Skip to main content

ภาษา

UNHCR statement on the situation of Rahaf Mohammed Al-qunun at Bangkok airport

 

UNHCR statement on the situation of Rahaf Mohammed Al-qunun at Bangkok airport

 

The Thai authorities have granted UNHCR access to Saudi national, Rahaf Mohammed Al-qunun, at Bangkok airport to assess her need for international refugee protection.


UNHCR has been following developments closely and immediately sought access from the Thai authorities to meet with Ms. Mohammed Al-qunun, 18, to assess her need for international protection.
 

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล จัด Workshop การทำสารคดี ระดมทุนแคมเปญ Namjai for Refugees

 

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล จัด Workshop การทำสารคดี ระดมทุนแคมเปญ Namjai for Refugees

 

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุลจัด Workshop การทำสารคดี ระดมทุนแคมเปญ Namjai for Refugees 

 

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ร่วมทำกิจกรรมระดมทุนกับแคมเปญ Namjai for Refugees มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR แคมเปญระดมทุนเพื่อมอบปัจจัยสี่ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำสะอาด ที่พักพิง การรักษาพยาบาล และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แก่ผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัยทั่วโลก กว่า 68.5 ล้านคนต้องสูญเสียทุกอย่างในสงครามและความขัดแย้ง ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเร่งด่วน

ในปีนี้คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ร่วมระดมทุนช่วยเหลือกับ UNHCR อีกครั้ง จัดกิจกรรม Workshop การทำสารคดี สุด Exclusive ในชื่อ “Documentary and Story Telling Workshop by Wannasingh Prasertkul” ใน Workshop สุดพิเศษนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำสารคดีจากประสบการณ์ตรงจากการเดินทางทั่วโลกและการทำรายการ เถื่อน Travel ของคุณวรรณสิงห์ ที่มาพร้อมกับแขกรับเชิญคนพิเศษ คุณเต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับมากฝีมือ ที่จะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเข้มข้นและใกล้ชิด

วันที่: วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562
เวลา: 10.00 น. – 18.30 น.
สถานที่: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ราคา: 8,500 บาทต่อท่าน รับจำนวนจำกัดเพียง 60 ท่าน


สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ
1. ทำความเข้าใจรายละเอียดของงานสารคดี และศึกษาการเล่าเรื่องด้วยสื่อวิดีโอให้สนุก มีคุณภาพ และมีประโยชน์ต่อผู้ชม
2. องค์ประกอบต่างๆของการทำสารคดี
3. วิธีการเขียนบท และการทำ Content
4. วิธีการทำข้อมูล และขั้นตอนของการทำงานสารคดี
5. วิธีการเล่าเรื่องในแบบต่างๆ
6. การทำประเด็นการสัมภาษณ์ การตัดต่อบทสัมภาษณ์
7. อุปกรณ์ถ่ายทำพื้นฐาน และวิธีการใช้งานเบื้องต้น
8. การใช้ภาพเล่าเรื่อง และวิธีการถ่ายภาพเพื่อทำงานวิดีโอแบบมืออาชีพ
9. การทำ Content ให้สนุกและน่าติดตาม
10. Workshop ทำสารคดีสั้นตั้งแต่ทำข้อมูล ถ่ายทำ และตัดต่อร่วมกับคุณวรรณสิงห์และนักเรียนในห้องเรียน
11. การใช้งานวิดีโอสร้างผลกระทบทางสังคมผ่านสื่อออนไลน์

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในโลกใบนี้ และช่วยเหลือครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงครามทั่วโลกไปพร้อมกับคุณวรรณสิงห์และ UNHCR สมัครเรียนตอนนี้ที่ https://www.unhcr.or.th/workshop

*รายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย มอบให้ UNHCR เพื่อช่วยเหลือและมอบความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยสงครามทั่วโลก

ดูรายละเอียดและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Workshop เพิ่มเติมได้ที่ FB: UNHCR Thailand

ติดตามข่าวสารการทำงานของ UNHCR เพื่อผู้ลี้ภัยทั่วโลกทาง Facebook Instagram Twitter และ Line นะคะ

