Skip to main content

Languages

Statement by the UN Refugee Agency on two-year anniversary of death of Alan Kurdi

 

Statement by the UN Refugee Agency on two-year anniversary of death of Alan Kurdi

illustration of Alan Kurdi by Yante Ismail ©UNHCR/Yante Ismail

 

 

Statement by the UN Refugee Agency on two-year anniversary of death of Alan Kurdi

 

 

Nearly two years after the lifeless body of three-year-old Syrian toddler Alan Kurdi was found on a Turkish beach, UNHCR, the UN Refugee Agency, urges the international community to take robust action to prevent more tragedies.

Although the number of arrivals in Europe has drastically decreased since Alan’s death, people continue to attempt the journey and many have lost their lives in the process. Since 2 September 2015, at least 8,500 refugees and migrants have died or gone missing trying to cross the Mediterranean alone. Many others have died in the desert.

Many of the children trying to reach Europe travel on their own, making the journey even more terrifying and perilous. This was the case for 92 per cent of the 13,700 children who arrived to Italy by sea in the first seven months of 2017.

The urgent need for solutions for these children and others on the move remains – if people see no hope and live in fear, then they will continue to gamble their lives making desperate journeys.

UNHCR is encouraged by the commitments made at the Paris meeting on migration and asylum on Monday that address some of these issues, but much more needs to be done to protect and save lives.

Political leaders need to work together to develop safer alternatives, to better inform those considering making the journey of the dangers they face, and most importantly to tackle the root causes of these movements, by resolving conflicts and creating real opportunities in countries of origin.

UNHCR urges open borders for people fleeing violence in Myanmar’s Rakhine State

 

UNHCR urges open borders for people fleeing violence in Myanmar’s Rakhine State

 

UNHCR urges open borders for people fleeing violence in Myanmar’s Rakhine State

 

 

In light of the dramatic worsening since Friday of the situation in Myanmar’s Rakhine state, UNHCR, the UN Refugee Agency, has today communicated to the Government of Bangladesh its readiness to support Bangladesh in helping refugees fleeing across the border.

As of Sunday it was estimated that some 5,200 people had entered Bangladesh from Myanmar since Thursday. Several thousand were reported to be in locations along the Myanmar side of the border. UNHCR underscores the UN Secretary-General’s statement of Monday in which he condemned the violence in Rakhine State.

On the Bangladesh side of the border some people are in cordoned off areas near the border, and others are mainly in the Kutupalong area. Most are women, children, or the elderly, and there have been reports of wounded people among them. 

 

                  Rohingya refugees live in overcrowded makeshift sites in Cox’s Bazar, Bangladesh, after fleeing across the border to escape the October 2016 violence in Myanmar.  © UNHCR/Saiful Huq Omi

 

Aid efforts involving the Bangladeshi authorities, local communities, UNHCR partners and NGOs have been under way, including to get food, water, and medical help to the new arrivals. UNHCR is grateful to the Bangladeshi authorities for the support being provided. Rapid needs assessments are being planned, however with the precarious situation inside Myanmar we are concerned that numbers of people needing help may rise further over the coming days.

UNHCR is aware of several reported instances of people being prevented from entering Bangladesh. This poses very grave risk to the individuals affected. Bangladesh has hosted refugees from Myanmar for decades, and UNHCR believes it is of the utmost importance that it continue to allow Rohingya fleeing violence to seek safety there. UNHCR also calls on the international community to support Bangladesh in doing so, with all necessary aid and other help.

In Myanmar’s Rakhine State meanwhile, the security situation means that access to populations in need of help is severely restricted. We are appealing to the Myanmar authorities to do everything possible to facilitate humanitarian help and ensure the safety of our staff.

 

UNHCR’s Goodwill Ambassador, met with Thailand’s Prime Minister

 

UNHCR’s Goodwill Ambassador, met with Thailand’s Prime Minister

Praya Lundberg, UNHCR’s Goodwill Ambassador, met with Thailand’s Prime Minister General Prayuth Chan-ocha at the Government House of Thailand.

