุดในโลก พร้อมเสวนาพิเศษเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้

“ปัจจุบัน ตามสถิติของรัฐบาลต่างๆ ที่มอบที่พักพิงแสดงว่า ชาวเวเนซุเอลากว่า 4.5 ล้านคนถูกบังคับให้ออกจากประเทศ ส่งผลให้เกิดการพลัดถิ่นที่เป็นหนึ่งในวิกฤติที่ใหญ่ที่สุดในโลก” จูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทีส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าว “UNHCR ทำงานในพื้นที่ตลอดเวลาเพื่อประเมินความต้องการด้านการคุ้มครอง และมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เราขอขอบคุณความร่วมมืออันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และการสนับสนุนจากทุกคน โดยเฉพาะองค์กรพันธมิตร และประชาชนชาวไทยที่มีให้กับการทำงานของเราโดยตลอดมา”

ในการปฏิบัติหน้าที่ทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ตลอด 3 ปี คุณปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 6 แห่งในประเทศไทย และค่ายผู้ลี้ภัยอีก 3 แห่งในประเทศบังคลาเทศ จอร์แดน และโคลอมเบียที่รองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากที่สุดในโลก

“ประเทศเวเนซุเอลาอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นใกล้ชิดกับคนไทยกว่าที่คิด” คุณปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรี UNHCR กล่าว “สารคดีเรื่องนี้เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ลี้ภัยจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งกำลังทุกข์ทรมานอยู่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่โหดร้าย และเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการมอบความช่วยเหลือเพื่อให้ UNHCR ทำงานต่อไปได้”

สารคดีสั้น “Sin Fronteras: Venezuela at the Crossroads” ผลิตขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง คุณปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก และแมงกาต้า โปรดักชั่นส์ เพื่อขยายการรับรู้และความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาสู่สายตาชาวโลก

นอกจากนี้ภายในงาน Venezuela Film Night ยังมีการฉายสารคดีสั้น HUMANS OF NOWHERE ภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกจาก THE STANDARD ที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริงของชาวเวเนซุเอลาที่ต้องหนีออกจากประเทศ และสกู๊ปข่าวพิเศษที่จัดทำขึ้น โดย รายการข่าว 3 มิติ และ The Reporters

ทั้งนี้ UNHCR ขอขอบคุณ บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมสนับสนุนสถานที่ในการจัดงาน Venezuela Film Night

ปัจจุบันมีชาวเวเนซุเอลามากกว่า 4.5 ล้านคน ที่ต้องหนีออกจากบ้านเกิด UNHCR ทำงานอยู่ในพื้นที่เพื่อมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยกลุ่มเปราะบาง ให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตต่อได้อย่างปลอดภัยในที่พักพิงที่จัดไว้ พร้อมการบริการด้านสาธารณสุข และการช่วยเหลือด้านเอกสาร แต่เราไม่สามารถทำงานสำคัญนี้ได้เพียงลำพัง และคุณสามารถช่วยพวกเราได้ด้วยการบริจาคอย่างต่อเนื่องที่เว็บไซต์ http://unh.cr/5e29bee5c1
 

#UNHCRThailand #VenezuelaFilmNight

Venezuela Film Night : Tribute to UNHCR for Venezuelan Refugee and Migrant Crisis

 

Venezuela Film Night : Tribute to UNHCR for Venezuelan Refugee and Migrant Crisis

 

Venezuela Film Night :
Tribute to UNHCR for Venezuelan Refugee and Migrant Crisis

 



Venezuela Film Night - Tribute to UNHCR for Refugee and Migrant Crisis งานเปิดตัวสารคดีจากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา พร้อมทอล์กพิเศษโดย ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ทูตสันถวไมตรี UNHCR และผู้ร่วมผลิตสารคดี

นับตั้งแต่พ.ศ. 2557 ประชาชนชาวเวเนซุเอลายังคงเดินทางออกจากประเทศเพื่อหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรงและความขาดแคลนทางสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ โดยเฉลี่ยมีชาวเวเนซุเอลามากกว่า 5,000 คนต่อวัน หรือมากกว่า 4.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ ต้องถูกบังคับให้หนีออกจากประเทศในฐานะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ กลายเป็นวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคลาตินอเมริกา และมีความร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากวิกฤตซีเรีย

ในโอกาสครบรอบ 3 ปี ของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทูตสันถวไมตรี UNHCR ของคุณไปรยา ลุนด์เบิร์ก และการลงพื้นที่ประเทศโคลอมเบียกับ UNHCR เพื่อเยี่ยมผู้ลี้ภัยและผู้อพยพที่หนีวิกฤติจากประเทศเวเนซุเอลา ในโอกาสนี้ คุณไปรยา ร่วมกับ รายการข่าว 3 มิติ, แมงกาต้า โปรดักชั่นส์, THE STANDARD และ The Reporters พร้อมการสนับสนุนจาก บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมมือจัดงาน Venezuela Film Night - Tribute to UNHCR for Refugee and Migrant Crisis ช่วยเหลือและระดมทุนเพื่อวิกฤตผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา ผ่านการเปิดตัวสารคดีเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเวเนซุเอลาเรื่องแรก และทอล์กพิเศษ เกี่ยวกับการลงพื้นที่ดูการทำงานของ UNHCR ในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือในพื้นที่ฉุกเฉินในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลามากที่สุดในโลก รวมถึงเบื้องหลังการถ่ายทำสารคดีในวิกฤตการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ร่วมสัมผัสการถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่าน 3 มุมมองที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในอีกซีกโลกหนึ่ง

  • วันที่: วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563
  • เวลา: 18.00 – 21.00 น. 
  • สถานที่: โรงภาพยนตร์มาสเตอร์การ์ด ซีเนม่า เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ติดตามรายละเอียดเพื่อสำรองที่นั่งได้ที่เฟซบุ๊คเพจ UNHCR ประเทศไทย และ THE STANDARD ค่ะ

ร่วมกับ UNHCR บริจาคช่วยชีวิตครอบครัวผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาได้ที่ http://unh.cr/5e2179f30

#UNHCRThailand #VenezuelaFilmNight #PrayaforUNHCR #ข่าว3มิติ #MangataProduction #TheStandardCo #TheReporters 

“สวัสดีครับ ผม มอยเซส รายงานสดจาก โบอา วิสตา ประเทศบราซิล”

 

“สวัสดีครับ ผม มอยเซส รายงานสดจาก โบอา วิสตา ประเทศบราซิล”

 

“สวัสดีครับ ผมมอยเซส รายงานสดจาก โบอา วิสตา ประเทศบราซิล”


เราจะเห็นเขาอยู่กับไมโครโฟนและกล้องวีดีโอของเล่นอยู่บ่อยๆ มอยเซส อายุ 10 ขวบ สัมภาษณ์ชาวเวเนซุเอลา เพื่อนบ้านของเขาในที่พักพิงชั่วคราวเกี่ยวกับการเดินทางมายังประเทศบราซิล การเป็นผู้ประกาศข่าวคือความหวังและความฝันของเขา

 

เพราะเขาไม่สามารถมีอุปกรณ์การถ่ายทำของจริงได้ มอยเซส ประดิษฐ์กล้องวีดีโอที่ทำจากกระดาษลังและแปะด้วยเทป ทำให้การเล่นเป็นผู้ประกาศข่าวของเขาเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น ทั้งที่รู้ว่ากล้องวีดีโอของเล่นนี้ไม่สามารถบันทึกอะไรได้จริงก็ตาม แต่สำหรับมอยเซสแล้ว นั่นไม่ใช่ประเด็น

สิ่งที่มอยเซสให้ความสำคัญคือการเข้าถึงเรื่องราวของผู้คน โดยไม่สนว่าสุดท้ายแล้วเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกเล่าต่อไปยังคนรุ่นหลังหรือไม่ ขณะที่เขาเดินไปบนทางเดิน ผ่านเต็นท์ที่เรียงรายในที่พักพิงชั่วคราวทางตอนเหนือของประเทศบราซิล สถานที่ที่เขาและครอบครัวใช้ชีวิตอยู่ในช่วงปีที่ผ่านมา มอยเซส จะมองหาเรื่องราวดีๆ อยู่เสมอ

“ผมถามผู้คนเกี่ยวกับการเดินทางของพวกเขาจากเวเนซุเอลามายังประเทศบราซิลว่าเป็นอย่างไร” เขาอธิบาย “หน้าที่ของนักข่าวคือการนำเสนอข่าว พูดคุยกับผู้คนและการรายงานให้ดี”

“เขาพูดคำแรกตอนอายุ 5 ขวบ คำว่า ‘วาเลนตินา’
เขาเรียกชื่อพี่สาวออกมา”