---

เกี่ยวกับ UNHCR และแคมเปญ Namjai for Refugees
UNHCR เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ ทำงานอยู่ใน 128 ประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม มอบความคุ้มครอง ที่พักพิงที่ปลอดภัยและหาทางออกที่ยั่งยืนแก่เด็กๆ และครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงครามทั่วโลก โดยได้รับ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพถึง 2 ครั้ง

สำหรับแคมเปญ Namjai for Refugees มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR คือแคมเปญระดมทุนช่วยเหลือเด็กๆและครอบครัวผู้ลี้ภัยในประเทศไทยและทั่วโลก ริเริ่มโดยคุณสหรัถ สังคปรีชา ร่วมด้วยศิลปินและผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR เช่น คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล และ อาหนิง นิรุตติ์ ศิริจรรยา เป็นต้น

 

UNHCR เรียกร้องให้มีการคุ้มครองประชาชนชาวเยเมน

 

UNHCR เรียกร้องให้มีการคุ้มครองประชาชนชาวเยเมน

 

UNHCR เรียกร้องให้มีการคุ้มครองประชาชนชาวเยเมน

ผู้พลัดถิ่นในประเทศชาวเยเมนยืนอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังในเมืองเก่า  กุมภาพันธ์ 2017 © UNHCR/Mohammed Hamoud
ผู้พลัดถิ่นในประเทศชาวเยเมนยืนอยู่ท่ามกลางซากปรักหัก

 

จากรายงานของ UNHCR-led Protection Cluster ในประเทศเยเมน ระบุว่าในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีประชาชนเกือบ 1,500 คน ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเท่ากับประชาชนจำนวน 123 คน  ต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย  

แต่ละวันที่ผ่านไปในความขัดแย้ง ชาวเยเมนสูญเสีย เหนื่อยล้าและอยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน ด้วยเหตุนี้ UNHCR เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งในประเทศเยเมน เพิ่มมาตรการการคุ้มครองประชาชนและระบบสาธารณูปโภค  

จากข้อมูลล่าสุดของรายงาน Civilian Impact Monitoring Report (CIMP) มีการคาดการณ์ว่า ในรอบ 3 เดือน มีเหตุการณ์การต่อสู้มากถึง 670 เหตุการณ์ ส่งผลให้ประชาชนราว 1,478 คน เสียชีวิต โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 33 เป็นเด็กและผู้หญิง โดย 217 คน ถูกทำร้ายเสียชีวิต ขณะที่ 268 คน ได้รับบาดเจ็บ

บ้านเรือนและโรงพยาบาลยังคงเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุความรุนแรง ร้อยละ 23 ของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด (หรือจำนวน 336 คน) ในช่วงนี้ได้รับรายงานว่าเหตุเกิดที่บ้านของตนเอง   

การโจมตีสถานพยาบาลและหน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บสูงถึง 154 คน ขณะที่การโจมตีบนรถโดยสารและยานพาหนะทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ 316 คน   

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ยังส่งผลให้เกิดการปะทะในพื้นที่การต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมถึงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่ 

Sa’ada และ Al Hudaydah เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพื้นที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ความรุนแรง โดยเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบมากถึง 26 ครั้ง ซึ่งในจำนวนนี้ มากกว่า10 เหตุการณ์ หรือมากกว่าครึ่งของเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหมด มีประชาชนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ   

ความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 4 ปี ในประเทศเยเมน ทำให้เยเมนเป็นวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมที่รุนแรงที่สุดในโลก ร้อยละ 75 ของประชากรทั้งหมด หรือราว 22 ล้านคน ต้องการความช่วยเหลือ ขณะที่มากกว่า 2.3 ล้านคน ต้องหนีออกจากบ้านและพลัดถิ่น

จากข้อมูลของสหประชาชาติ มีการประมาณว่าชาวเยเมนมากกว่า 65,000 คน  ถูกทำร้ายเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากความขัดแย้ง

UNHCR ให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นชาวเยเมนด้วยการมอบการช่วยเหลือด้านการเงินฉุกเฉินและการช่วยเหลือในด้านอื่นๆ โดยตั้งแต่ต้นปี UNHCR ให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งชาวเยเมนมากกว่า 250,000 คน