 

 

 

BANGKOK – Praya Lundberg, UNHCR’s Goodwill Ambassador, met with Thailand’s Prime Minister General Prayuth Chan-ocha at the Government House of Thailand. This meeting is the first of its kind since Praya’s appointment as Goodwill Ambassador in January 2017. During the meeting, Praya expressed her gratitude to the Royal Thai Government for generously hosting refugees for over three decades.       

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

  • ©Thaigov.go.th

South Sudanese refugees in Uganda now exceed 1 million

 

South Sudanese refugees in Uganda now exceed 1 million

One million South Sudanese refugees have sought safety in Uganda since last July. Over 85 per cent are women and children.

 

 

One million South Sudanese refugees have sought safety in Uganda since last July.

Over 85 per cent are women and children.

 
 
 
 
Under a sunny sky, 14-year-old Tabu Sunday is clearing weeds from a small garden, in the Imvepi refugee settlement in northern Uganda.
  • Tabu (left) relaxes with her twin sister, Rena, in their shelter. © UNHCR/Peter Caton

  • Tabu collects her family’s food allowance with her foster mother (centre) and twin sister (right). © UNHCR/Peter Caton

  • Tabu (right) makes a rock garden with her twin sister outside their shelter. © UNHCR/Peter Caton

  • Tabu eats dinner with her foster family. © UNHCR/Peter Caton

  • At a purpose-built UNHCR school, Tabu (right) and her twin sister Rena enjoy attending classes, though Tabu says it is overcrowded and she lacks school books. © UNHCR/Peter Caton

Refugee team competes in World Athletics Championships

 

Refugee team competes in World Athletics Championships

Five athletes heading from Kenya to the IAAF championships in London will be the first refugees to take part in the competition.

 

NAIROBI, Kenya – Five refugee athletes are heading to London from Kenya to compete in the World Athletics Championships opening this week, the first time in the competition’s 34-year history that refugees will be taking part.

  • Middle distance runners Anjelina Lohalith (left) and Rose Lokonyen, members of the Refugee Athletes Team, take part in a training session in Nairobi for the London World Athletics Championships. © UNHCR/Tobin Jones

  • Members of the Refugee Athletes Team take a break after a training session with the Kenyan national team at the Moi International Sports Centre in Nairobi. © UNHCR/Tobin Jones

More urgency needed in quest for South Sudan peace – UN Refugee Chief

 

More urgency needed in quest for South Sudan peace – UN Refugee Chief

During a visit to Sudan, Filippo Grandi calls on warring parties, regional states and the international community to do more to end the conflict which has uprooted nearly four million people.

 

United Nations High Commissioner for Refugees Filippo Grandi visits refugees from South Sudan at Al Nami East Darfur, Sudan.  © UNHCR/Petterik Wiggers

 

 

“The victims of this failure, so far, are     the civilians.The civilians that we see around here.”

“The victims of this failure, so far, are the civilians. The civilians that we see around here. People that have left everything behind. Often women and children, without their men, to embark on an uncertain life because they are too afraid to stay back home in their villages which are affected by war,” Grandi said.

During his visit to Sudan, the UN Refugee Chief also highlighted the country’s key role in hosting hundreds of thousands of South Sudanese refugees. Al-Nimir camp hosts more than 5,000 refugees - over 90 per cent of them women and children. 

“I want to say to the world that Sudan is keeping its doors open at a time when so many countries are closing doors,” Grandi said,

The High Commissioner also appealed for more help for Sudan. “Often, we forget that Sudan continues to be a very key host country not just for South Sudanese but for Eritreans, Syrians and many other refugees,” he said.

 

Grandi praised the model of cooperation and coexistence between refugees and the local communities in Sudan.

“Throughout the world, we are experimenting with new ways to promote livelihoods, to promote new sources of energy and other forms of sustainable development for refugees and for the communities hosting them. I think that Sudan qualifies very much for this model of development.”

During his visit to the camp, Grandi met Sadia Mohammed Wali, a 42 year-old refugee mother. Sadia fled South Sudan with her seven children when fighting erupted in her home town back in June this year.

“We came with our children and we had nothing to feed them.” 

“We were very scared,” she said giving details of her month-long trip to reach safety in Sudan. “The journey was so difficult for us, because we came with our children and we had nothing to feed them. We were moving in huge groups,” she said. “Those who carried some small foods would share and we gave them to the children.”