ด้วยท่าทีที่สุขุมและการพูดจาที่ฉะฉานเกินอายุ มอยเซสทำได้ดีในเส้นทางที่เขาฝันในการเป็นผู้ประกาศข่าวที่ประสบความสำเร็จ เขายกไมโครโฟนขึ้นเพื่อเตรียมพร้อม สายตาสอดส่องไปยังพื้นที่ระหว่างเต็นท์แต่ละแถวเพื่อมองหาหัวข้อการสัมภาษณ์ที่น่าสนใจ เขาจะตรงเข้าไปหาคนที่เข้าตาเขาทันที โดยคนส่วนใหญ่อนุญาตให้เขาสัมภาษณ์และแบ่งปันเรื่องราวทั้งหมดย่างเต็มใจ และเรื่องราวเหล่านั้นมักจะเป็นเรื่องราวที่ทำให้คนฟังรู้สึกปวดหัวใจ

ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจากเวเนซุเอลาราว 4.6 ล้านคน อยู่นอกประเทศ จำนวนมากเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในอเมริกาใต้ รวมถึงกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกส เช่นบราซิล ที่พักพิงของชาวเวเนซุเอลาราว 224,000 คน ที่หนีจากความขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค รวมไปถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง การแผ่ขยายของความไม่มั่นคงในประเทศ การประหัตประหารและความล้มเหลวของระบบสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐานต่างๆ ส่วนใหญ่เดินทางมาทางบก ข้ามชายแดนมายังพื้นที่ห่างไกลของเมืองไรโรมา ประเทศบราซิล

  • มอยเซส เล่นเป็นผู้ประกาศข่าว กำลังสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยหน้าเต็นท์ที่พักพิงในค่ายผู้ลี้ภัย เมืองโบอา วิสตา ประเทศบราซิล © UNHCR/Vincent Tremeau

  • มอยเซส และคุณแม่ในที่พักพิงของครอบครัว ค่ายผู้ลี้ภัยโบอา วิสตา ประเทศบราซิล © UNHCR/Vincent Tremeau

  • ครอบครัวของมอยเซสและวาเลนตินา พี่สาวในค่ายผู้ลี้ภัยโบอา วิสตา ประเทศบราซิล © UNHCR/Vincent Tremeau

  • เนลลี กอดมอยเซส หลานชายในที่พักพิงของครอบครัว ค่ายผู้ลี้ภัยโบอา วิสตา ประเทศบราซิล ขณะที่ลูกสาวของเธอที่กำลังป่วยนอนพักอยู่บนเตียง © UNHCR/Vincent Tremeau

  • ของเล่นของมอยเซส วางอยู่บนโต๊ะในที่พักพิงของครอบครัว ค่ายผู้ลี้ภัยโบอา วิสตา ประเทศบราซิล เมื่อโตขึ้นมอยเซส อยากเป็นผู้ประกาศข่าว © UNHCR/Vincent Tremeau


มอยเซส และครอบครัวเดินทางมาถึงที่นี่เมื่อปีก่อนโดยรถประจำทาง มาทางตอนใต้จากบ้านที่เขาอยู่ ข้ามชายแดนมาทางตอนเหนือของเมืองเอลติเกร มายังเมืองปากาไรมา ของประเทศบราซิล พื้นที่ชายแดนระหว่างสองประเทศยาวเป็นระยะทางเกือบ 2,200 กิโลเมตร ซึ่งกลายเป็นจุดข้ามแดนสำคัญของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่เข้ามาแสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัยในประเทศบราซิล

ครอบครัวของมอยเซส เดินทางจากเมืองปากาไรมา มายังโบอา วิสตา ที่ตั้งของที่พักพิงของครอบครัวซึ่งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือจาก UNHCR และองค์กรพันธมิตร มอยเซส คุณแม่ คุณยาย พี่สาววัย 13 ปี และคุณแม่บุญธรรม พักอยู่รวมกันในที่พักพิงเล็กๆ  นอนด้วยกันบนเสื้อนอน

ตั้งแต่เขาเดินทางมาถึง มอยเซสและไมโครโฟนที่ติดตัวเขาตลอดเวลากลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้เป็นประจำในที่พักพิงแห่งนี้ ตอนนี้เขารับรู้เรื่องราวของเพื่อนบ้านหลายคน แต่เมอยเซส มักจะถามคำถามมากกว่าตอบคำถาม เขาเก็บเรื่องของเขาไว้กับตัวเองมากกว่า