UNHCR เน้นย้ำว่าสันติภาพเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะยุติความทุกข์ทรมานและส่งต่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวเยเมนได้ 

อ่านรายงานจาก CIMP เพิ่มเติมได้ที่https://reliefweb.int/report/yemen/civilian-impact-monitoring-report-august-october-2018

บริจาคมอบความคุ้มครองและช่วยชีวิตตอนนี้ที่ https://goo.gl/8vFph4

 

UNHCR ถวายตำแหน่งผู้อุปถัมภ์เป็นครั้งแรกในโลก แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) และเจ้าหญิงซาร่า ซิด

 

UNHCR ถวายตำแหน่งผู้อุปถัมภ์เป็นครั้งแรกในโลก แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) และเจ้าหญิงซาร่า ซิด

 

UNHCR ถวายตำแหน่งผู้อุปถัมภ์เป็นครั้งแรกในโลก แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) และเจ้าหญิงซาร่า ซิด

 


สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้จัดพิธีถวายตำแหน่งผู้อุปถัมภ์ UNHCR (UNHCR Patron) แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) พระนักคิด นักเขียน และนักพัฒนาสังคมที่ได้รับความนับถือจากประชาชนเป็นอย่างสูงจากประเทศไทย และ แก่ เจ้าหญิงซาร่า ซิด จากประเทศจอร์แดน โดยนับเป็นครั้งแรกของโลกที่ UNHCR แต่งตั้งตำแหน่งผู้อุปถัมภ์ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ และเชิดชูความทุ่มเทในการสร้างการรับรู้ และความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตของผู้ลี้ภัยทั่วโลก

ตำแหน่ง “ผู้อุปถัมภ์” เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติยศในระดับโลก โดยมอบให้แก่ผู้อุทิศตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ลี้ภัยและส่งเสริมการทำงานของ UNHCR  รวมทั้งเผยแพร่ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยต่อสังคม ส่งผลให้บุคคลทั่วไปเข้าใจถึงสถานการณ์นี้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่การสนับสนุนจากทุกภาคส่วน

นางเคลลี่ เคลเม้นตส์ รองข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้มอบประกาศนียบัตรแด่ผู้อุปถัมภ์ทั้งสองในพิธีอย่างเป็นทางการ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

ด้วยความเมตตาจากท่าน ว.วชิรเมธี ที่มีให้ UNHCR ผ่านการสนับสนุนแคมเปญ “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างนอก” (Nobody Left Outside) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และระดมทุน แก่ผู้ลี้ภัยที่ขาดแคลนที่พักอาศัยจำนวน 2 ล้านคนทั่วโลก อาทิ จอร์แดน เลบานอน รวันดา และชาด ท่าน ว.วชิรเมธี ในฐานะผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพ และเมตตาธรรม ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างผู้ลี้ภัย และชุมชนนานาชาติ

 “ไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร แต่เนื้อในเราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ความสุข ความทุกข์ ของเราล้วนขึ้นต่อกันและกัน เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างแยกไม่ออก เราทุกคนในฐานะที่เป็นสมาชิกของครอบครัวโลกใบนี้ต่างก็มีหน้าที่ที่จะทำให้โลกของเราเป็นโลกที่น่าอยู่ ร่มเย็น เป็นสุข และมีสันติภาพที่ยั่งยืน ความรัก ความเมตตาการุณย์ หรือความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน คือจุดเริ่มต้นของสันติภาพโลก” ท่านว.วชิรเมธี กล่าว

ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิวิมุตตยาลัยเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพโลกผ่านการทำงานด้านการศึกษา และมนุษยธรรม บนพื้นฐานของวิธีคิดที่ว่า “โลกทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน” โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหลักคำสอนของทุกศาสนาต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างสูงในประเทศไทย และ ทั่วภูมิภาคเอเชีย นอกจากการสนับสนุนงานเพื่อมนุษยธรรมของ UNHCR แล้วท่านยังอุทิศตนทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านการเทศน์ การสอน การจัดหลักสูตรสมาธิภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ท่านมีผลงานธรรมนิพนธ์ในภาษาไทยและแปลสู่ภาษาอื่นๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ภาษา