She expressed her desire for her children to get a good education and get some help herself to support her small business, selling roasted peanuts, dumplings and sweets.

Sudan hosts some 416,000 refugees from South Sudan since 2013 - including some 170,000 new arrivals so far this year. South Sudan became the world’s youngest country when it gained independence from Sudan in 2011. Hundreds of thousands of other refugees – who stayed in Sudan following the partition are also in need of humanitarian assistance.

On Wednesday, the UN Refugee Chief concluded his visit by meeting with Sudan’s leaders and authorities in Khartoum.

 

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees

จัดประมูลเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ออนไลน์เพื่อผู้ลี้ภัย

 

 

คุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม กับภารกิจระดมทุนในแคมเปญ Namjai for Refugees ประมูลเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ออนไลน์เพื่อผู้ลี้ภัย ผ่านทาง Facebook Live UNHCR Thailand

 

 

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

  • © UNHCR/UNHCR Thailand

 

เริ่มต้นเดือนสิงหาคม ด้วยภารกิจระดมทุนปันน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยโดยคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม ที่ได้รับไม้ต่อภารกิจปันน้ำใจมาจากคุณโอปอล์ ปาณิสราและคุณหมอโอ๊ค สมิทธ์ อารยะสกุล ค่ะ

ภารกิจในครั้งนี้พิเศษมากๆ ค่ะ เพราะนอกจากจะมีคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม เป็นผู้ทำภารกิจแล้ว แขกรับเชิญพิเศษของภารกิจเพื่อผู้ลี้ภัยครั้งนี้คือ คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงและผู้ริเริ่มแคมเปญระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees ในปีนี้

โดยคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม ได้นำความสามารถที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน คือความสามารถในการเป็นนักขาย นำเสื้อสุดที่รักของคุณก้อง สหรัถ มาประมูลออนไลน์ถึง 2 ตัว ผ่านทาง Facebook Live ของ UNHCR Thailand บรรยากาศการประมูลเป็นไปด้วยความสนุกสนานและได้มุมมองเกี่ยวกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากทั้งคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม และคุณก้อง สหรัถ อีกด้วย ทั้งนี้เสื้อทั้งสองตัวถูกประมูลโดยแฟนคลับของทั้งสองท่านเรียบร้อยค่ะ

 

ร่วมปันน้ำใจกับคุณเจนนิเฟอร์ คิ้ม และคุณก้อง สหรัถ ได้ที่

www.unhcr.or.th

- SMS พิมพ์ 30 ส่งมาที่ 4642789  (บริจาคครั้งละ 30 บาท)

น้ำใจจากคุณคือชีวิตและความหวังของผู้ลี้ภัย ขอขอบคุณทุกๆ น้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยนะคะ

#Namjaiforrefugees #JenniferKimforUNHCR #KongforUNHCR #UNHCRThailand #เพื่อผู้ลี้ภัย

คุณโอปอล์ ปาณิสรา และคุณหมอโอ๊ค สมิทธิ์ อารยะสกุล กับภารกิจ Namjai for Refugees ในรายการ Opal All Around

 

คุณโอปอล์ ปาณิสรา และคุณหมอโอ๊ค สมิทธิ์ อารยะสกุล กับภารกิจ Namjai for Refugees ในรายการ Opal All Around

 

 

 

  • เมื่อพูดถึง ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะนึกถึงอะไร 

     โอปอล์: พูดตามความเป็นจริงเลยนะคะ ก่อนหน้าที่ทาง UNHCR Thailand จะติดต่อมา หรือก่อนที่จะเริ่มเข้ามาทำความรู้จักกับ UNHCR คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ สำหรับปอล์คือ ‘ไม่เกี่ยวกับเรา’ ไกลตัวมาก เป็นใครมาจากไหนไม่รู้ 