เนลลี คุณยายของเขา ให้ข้อมูลตอนเด็กบางส่วนของมอยเซส

“มอยเซส เป็นเด็กที่อ่อนไหวมาก” เธอเล่า และเสริมว่าเขาเจ็บปวดจากอาการออทิสติกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่แม่ของเขาป่วยเป็นโรคมาลาเรียขณะที่ตั้งครรภ์ ทำให้เธอต้องนอนโรงพยาบาลตลอด 4 เดือนแรก หลังมอยเซส เกิด “เขาพูดคำแรกตอนอายุ 5 ขวบ เขาเรียก วาเลนตินา ชื่อพี่สาวของเขา”

“เขามีจินตนาการที่กว้างไกลและสดใส”

เนื่องจากคุณแม่ป่วย มอยเซส ต้องไปอยู่กับคุณพ่อจนกระทั่ง 3 ขวบ และด้วยอาการขาดสารอาหารและการรักษาที่ไม่เหมาะสม ตอนนี้คุณพ่อของมอยเซส อยู่ในอิตาลี ตอนนี้เขาอยู่กับแม่ที่กำลังต่อสู้กับโรคมะเร็ง คุณยายเนลลี จึงเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของทั้งมอยเซส และพี่สาว

เธอทำงานหนักเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะมีชีวิตที่สงบและมีสุขเท่าที่พวกเขาสามารถทำได้ตามที่สถานการณ์เอื้ออำนวย

“หากเขาเจอเรื่องราวแย่ๆ ที่โรงเรียน เมื่อกลับมาบ้าน มอยเซส จะบอกว่าขอเวลาเคลียร์สมองให้โล่ง” เนลลียิ้ม “เขามีจินตนาการที่กว้างไกลและสดใส”

เขามีความคิดในหัวเยอะมาก มอยเซส รวบรวมประสบการณ์และความคิด ถ่ายทอดออกมาผ่านไมโครโฟนของเล่นและเลนส์ของกล้องวีดีโอในจินตนาการ

“ผมอยากเป็นผู้ประกาศข่าวเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในเวเนซุเอลา” มอยเซส เล่า “คนมากมายหิวโหย ไม่มีแสงไฟ” 

แต่ยังมีแสงสว่างแห่งความหวัง ความรักและสติปัญญาอยู่ในตัวของมอยเซส เพื่อครอบครัว เพื่อนๆ และเพื่อผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลาที่อยู่รอบตัวเขา

มอยเซส กำไมโครโฟนในมือของเขาแน่น ก่อนที่จะประกาศข้อความสำคัญไปยังเด็กๆ ทั่วโลก

“เด็กๆ ต้องทำดีต่อกัน เพื่อนคือคนสำคัญ ครอบครัวคือคนสำคัญ” เขาพูด “เราจะทำดีต่อกันและกัน”

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ชื่นชม มติคณะรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบในการจัดตั้งระบบคัดกรอง

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ชื่นชม มติคณะรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบในการจัดตั้งระบบคัดกรอง

 

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ชื่นชม มติคณะรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบในการจัดตั้งระบบคัดกรอง

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ขอแสดงความชื่นชมต่อการที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 อนุมัติการจัดตั้งระบบเพื่อคัดกรองบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ มตินี้สืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มกราคม 2560 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งและปรับใช้ระบบดังกล่าว

ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 และไม่มีกฏมายว่าด้วยผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยผู้ซึ่งมิได้มีสิทธิตามกฏหมายที่จะพำนักในประเทศไทย จึงมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฏหมาย

ในการนี้ เป็นที่คาดหวังว่าหลังจากมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ระบบคัดกรองนี้จะทำให้บุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศสามารถพำนักในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว และทำให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเสถียรมากขึ้น

“มติคณะรัฐมนตรีในวันนี้แสดงให้เห็นถึงคำมั่นของรัฐบาลไทย ในการดำเนินการให้ความคุ้มครองต่อผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในอาณาเขตของไทย” นายจูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทิส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าว

“สิ่งสำคัญของระบบคัดกรองคือการนำมาปรับใช้ตามหลักมาตรฐานระหว่างประเทศและหลักการการขอลี้ภัย โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ พร้อมสนับสนุนรัฐบาลไทยในเรื่องนี้อย่างเต็มที่”

มติคณะรัฐมนตรีนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นในการเสริมสร้างความสามารถและทักษะให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในการนำระบบคัดกรองมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ให้ไว้ระหว่างการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Refugee Forum: GRF) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นครั้งแรก ณ นครเจนีวา เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย(GRF) จัดขึ้นหนึ่งปีหลังจากการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees: GCR) ซึ่งนับเป็นกรอบการทำงานระหว่างนานาประเทศเพื่อเพิ่มความเสถียรและแบ่งปันความรับผิดชอบในการหาทางแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ซึ่งจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือระหว่างประเทศ

การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในระเบียบสำนักนายกฯ นี้นับเป็นผลมาจากคำมั่นของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ จันทร์โอชา ที่ได้ให้ไว้ เมื่อเดือนกันยายน 2559 ในเรื่องการจัดตั้งระบบคัดกรองดังกล่าว ณ เวทีการประชุมสุดยอดผู้นำเรื่องผู้ลี้ภัยโลก ที่จัดขึ้นที่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
 

จบ


กรุณาติดต่อ สำนักงานกรุงเทพฯ:

Jennifer Harrison harrison@unhcr.org +66 82 290 8831

Duangmon Sujatanond sujatano@unhcr.org  +66 81 855 8522

 

 

 

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ได้รับคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งในสังคม การพัฒนาการศึกษา และการจ้างงาน

 

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ได้รับคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งในสังคม การพัฒนาการศึกษา และการจ้างงาน

 

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ได้รับคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการให้ผู้ลี้ภัย
เป็นส่วนหนึ่งในสังคม การพัฒนาการศึกษา และการจ้างงาน



ในการประชุมระดับสูง ณ นครเจนีวา รัฐบาล สถาบันการเงินนานาชาติ ผู้นำทางธุรกิจ นักมนุษยธรรม นักพัฒนา ผู้ลี้ภัย และตัวแทนจากภาคประชาสังคม ได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมหลากหลายหัวข้อเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและชุมชนที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะคำมั่นสัญญาที่สำคัญสำหรับการช่วยเหลือในระยะยาวที่เป็นเรื่องใหม่ นั่นคือการให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งในสังคม

จากการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยที่มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดกว่า 3,000 คน รวมถึงผู้ลี้ภัย และคณะผู้แทนอีกกว่า 750 คน ทุกภาคส่วนได้ให้คำมั่นสัญญารวมทั้งหมด 770 เรื่องในหลากหลายหัวข้อ โดยคำมั่นสัญญาดังกล่าวรวมถึงการจ้างงาน การให้สิทธิ์เด็กผู้ลี้ภัยเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน นโยบายใหม่ๆ จากรัฐบาล และทางออกอื่นๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม การใช้พลังงานสะอาด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนชุมชนและประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น

การสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ลี้ภัยเอง รวมถึงสมาคมกีฬา กลุ่มศาสนา และภาคเอกชน แสดงให้เห็นว่าการร่วมมือ คือ กุญแจสู่ความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและประเทศรองรับผู้ลี้ภัยที่ยังมีความขาดแคลนด้านทรัพยากร

ติดตามคำมั่นสัญญาทั้งหมดจากการประชุมได้ที่นี่ นอกจากนี้ยังมีคำมั่นอีกส่วนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น การเพิ่มตำแหน่งงาน การจัดหาสถานศึกษา และการลดความยากจน โดยมีการตรวจวัดความคืบหน้าเป็นระยะ และการประชุมติดตามผลจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปี

“การสนับสนุนผู้ขอลี้ภัยจากสาธารณชนนั้นมีความสั่นคลอนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหลายๆ ครั้งชุมชนต่างๆ ที่รองรับผู้ลี้ภัย รู้สึกจมอยู่กับปัญหาหรือถูกลืม” ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว “ที่จริงแล้วสถานการณ์ผู้ลี้ภัยกลายเป็นวิกฤตได้ เพียงเพราะเราปล่อยให้มันเกิดขึ้น เราคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราเผิกเฉยต่อการวางแผนหรือทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน และเรามองข้ามชุมชนต่างๆ ที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นการตัดสินใจร่วมกันในการเปลี่ยนแนวทางไปสู่การหาทางออกในระยะยาว”

จากการวิเคราะห์เบื้องต้นระบุว่า มีคำมั่นหลักในการสนับสนุนด้านงบประมาณเช่นกัน กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะมอบเงินจำนวนกว่า 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านงบประมาณ Funding Window ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ให้ที่พักพิง รวมถึงพิจารณาจัดตั้งงบประมาณ Funding Window อีกส่วนเพื่อกระตุ้นความร่วมมือภาคเอกชนและการจ้างงานผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ให้ที่พักพิง นอกจากนี้ยังมีการประกาศจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างทวีปอเมริกา (Inter-American Development Bank) อีกเป็นจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงอีกหลายรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและชุมชนที่มอบที่พักพิงจำนวนกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมการอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของผู้ลี้ภัย และการพัฒนาในระยะยาวสำหรับชุมชนที่รองรับผู้ลี้ภัย คำมั่นสัญญามุ่งเน้นที่จะให้ความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไปที่ผู้ลี้ภัยซึ่งมีจำนวน 25.9 ล้านคนทั่วโลก ที่ต้องพลัดถิ่นเป็นเวลาหลายปี หรือแม้แต่หลายทศวรรษ