เจ้าหญิง ซาร่า ซิด ได้รับการถวายตำแหน่งผู้อุปถัมภ์ ด้านการส่งเสริมสุขภาพของแม่และทารกแรกเกิด ด้วยความทุ่มเทในการทำงานเพื่ออุทิศตนในการให้ความช่วยเหลือแม่และเด็กที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคและเสียชีวิต ผลงานชิ้นสำคัญของท่านคือการสร้างความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยระหว่าง UNHCR และ มุลนิธิ บิลล์ และเมลินดา เกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation)

 ท่านยังให้เกียรติในการดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการให้คำปรึกษาต่อข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันนั่นคือ คุณกรันดี และยังดำรงหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพของแม่และทารกแรกเกิด ตั้งแต่ปีพ.ศ.2559 เจ้าหญิง ซาร่า ได้เสด็จไปเยือนค่ายผู้ลี้ภัยในซูดานใต้ รวันดา จอร์แดน และค่ายผู้ลี้ภัยในถิ่นทุรกันดารอีกหลายแห่งเพื่อทำการตรวจสอบดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ของแม่และเด็กแรกเกิดในค่ายผู้ลี้ภัย และร่วมยับยั้งปัญหาความรุนแรงทางเพศ

“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำงานกับ UNHCR โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ผู้หญิงที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และ กลุ่มคนเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้

นางเคลลี่ เคลเม้นตส์ รองข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวขอบคุณผู้อุปถัมภ์ทั้งสองสำหรับการอุทิศตนในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยให้มีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี ว่า

 “ความทุ่มเทจากบุคคลที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ช่วยสร้างความเมตตา และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย”เธอกล่าว “ผู้อุปถัมภ์ทั้งสองท่านได้อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และเรารู้สึกเป็นเกียรติและซาบซึ้งเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อผู้ลี้ภัย”

ในปัจจุบัน จำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลกมีจำนวนสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งเด็ก ผู้ชาย และผู้หญิงที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นเนื่องจากสงคราม ความรุนแรง และการประหัตประหาร หากไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ หรือส่งเสริมการรับรู้ที่ถูกต้อง ผู้คนหลายล้านคนจะมีชีวิตที่ตกอยู่ในความยากลำบาก โดยไม่ได้รับการคุ้มครอง และที่พักพิงที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ

ความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อ UNHCR ในปี พ.ศ.2560 UNHCR ได้รับงบประมาณจากภาคเอกชนกว่าร้อยละ 10 ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือบริษัทได้เพื่อการสนับสนุนทางด้านเงินทุน ความรู้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทในการผลักดันนโยบาย และสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อความคิดเห็นของสาธารณชน

 

หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UNHCR หรือ สนใจใช้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดูที่ www.unhcr.or.th

ติดต่อ

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

คุณสุษมา กิติยากร ณ อยุธยา

อีเมล kitiyaka@unhcr.org

โทรศัพท์ 02 288 1016

 

UNHCR จัดเทศกาลหนังผู้ลี้ภัยครั้งที่ 8 มุ่งสะท้อนภาพความหลากหลายของผู้ลี้ภัย

 

UNHCR จัดเทศกาลหนังผู้ลี้ภัยครั้งที่ 8 มุ่งสะท้อนภาพความหลากหลายของผู้ลี้ภัย

 

UNHCR เปิดเทศกาลภาพยนตร์ ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 8…เข้าชมฟรี

23-25 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์

 


สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR จัด “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 8” เปิดให้เข้าชมฟรีระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ นำเสนอภาพยนตร์และสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของผู้ลี้ภัยซึ่งได้รับรางวัลและคำยกย่องจากทั่วโลก โดยปีนี้คัดสรรภาพยนตร์ที่เผยอัตลักษณ์และประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้ลี้ภัยจากทุกมุมโลก

 

เข้าชมฟรี ลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/2ARa5sD
ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: UNHCR Thailand