     แต่พอรู้จักกับ UNHCR แล้วได้ดูข้อมูลอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ ศึกษาข้อมูลเรื่องค่ายผู้ลี้ภัยจริงๆ ถึงได้ตระหนักว่าผู้ลี้ภัยก็คือคนเหมือนเรานี่แหละ เขาต้องลี้ภัยจากสงคราม ในขณะที่ประเทศเราสมบูรณ์พูนสุขจนไม่รู้ ไม่ใส่ใจว่าจริงๆ แล้วสงครามมันยังมีอยู่ ยังมีคนที่บ้านแตกสาแหรกขาดจริงๆ ซึ่งพวกเขาเองก็เคยมีชีวิตที่ดี ยกตัวอย่างง่ายๆ กับข่าวสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย ทุกคนเคยมีบ้าน มีครอบครัว มีอาชีพ แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรเลย

     เรื่องพวกนี้มันกินเข้าไปในใจมาก อย่างเราเป็นพ่อแม่ สิ่งที่ทนดูไม่ได้คือภาพผู้ลี้ภัยจากซีเรียที่ต้องข้ามทะเล เห็นศพเด็กเกยฝั่ง… มันหนักไปสำหรับเราที่จะรับได้ พอได้มาทำความรู้จักถึงรู้ว่าเราคือมนุษย์เหมือนกัน มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ และใกล้ตัวเรามากกว่าที่เคยคิด

     หมอโอ๊ค: ที่ผ่านมาผมได้รับรู้ในมุมของข่าวต่างประเทศมากกว่า ที่เรามักจะได้เห็นความขัดแย้ง ความไม่สงบ และสงครามต่างๆ ในภาพข่าวเหล่านั้น เราก็จะไม่เห็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ถามว่าสงสารไหม ก็สงสาร แต่ก็ยังรู้สึกไกลตัว แล้วในภาพข่าว เราไม่ได้นึกว่าปริมาณผู้ได้รับผลกระทบจะมากขนาดเป็นแสนหรือเป็นล้าน แต่พอได้เห็นสถิติจริง โอ้โห ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยอยู่ 65 ล้านคน มันเท่ากับจำนวนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศเลย! เฮ้ย มันเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่เราคิดนะ

     ยิ่งพอเราได้มาเข้ามาร่วมงานก็ยิ่งเกิดความสนใจ เริ่มค้นคว้ามากขึ้น ก็ได้เห็นหลายๆ ภาพ ได้เห็นอะไรหลายมุมอย่างที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ยกตัวอย่าง ในชายแดนประเทศเราเองก็มีค่ายผู้ลี้ภัย แต่ผมก็ไม่ทราบ ที่ผ่านมาเราอาจจะมองไม่เห็น แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เข้าไปในใจเราไงครับ มันไม่ได้มาร์กเข้าไปในหัวสมองว่ามันเป็นปัญหาของประเทศเราด้วยนะ

     วันนี้เลยถือเป็นโอกาสที่ดีในชีวิตที่ทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจโลกนี้เพิ่มมากขึ้นอีกนิด

 

  • พอเข้าใจแล้ว ความรู้สึกกับคำนี้เปลี่ยนไปเลยไหม

     โอปอล์: อย่างที่พี่โอ๊คบอกไปว่าบางทีเราฟังอะไรผ่านๆ แต่มันไม่ได้เข้าหัว ไม่ได้เข้าไปในใจ พอเราได้รู้ข้อมูลเรื่องผู้ลี้ภัย เราคิดกลับกันเลยว่าถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเรา อย่างทุกวันนี้เรามีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น ต่อให้เรากลับดึกแค่ไหนก็ยังได้เจอกัน โมเมนต์สุดท้ายของวันเราอาจจะได้กอดกัน แต่บางคนเขาไม่เหลืออะไรให้กลับไปเลย บางคนพ่อแม่ตายต่อหน้า บางคนถูกพรากลูกไปจากอก เขาต้องเผชิญเรื่องเหล่านี้ทั้งที่เขาไม่ควรต้องเจอ

     เรื่องแบบนี้มันมีอยู่จริง แล้วเขาต้องการให้มีคนสักกลุ่มหนึ่ง ‘เข้าใจ’ ว่าเกิดเรื่องเหล่านี้กับเขาอยู่นะ ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเขา ให้ที่พักพิง ให้เงิน ให้ที่อยู่ ให้การดูแลเยี่ยงมนุษย์ที่พอจะหยิบยื่นให้กันได้