ภาคเอกชนได้ให้คำมั่นสัญญาที่ครอบคลุมหลากหลายประเด็นที่สุดเท่าที่เคยมีมาเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่น โดยเฉพาะการสนับสนุนการจ้างงานผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการคืนศักดิ์ศรีแก่ผู้ลี้ภัยและให้พวกเขาได้ตอบแทนให้ชุมชนที่มอบที่พักพิง นอกจากคำมั่นสัญญาด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาแล้ว กลุ่มธุรกิจต่างๆ ยังให้คำมั่นสัญญาในการสนับสนุนงบประมาณอีกกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีการจัดหางานอย่างน้อย 15,000 ตำแหน่งเพื่อผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ และยังได้รับบริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกกว่า 125,000 ชั่วโมงต่อปี

การประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ การศึกษา การจ้างงาน พลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ความรับผิดชอบร่วมกัน การให้ความคุ้มครอง และทางออกด้านต่างๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม โดยคำมั่นส่วนใหญ่เน้นในด้านการให้ความคุ้มครองและการศึกษา โดยเรื่องแรกเกี่ยวข้องกับการปรับกฎหมายและนโยบายให้เอื้อต่อผู้ลี้ภัยที่จะอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบภายในประเทศ และในเรื่องการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเด็กผู้ลี้ภัยให้ได้ไปโรงเรียน และพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคต


คำถามที่ว่าจะสร้างรูปแบบในการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจที่ปลอดภัยและดีที่สุดได้อย่างไร เป็นอีกหัวข้อหลักของการหารือ โดยได้รับคำมั่นสัญญาจากประเทศต้นทางหลายประเทศเกี่ยวกับการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ และการดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยและชุมชนผู้พลัดถิ่นต่างๆ สามารถกลับเข้ามาอยู่ร่วมกัน

การประชุมครั้งนี้ คือ เนื้อหาหลักของข้อตกลงโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees) ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ภายใต้ข้อตกลงนี้ การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในพ.ศ. 2566

- จบ –

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย  https://www.unhcr.org/global-refugee-forum.html

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:

ดวงมน สุชาตานนท์
เจ้าหน้าที่​สื่อสารและประชาสัมพันธ์​
อีเมล: sujatano@unhcr.org
เบอร์โทร: +662 288 1296

 

การจัดประชุมระดับโลกครั้งแรกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ ปาเล เด นาซีออง นครเจนีวา

 

การจัดประชุมระดับโลกครั้งแรกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ ปาเล เด นาซีออง นครเจนีวา

 

การจัดประชุมระดับโลกครั้งแรกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ปาเล เด นาซีออง นครเจนีวา

 


ในวันที่ 17 และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ร่วมกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ จัดการประชุมครั้งสำคัญระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยในชื่อการประชุม Global Refugee Forum (GRF) เป็นครั้งแรกของโลก การประชุมระดับโลกทั้งสองวันนี้เป็นการรวมตัวกันครั้งแรกในระดับรัฐมนตรีเพื่อติดตามการปฏิบัติงานตามข้อตกลงโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees) ตามที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา

ปัจจุบันมีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั่วโลกมากกว่า 70 ล้านคน จากเหตุความรุนแรงและการประหัตประหารที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป้าหมายของการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยครั้งแรกนี้ มุ่งเน้นการกระตุ้นรัฐบาล ภาคเอกชน หน่วยงานและองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคม ในการลงมือดำเนินการตามข้อตกลงโลกเรื่องใหม่ว่าด้วยผู้ลี้ภัย การประชุมระดับโลกเรื่องผู้ลี้ภัย มุ่งเน้นในการสร้างคำมั่นและปฏิญาณที่สามารถปฏิบัติได้จริง การวางนโยบายระยะยาว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาชีวิตผู้ลี้ภัย ตลอดจนชุมชนที่มอบที่พักพิงให้แก่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก