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง Sonita (ความยาว 91 นาที)
ผู้กำกับ: Rokhsareh Ghaemmaghami
รางวัล: Winner of the Grand Jury Prize at the 2016 Sundance Film Awards
เรื่องย่อ: ภาพยนตร์สารคดีที่กวาด 19 รางวัลทั่วโลก Sonita คือผู้ลี้ภัยหญิงชาวอัฟกันที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อยุติการแต่งงานในเด็ก และเดินตามความฝันในฐานะนักร้องเพลงแร๊ปผู้หญิง

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง 4.1 Miles (ความยาว 26 นาที)

ผู้กำกับ: Daphne Matziaraki
รางวัล: Nominated for 2017 Oscar Awards for Best Short Documentary
เรื่องย่อ: สารคดีสั้นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2016 ติดตามชีวิตของหัวหน้าหน่วยรักษาชายฝั่งชาวกรีกที่พบเรือลำเลียงผู้ลี้ภัยอยู่กลางทะเลอีเจียน เและพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยหลายพันคนจากการจมน้ำตาย

 

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง Mr. Gay Syria (ความยาว 87 นาที)

ผู้กำกับ: Ayse Toprak
รางวัล: Winner of the Chicago International Film Festival 2017 'Best Documentary'
เรื่องย่อ: ภาพยนตร์สารคดีสะท้อนชีวิตผู้ลี้ภัยชายรักชายชาวซีเรียที่มีความฝันที่จะเข้าประกวดเวที Mr. Gay World ความฝันของพวกเขาจะเป็นจริงได้หรือไม่ หรือสิ่งที่วาดไว้จะถูกเหยียบย่ำไปในไฟสงครามและกรอบประเพณีมุสลิมที่เคร่งครัด

 

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง Every Face Has a Name (ความยาว 73 นาที)

ผู้กำกับ: Magnus Gertten
รางวัล: Winner of the Göteborg Film Festival 2015
เรื่องย่อ: 70 ปีหลังจากที่ผู้รอดชีวิตจากการประหัตประหารในเยอรมนีได้เดินทางถึงท่าเรือเมืองมัลเมอ ประเทศสวีเดนสำเร็จ พวกเขาได้เห็นภาพตัวเองในวันสำคัญนั้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับหลากหลายอารมณ์ที่พาย้อนกลับไปในอดีต กลับไปรำลึกก้าวแรกแห่งอิสรภาพของพวกเขา

 

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง The Invisible City: Kakuma (ความยาว 74 นาที)

ผู้กำกับ: Lieve Corthouts
รางวัล: Winner of the 2017 Impact Doc Award of Excellence for 'Best Documentary Feature'
เรื่องย่อ: ผู้สร้างภาพยนตร์ Lieven Corthouts ได้เข้าไปใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยคาคูมา ประเทศเคนยา เธอถ่ายทอดเรื่องราวความเข้มแข็ง และพลังในการดำเนินชีวิตของผู้ลี้ภัยในค่ายซึ่งส่วนมากเป็นเด็กๆ ที่มาเพื่อลี้ภัยสงครามและการเมือง

 

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง 69 minutes of 86 Days (ความยาว 70 นาที)
 

ผู้กำกับ: Egil Haaskjold Larsen
รางวัล: Winner of the Nordic International Film Festival 2017 'Best Documentary Feature' Award
เรื่องย่อ: เรื่องราวการเดินทางของลีน เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆวัย 3 ขวบ ระหว่างลี้ภัยจากกรีซไปยังสวีเดนพร้อมครอบครัว ทุกย่างก้าวของเธอก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความความหวังเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่คนอื่นๆ

 

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง The Unforgotten (ความยาว 23 นาที)

ผู้กำกับ: Paul Wu
เรื่องย่อ: ภาพยนตร์สารคดีสั้นโดย UNHCR ซึ่ง “The Unforgotten” ได้ทูตสันถวไมตรีและนักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีช็อง อู-ซ็องมาเป็นผู้ดำเนินเรื่อง และพาผู้ชมไปทำความรู้จักกับน้องโฮด้า ผู้พลัดถิ่นที่พิการทางสมอง และครอบครัว

 

ลงทะเบียนตอนนี้ที่ https://bit.ly/2ARa5sD

ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: Refugee Film Festival 2018