     หมอโอ๊ค: แน่นอนแหละ มันเป็นความฝันที่น่ากลัวที่สุดเนอะ เวลาเราคิดถึงเรื่องอะไรแบบนี้ โดยเฉพาะครอบครัวเราที่มีลูกเล็กๆ เวลาดูข่าวพวกนี้เยอะๆ ผมเคยฝันร้ายนะว่าวันดีคืนดีบ้านของเราระเบิดบึ้มแล้วหายไปเลย คือเราก็คิดมุมกลับอย่างที่โอปอล์พูดจริงๆ ว่า แล้วลูกเราล่ะ… เขาไม่เคยสัมผัสกับเรื่องราวอะไรที่มันทุกข์ร้อนแบบนี้เลย แล้วถ้าเจอแบบนั้น เราจะทำยังไงต่อ

     คนที่ประสบกับเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะในซีเรียหรือประเทศไหนก็ตาม ความจริงเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนอย่างเรานี่แหละ คือเกิดมาเรียนหนังสือ ประกอบสัมมาอาชีพ เป็นหมอ เป็นพิธีกร ที่วันดีคืนดีก็ต้องพลัดพรากจากกันโดยที่เขาก็ไม่ได้ทำผิดอะไร เขาผิดเหรอที่เกิดในประเทศนั้น เขาไม่ได้เป็นคนทำให้สงครามมันเกิดขึ้นด้วยซ้ำ

     ดังนั้นในความเป็นมนุษย์ ถ้ามองข้ามเชื้อชาติ มองข้ามความเป็นประเทศ หรือคิดว่าเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องเรา แล้วเปิดใจกว้างในฐานะเพื่อนมนุษย์ ผมคิดว่าเราต้องช่วยกัน

 
  • เมื่อพูดถึง ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะนึกถึงอะไร 

     โอปอล์: พูดตามความเป็นจริงเลยนะคะ ก่อนหน้าที่ทาง UNHCR Thailand จะติดต่อมา หรือก่อนที่จะเริ่มเข้ามาทำความรู้จักกับ UNHCR คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ สำหรับปอล์คือ ‘ไม่เกี่ยวกับเรา’ ไกลตัวมาก เป็นใครมาจากไหนไม่รู้ 

     แต่พอรู้จักกับ UNHCR แล้วได้ดูข้อมูลอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ ศึกษาข้อมูลเรื่องค่ายผู้ลี้ภัยจริงๆ ถึงได้ตระหนักว่าผู้ลี้ภัยก็คือคนเหมือนเรานี่แหละ เขาต้องลี้ภัยจากสงคราม ในขณะที่ประเทศเราสมบูรณ์พูนสุขจนไม่รู้ ไม่ใส่ใจว่าจริงๆ แล้วสงครามมันยังมีอยู่ ยังมีคนที่บ้านแตกสาแหรกขาดจริงๆ ซึ่งพวกเขาเองก็เคยมีชีวิตที่ดี ยกตัวอย่างง่ายๆ กับข่าวสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย ทุกคนเคยมีบ้าน มีครอบครัว มีอาชีพ แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรเลย

     เรื่องพวกนี้มันกินเข้าไปในใจมาก อย่างเราเป็นพ่อแม่ สิ่งที่ทนดูไม่ได้คือภาพผู้ลี้ภัยจากซีเรียที่ต้องข้ามทะเล เห็นศพเด็กเกยฝั่ง… มันหนักไปสำหรับเราที่จะรับได้ พอได้มาทำความรู้จักถึงรู้ว่าเราคือมนุษย์เหมือนกัน มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ และใกล้ตัวเรามากกว่าที่เคยคิด