การสนับสนุนที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมนี้จะออกมาในการช่วยเหลือหลากหลายรูปแบบ เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และการให้ความช่วยเหลือเฉพาะทาง รวมถึงที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ การขอเข้าเมืองอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมายสำหรับผู้ลี้ภัย และการดำเนินงานด้านอื่นๆ เช่น การปรับบทกฎหมายและนโยบายเพื่อให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งของระบบภายในประเทศผ่านแนวทางที่ให้สังคมโดยรวมมีส่วนร่วม

การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้นำและผู้ทรงอิทธิพลจากสาขาต่างๆ นอกจากฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติแล้ว คาดว่าแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ จะเข้าร่วมด้วย รวมถึงประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาลจากประเทศที่เข้าร่วม ที่จะแจ้งรายชื่อให้ทราบในภายหลัง

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประชาคมโลกในการนำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดให้ประเทศ ภูมิภาค หรือโลกได้รับรู้ด้วย

วาระการประชุมในครั้งแรกนี้จะครอบคลุม 6 หัวข้อ ได้แก่ การจัดการในการแบ่งเบาภาระและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การศึกษา การจ้างงานและการเลี้ยงชีพ พลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ทางออกด้านต่างๆ และ ความสามารถในการให้ความคุ้มครอง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยได้ที่เว็บไซต์ https://www.unhcr.org/global-refugee-forum.html

 

#RefugeeForum #UNHCRThailand

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:

ดวงมน สุชาตานนท์
เจ้าหน้าที่​สื่อสารและประชาสัมพันธ์​
อีเมล: sujatano@unhcr.org
เบอร์โทร: +662 288 1296

 

UNHCR ยกระดับการช่วยเหลือทางตอนเหนือของอิรัก ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

UNHCR ยกระดับการช่วยเหลือทางตอนเหนือของอิรัก ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

UNHCR ยกระดับการช่วยเหลือทางตอนเหนือของอิรัก ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 


เพียงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมากกว่า 12,000 คน ลี้ภัยเพื่อแสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัยในประเทศเพื่อนบ้านเช่นในอิรัก เจ้าหน้าที่ UNHCR ในพื้นที่ระบุว่า ตอนนี้มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เดินทางเข้ามาพักพิงในค่ายบาร์ดาราชซึ่งเปิดไม่นานนี้ราว 11,000 คน และมากกว่า 800 คน พักพิงอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่จุดผ่านแดน Gawilan ซึ่งทั้งสองแห่งมีระยะทางห่างจากชายแดนระหว่างประเทศซีเรียและอิรักราว 150 กิโลเมตร

ตอนนี้ UNHCR และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำงานเพื่อคืนครอบครัวให้กับผู้ลี้ภัยที่พลัดพรากจากครอบครัวซึ่งพำนักอยู่ในเขตปกครองเคอดิสถานของอิรัก

UNHCR ให้การสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือนำโดย เจ้าหน้าที่เขตปกครองเคอดิสถานของอิรัก และยังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพื้นที่ในบริเวณอื่น ในกรณีที่ที่พักพิงทั้งสองแห่งไม่สามารถรองรับผู้ลี้ภัยได้อีกต่อไป

ครอบครัวผู้ลี้ภัยในทั้งสองแห่งได้รับการดูแลและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมคล้ายกันไม่ว่าจะเป็นการได้รับอาหารร้อน การสนับสนุนด้านการเดินทาง การลงทะเบียน ที่พักพิงและการมอบความคุ้มครองในด้านต่างๆ เช่น การคุ้มครองเด็กและการเข้าถึงเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กที่ไม่มีพ่อแม่และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เรายังคงสนับสนุนและมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาถึงใหม่อย่างต่อเนื่อง

เรารู้สึกขอบคุณแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องุทุกภาคส่วนในการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในสถานการณ์นี้รวมไปถึงเจ้าหน้าที่เขตปกครองเคอดิสถานของอิรัก และองค์กรพันธมิตรที่ทำงานตลอดเวลาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย มอบที่พักพิง ความคุ้มครองและปัจจัยสี่ที่จำเป็น เรายังเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เมืองเอร์บีลและเมืองโดฮุก ซึ่งเดินทางมาจากสำนักงานในกรุงแบกแดด เพื่อรับมือในสถานการณ์และผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาถึงใหม่

LIFEiS BEAUTiFUL - No boundaries for sharing ไลฟ์สไตล์อีเว้นท์ที่คุณจะได้มีความสุขกับกิจกรรมที่ตรงใจและส่งต่อความรักให้ผู้ลี้ภัย

 