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR เรียกร้องความช่วยเหลือต่อสถานการณ์ในประเทศเยเมน

 

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR เรียกร้องความช่วยเหลือต่อสถานการณ์ในประเทศเยเมน

 

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR เรียกร้องความช่วยต่อสถานการณ์ในประเทศเยเมน

 

 

"เยเมนอยู่ในภาวะขาดแคลนและอดอยากซึ่งล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และกำลังเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอหิวาต์ที่เลวร้ายที่สุดในโลกในรอบหลายทศวรรษ"

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR ปฏิบัติภารกิจในประเทศเกาหลีใต้ เรียกร้องทั่วโลกให้มีการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเยเมนที่กำลังสิ้นหวังอย่างเร่งด่วน

ประเทศเกาหลีใต้ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเยเมนประมาณ 500 คนที่ต้องหนีความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของเธอได้ที่นี่: https://trib.al/G4lwXNu

ข้อมูลเพิ่มเติม

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR ปฏิบัติภารกิจในประเทศเกาหลีใต้เพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือที่จำเป็นอย่างมากแก่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก การไปเยือนกรุงโซลของเธอเกิดขึ้นหลังจากการลงพื้นที่ของคุณฟิลิปโป กรันดี ท่านข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 23-24 ตุลาคมที่ผ่านมา

โจลีได้ประชุมร่วมกับ คุณ Park Sang-ki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศ โจลีแสดงความชื่นชมต่อความพยายามของเกาหลีใต้ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเยเมนกว่า 500 เยเมนซึ่งเดินทางมาถึงเกาะเชจูในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โจลีได้รับทราบถึงความสำคัญของกระบวนการและการทำงานอย่างละเอียด รวมทั้งความพยายามที่จะให้การคุ้มครองพวกเขาจนกว่าจะถึงเวลาที่พวกเขาสามารถกลับประเทศได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้เธอยังได้กล่าวว่า UNHCR ยินดีที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้ในเรื่องการพัฒนาระบบการลงทะเบียนการขอลี้ภัยของประเทศเกาหลีใต้

นอกจากนี้ แอนเจลิน่า โจลียังเป็นตัวแทน UNHCR ขอขอบคุณชาวเกาหลีใต้ในการให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัยทั่วโลก

 

 

แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR พูดคุยกับ Jung Woo-sung ทูตสันถวไมตรี UNHCR ประเทศเกาหลีใต้ © UNHCR/Jae Yoon Kim
แองเจลิน่า โจลี ผู้แทนพิเศษฯ UNHCR พูดคุยกับ Jung Woo-sung ทูตสันถวไมตรี UNHCR ประเทศเกาหลีใต้ © UNHCR/Jae Yoon Kim

‘ปู ไปรยา’ กับบทบาทการทำงานด้านผู้ลี้ภัยตลอดชีวิต โดย The Standard

 

‘ปู ไปรยา’ กับบทบาทการทำงานด้านผู้ลี้ภัยตลอดชีวิต โดย The Standard

 

‘ปู ไปรยา’ กับบทบาทการทำงานด้านผู้ลี้ภัยตลอดชีวิต 

 

 

 

UNHCR และก้อง สหรัถ เดินหน้าระดมทุนช่วยเหลือวิกฤติผู้ลี้ภัยทั่วโลก ผ่านแคมเปญ “NAMJAI FOR REFUGEES มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR” ปีที่ 3

 

UNHCR และก้อง สหรัถ เดินหน้าระดมทุนช่วยเหลือวิกฤติผู้ลี้ภัยทั่วโลก ผ่านแคมเปญ “NAMJAI FOR REFUGEES มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR” ปีที่ 3

 

UNHCR และก้อง สหรัถ เดินหน้าระดมทุนช่วยเหลือวิกฤติผู้ลี้ภัยทั่วโลก

ผ่านแคมเปญ “NAMJAI FOR REFUGEES มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR” ปีที่ 3

 

NIRUT TALK FOR UNHCR ครั้งแรกกับทอล์คโชว์ ของ นิรุตติ์ ศิริจรรยา เผยมุมมองด้านมนุษยธรรม ระดมทุนช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทั่วโลก

 