     หมอโอ๊ค: ที่ผ่านมาผมได้รับรู้ในมุมของข่าวต่างประเทศมากกว่า ที่เรามักจะได้เห็นความขัดแย้ง ความไม่สงบ และสงครามต่างๆ ในภาพข่าวเหล่านั้น เราก็จะไม่เห็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ถามว่าสงสารไหม ก็สงสาร แต่ก็ยังรู้สึกไกลตัว แล้วในภาพข่าว เราไม่ได้นึกว่าปริมาณผู้ได้รับผลกระทบจะมากขนาดเป็นแสนหรือเป็นล้าน แต่พอได้เห็นสถิติจริง โอ้โห ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยอยู่ 65 ล้านคน มันเท่ากับจำนวนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศเลย! เฮ้ย มันเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่เราคิดนะ

     ยิ่งพอเราได้มาเข้ามาร่วมงานก็ยิ่งเกิดความสนใจ เริ่มค้นคว้ามากขึ้น ก็ได้เห็นหลายๆ ภาพ ได้เห็นอะไรหลายมุมอย่างที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ยกตัวอย่าง ในชายแดนประเทศเราเองก็มีค่ายผู้ลี้ภัย แต่ผมก็ไม่ทราบ ที่ผ่านมาเราอาจจะมองไม่เห็น แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เข้าไปในใจเราไงครับ มันไม่ได้มาร์กเข้าไปในหัวสมองว่ามันเป็นปัญหาของประเทศเราด้วยนะ

     วันนี้เลยถือเป็นโอกาสที่ดีในชีวิตที่ทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจโลกนี้เพิ่มมากขึ้นอีกนิด

 

  • พอเข้าใจแล้ว ความรู้สึกกับคำนี้เปลี่ยนไปเลยไหม

     โอปอล์: อย่างที่พี่โอ๊คบอกไปว่าบางทีเราฟังอะไรผ่านๆ แต่มันไม่ได้เข้าหัว ไม่ได้เข้าไปในใจ พอเราได้รู้ข้อมูลเรื่องผู้ลี้ภัย เราคิดกลับกันเลยว่าถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเรา อย่างทุกวันนี้เรามีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น ต่อให้เรากลับดึกแค่ไหนก็ยังได้เจอกัน โมเมนต์สุดท้ายของวันเราอาจจะได้กอดกัน แต่บางคนเขาไม่เหลืออะไรให้กลับไปเลย บางคนพ่อแม่ตายต่อหน้า บางคนถูกพรากลูกไปจากอก เขาต้องเผชิญเรื่องเหล่านี้ทั้งที่เขาไม่ควรต้องเจอ

     เรื่องแบบนี้มันมีอยู่จริง แล้วเขาต้องการให้มีคนสักกลุ่มหนึ่ง ‘เข้าใจ’ ว่าเกิดเรื่องเหล่านี้กับเขาอยู่นะ ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเขา ให้ที่พักพิง ให้เงิน ให้ที่อยู่ ให้การดูแลเยี่ยงมนุษย์ที่พอจะหยิบยื่นให้กันได้

     หมอโอ๊ค: แน่นอนแหละ มันเป็นความฝันที่น่ากลัวที่สุดเนอะ เวลาเราคิดถึงเรื่องอะไรแบบนี้ โดยเฉพาะครอบครัวเราที่มีลูกเล็กๆ เวลาดูข่าวพวกนี้เยอะๆ ผมเคยฝันร้ายนะว่าวันดีคืนดีบ้านของเราระเบิดบึ้มแล้วหายไปเลย คือเราก็คิดมุมกลับอย่างที่โอปอล์พูดจริงๆ ว่า แล้วลูกเราล่ะ… เขาไม่เคยสัมผัสกับเรื่องราวอะไรที่มันทุกข์ร้อนแบบนี้เลย แล้วถ้าเจอแบบนั้น เราจะทำยังไงต่อ

     คนที่ประสบกับเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะในซีเรียหรือประเทศไหนก็ตาม ความจริงเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนอย่างเรานี่แหละ คือเกิดมาเรียนหนังสือ ประกอบสัมมาอาชีพ เป็นหมอ เป็นพิธีกร ที่วันดีคืนดีก็ต้องพลัดพรากจากกันโดยที่เขาก็ไม่ได้ทำผิดอะไร เขาผิดเหรอที่เกิดในประเทศนั้น เขาไม่ได้เป็นคนทำให้สงครามมันเกิดขึ้นด้วยซ้ำ