LIFEiS BEAUTiFUL - No boundaries for sharing ไลฟ์สไตล์อีเว้นท์ที่คุณจะได้มีความสุขกับกิจกรรมที่ตรงใจและส่งต่อความรักให้ผู้ลี้ภัย

 

 

LIFEiS BEAUTiFUL - No boundaries for sharing

 


UNHCR ประเทศไทย ร่วมมือกับ บริษัท ไลฟ์อีส กรุ๊ป จำกัด LIFEiS นำทีมโดยคุณนภ พรชำนิ นักร้องและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลฟ์อีส กรุ๊ป จำกัด กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเกื้อกูล จัดงานไลฟ์สไตล์ LIFEiS BEAUTiFUL : No Boundaries for Sharing เพื่อระดมทุนช่วยเหลือวิกฤตผู้ลี้ภัยโลกในปัจจุบัน

  • วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2562
  • ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ 


พบกับกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย

ตลาดฟลีมาร์เก็ตขายอาหาร และสินค้า
- คอนเสิร์ตการกุศล นำโดย นภ พรชำนิ พร้อมแขกรับเชิญอย่าง YKPB, 2 Days Ago Kids P.O.P - Period Of P.O.P และ Triumphs Kingdom วันอาทิตย์ที่ 10 พิ.ย. เวลา 14:00 และ 19:00
- งานแสดงศิลปะโดย กบ กอร์ บอร์ วอร์ (พงษ์ภาสกร กุลถิรธรรม) Kor.Bor.Vor:The Labour Party Of Visual Creation และ NEV3R (มงคล รัตนภักดี) NEV3R
- DJ set โดย DJ Pichy #DJBen และ #MaftSai จาก ZudRangMa Records
- การตั้งแสดงบ้านพักพิงชั่วคราวรุ่นใหม่ของผู้ลี้ภัย จาก UNHCR และยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ได้ร่วมสนุกอย่างสร้างสรรค์อีกมากมาย

พิเศษ! กระเป๋าผ้าคอลเลกชั่นพิเศษจำหน่ายสำหรับงานนี้เท่านั้น โดยได้ความร่วมมือจากศิลปินรุ่นใหม่ อย่าง รักกิจ (รักกิจ ควรหาเวช) Rukkit, ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล Pommecopine , An Officer Dies (กอล์ฟ-ฐิติภูมิ เพ็ชรสังข์ฆาต) #AnOfficerDies, Benzilla (เบนซ์-ปริญญา ศิริสินสุข) Benzilla และ Happy Pomme Studio (ปอม-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง) Pomme Chan

*เมื่อซื้อกระเป๋า 1 ใบ = เด็กผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงในประเทศไทยจะได้รับชุดเครื่องเขียน 1 ชุด

พร้อมกิจกรรมภาพยนตร์เพิ่มเติมซึ่งจะจัดต่อเนื่องอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน ถึง วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562 ณ ลิโด้ คอนเน็คท์ โดย Documentary Club รวบรวมภาพยนตร์และสารคดีอาทิ เช่น Life is Beautiful Capernaum Lost and Found Midnight Traveler

>> บัตรคอนเสิร์ตจำหน่ายแล้ว ที่ Thaiticketmajor ทุกสาขา หรือทาง www.thaiticketmajor.com

>> กระเป๋าผ้า LIFEiS BEAUTiFUL คอลเลกชั่นพิเศษ วางจำหน่ายที่งานนี้ หรือ pre-order เสาร์ที่ 26 ตุลาคมนี้ ที่ www.lazada.co.th/shop/lifeis-beautiful

>> บัตรภาพยนตร์ ติดตามได้ทาง www.ticketmelon.com

 

** รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้ UNHCR เพื่อนำไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงคราม การประหัตประหาร และความขัดแย้งทั่วโลก **

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง Facebook Event : LIFEiS BEAUTiFUL : Charity LiFESTYLE EVENT

 

  • LIFEiS BEAUTiFUL | ตารางกิจกรรม

  • LIFEiS BEAUTiFUL | กิจกรรมภายในงาน

  • LIFEiS BEAUTiFUL | Concert

  • LIFEiS BEAUTiFUL | ศิลปินในคอนเสิร์ตการกุศล

  • LIFEiS BEAUTiFUL | Street Artists

  • LIFEiS BEAUTiFUL | Street Artists ผู้ร่วมออกแบบกระเป๋าผ้าและเสื้อคอลเลคชั่นพิเศษ

  • LIFEiS BEAUTiFUL | Art Performance

  • LIFEiS BEAUTiFUL | DJs Set

  • LIFEiS BEAUTiFUL | ภาพยนตร์