NIRUT TALK FOR UNHCR ครั้งแรกกับทอล์คโชว์ ของ นิรุตติ์ ศิริจรรยา เผยมุมมองด้านมนุษยธรรม ระดมทุนช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทั่วโลก

 

NIRUT TALK FOR UNHCR ครั้งแรกกับทอล์คโชว์ ของ นิรุตติ์ ศิริจรรยา เผยมุมมองด้านมนุษยธรรม ระดมทุนช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทั่วโลก

“การสูญเสียอะไร ไม่เท่ากับการสูญเสียที่อยู่ สูญเสียบ้าน และครอบครัว ซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจอันสำคัญ”  วลีเด็ดจากหนุ่มใหญ่ใจบุญ อาหนิง - นิรุตติ์ ศิริจรรยา ที่เคยกล่าวไว้ในกิจกรรมช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ภายใต้แคมเปญ NAMJAI FOR REFUGEES  มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR ปีที่ผ่านมา

ศัลยแพทย์ชาวซูดานใต้ได้รับรางวัลนานเซ็นประจำปี พ.ศ.2561

 

ศัลยแพทย์ชาวซูดานใต้ได้รับรางวัลนานเซ็นประจำปี พ.ศ.2561

 

อีวาน อทาร์ อดาฮา ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากการอุทิศตนเพื่อมอบการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัยเป็นเวลากว่า 20 ปี

อีวาน อทาร์ อดาฮา ศัลยแพทย์และหัวหน้าแพทย์ในโรงพยาบาลทางตะวันออกเฉียงเหนือของซูดานใต้ เป็นผู้ชนะเลิศได้รับรางวัลนานเซ็นประจำปี พ.ศ.2561 โดยมีการประกาศผลรางวัลจาก UNHCR เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รางวัลนานเซ็นถูกมอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่การอุทิศตนทำงานเพื่อมอบการรักษาพยาบาลแก่ผู้คนมากกว่า 200,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ลี้ภัยจากรัฐบลูไนล์ ประเทศซูดานถึง 144,000 คน

ทีมงานของคุณหมอให้การผ่าตัดแก่ผู้ป่วยถึง 58 เคสต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ภายในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือและทรัพยากรที่จำกัดเครื่องเอกซเรย์เพียงเครื่องเดียวของโรงพยาบาลไม่สามารถใช้งานได้ ห้องผ่าตัดเพียงห้องเดียวที่พวกเขามีได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟเพียงดวงเดียวและไฟฟ้าที่พวกเขาใช้มาจากเครื่องปั่นไฟที่พังอยู่บ่อยๆ

เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวทางตอนเหนือของรัฐไนล์ ทำให้มีผู้ป่วยแน่นขนัดตลอดเวลา ทางโรงพยาบาลต้องขยายห้องพักผู้ป่วยไปยังพื้นที่เปิดนอกโรงพยาบาล

ประเทศซูดานใต้ ประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก  ได้รับอิสรภาพจากประเทศซูดานในปี พ.ศ. 2554 หลังจากการลงประชามติอย่างสันติ ปัจจุบันสงครามกลางเมืองที่ดำเนินมากว่า 5 ปี ทำให้ซูดานใต้เป็นประเทศที่เกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยที่รุนแรงที่สุดของทวีปแอฟริกา จากจำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นหรือลี้ภัยและยังเป็นวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 ชองโลก

“นับแสนคนได้รับการช่วยชีวิต”

“คุณหมออทาร์ อุทิศตนทำงานเป็นเวลาหลายสิบปีในความขัดแย้งและสงครามกลางเมือง เป็นตัวอย่างของการเสียสละและการทำงานเพื่อมนุษยธรรมอย่างแท้จริง” นายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ฯ UNHCR กล่าว  

“ด้วยความพยายามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ผู้คนหลายแสนคนได้รับการช่วยชีวิต เด็กๆ ผู้หญิงและผู้ชายจำนวนนับไม่ถ้วนได้รับโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่และอนาคตที่ดีขึ้น” คุณหมออทาร์ จะปรากฎตัวที่งานแถลงข่าวในเมืองไนโรบี ประเทศเคนยา

ในฐานะผู้ชนะเลิศประจำปี พ.ศ.2561 แขกผู้มีเกียรติในงานประกอบไปด้วย Johann Siffointe ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ฯ UNHCR ประจำประเทศซูดานใต้และ Arnauld Akodjenou ผู้ประสานงานผู้ลี้ภัยประจำภูมิภาค ของ UNHCR ประเทศซูดานใต้ และผู้แทนจากรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศนอร์เวย์

ในปีนี้ UNHCR ได้มีการประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายจากแต่ละภูมิภาค บุคคลและองค์กรที่เข้ารอบสุดท้ายจากจำนวนผู้ถูกเสนอชื่อกว่า 450 คน และเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น

ผู้เข้ารอบจากแต่ละภูมิภาคได้แก่

  • อเมริกา - ซามิรา ฮาร์นิช ผู้ก่อตั้ง ‘Women of the World’ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเมืองซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ ที่ช่วยส่งเสริมโอกาสและทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้ลี้ภัยหญิงที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกากว่า 1,000 คน
  • ยุโรป - นายกเทศมนตรี อันเดรอัส ฮอลชไตน์ และกลุ่มอาสาสมัครจากเมืองอัลเทน่า ประเทศเยอรมนี ซึ่งได้รับผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยจำนวน 450 คน อนุญาตให้อาศัยและเริ่มต้นชีวิตใหม่ในเมืองขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 17,000 คน
  • เอเชียแปซิฟิก – คุณเตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ซึ่งทุ่มเทเวลากว่า 40 ปีในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวเขาในประเทศไทยและเพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
  • ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ – ‘Reclaim Childhood’ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) จากประเทศจอร์แดนที่ใช้กีฬาเพื่อสร้างความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่น และการมีส่วนร่วมของชุมชนให้แก่ผู้ลี้ภัยหญิง

คุณหมออทาร์ มีถิ่นฐานเดิมมาจากเมืองโทริท ทางตอนใต้ของซูดานใต้ จบการศึกษาทางการแพทย์ในเมือง คาร์ทูม ประเทศซูดานและภายหลังได้เดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศอียิปต์ ในปี พ.ศ. 2540 สงครามปะทุขึ้นในรัฐบลูไนล์ คุณหมออทาร์ เป็นอาสาสมัครในพื้นที่ สร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในเมือง Kurmuk ตั้งอยู่ท่ามกลางพื้นที่ความขัดแย้งขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ที่โดนโจมตีทางอากาศอยู่เป็นระยะ

ในปี พ.ศ.2554 สถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นบังคับให้คุณหมออทาร์ต้องปิดโรงพยาบาลในประเทศซูดาน เดินทางนับเดือนลี้ภัยไปยังประเทศซูดานใต้พร้อมกับเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเท่าที่สามารถนำไปได้

“เราปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าพวกเขาจะป็นใครก็ตาม”

เมื่อเดินทางมาถึงเมือง Bunj คุณหมออทาร์ สร้างผ่าตัดสถานพยาบาลที่ถูกทิ้งร้าง  นำโต๊ะมาต่อเป็นโต๊ะสำหรับผ่าตัด นับตั้งแต่การก่อตั้ง คุณหมออทาร์ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดหางบประมาณและฝึกฝนให้คนรุ่นใหม่ให้เป็นพยาบาลและหมอตำแย

“เราปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าพวกเขาเจะป็นใครก็ตาม ทั้งผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นในประเทศและชุมชนที่ให้ที่พักพิง” คุณหมออทาร์ กล่าว “ผมรู้สึกมีความสุขเมื่อรู้ว่างานที่ผมทำช่วยผู้คนจากความเจ็บปวดและช่วยชีวิตพวกเขา”

ประเทศซูดานใต้เป็นที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยกว่า 300,000 คน มากกว่าร้อยละ 92 เป็นชาวซูดานจากทางตอนใต้ของเมืองคอร์โดฟานและในภูมิภาคของรัฐบลูไนล์ใกล้กับชายแดนประเทศซูดานใต้

รางวัลนานเซ็นของ UNHCR มอบให้แก่ผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่น

การประกาศรางวัลประจำปี พ.ศ.2561 จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์