     ดังนั้นในความเป็นมนุษย์ ถ้ามองข้ามเชื้อชาติ มองข้ามความเป็นประเทศ หรือคิดว่าเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องเรา แล้วเปิดใจกว้างในฐานะเพื่อนมนุษย์ ผมคิดว่าเราต้องช่วยกัน

 
  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

 

  • ‘ภารกิจ’ ที่หมอโอ๊คและโอปอล์ต้องทำในวันนี้คืออะไร

     โอปอล์: ทาง UNHCR ติดต่อมาว่าอยากให้เราทำภารกิจที่ใช้ความสามารถของตัวเอง ออกมาช่วยเหลือหรือตระหนักรู้ว่าผู้ลี้ภัยเขาก็มีความสามารถเหมือนปุถุชนทั่วไปเหมือนกัน เงินที่เราระดมทุนได้ก็อยากจะนำไปสนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยใช้เพื่อแสดงความสามารถของตัวเอง อย่างน้อยก็ช่วยเพิ่มความหวังให้เขาอยากมีชีวิตอยู่

     เราก็มานั่งคิดว่าความสามารถของเราคืออะไร ปอล์คงไม่สามารถไปเล่นดนตรีเปิดหมวกได้อย่างคุณแสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข แต่สิ่งหนึ่งที่ปอล์คิดว่าครอบครัวเรามีคือการสื่อสารในฐานะ ‘สื่อ’ เรามีช่องทางเพื่อให้คนติดตามอย่างหลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรือรายการที่ทำอยู่ ทำไมเราถึงไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อแสดงความถนัดของเราในฐานะพิธีกรและคนเบื้องหน้า ทำให้คนรู้และเข้าใจ 

     โจทย์ของเราคือทำรายการ Opal All Around เทปนี้เพื่อสื่อสารให้คนรู้ว่า UNHCR คืออะไร เขากำลังทำอะไร เพื่อใคร และในความเป็นมนุษย์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง รายการของปอล์ยาวแค่ 20 นาทีเอง แต่ภายในเวลาเท่านี้ คนดูต้องเข้าใจ ดูจบแล้วต้องเปิดใจ ต้องรู้ว่ามันเกิดขึ้นกับเขาและครอบครัวได้เหมือนกัน ปอล์อยากทำให้คนที่ได้ดูจิตใจอ่อนโยนและเปิดใจให้เรื่องผู้ลี้ภัยมากขึ้น

     หมอโอ๊ค: ผมไม่ได้เป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางด้านสื่อสารมวลชนโดยตรงนะครับ แต่ในฐานะคนที่เป็นสื่อกลาง ได้สัมผัสกับทีมงานที่ได้เป็นสื่อ และในฐานะคนที่เสพสื่อด้วย ผมอยากให้มีอะไรอย่างนี้เยอะๆ โลกนี้มันมีอะไรที่ควรจะบอกกล่าวกันมากกว่าบางเรื่องที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ (หัวเราะ) คือมันไม่ใช่เรื่องบันเทิงด้วยนะ เราเข้าใจมุมบันเทิงมาก ความบันเทิงไม่ใช่เรื่องผิด ความสนุกสนานผ่อนคลายเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว

     แต่กับบางเรื่อง มันเป็นปัญหาที่เล็กน้อยมาก แต่คนเราตีกันจนวุ่นวายไปหมด ในขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งของโลกกำลังหายใจอยู่อย่างหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง

     ผมว่าการที่เรานำเสนออะไรแบบนี้ มันได้ทั้งความเข้าใจ ได้ทั้งจำนวนเงินบริจาคเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ลี้ภัย แต่ผู้ที่ได้รับสารนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ผมอยากให้คนรู้สึกได้แล้วว่า ไอ้ที่เราเจอกันทุกวันน่ะมันเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากเลยนะ แล้วผมเชื่อว่าเมื่อได้รู้ เรื่องเหล่านี้มันจะเข้าไปสะกิดอะไรบางอย่างให้ในใจคนสะอาดขึ้น ผมรู้สึกว่าข้างในมันจะรับรู้ว่าเราควรจะเป็นมนุษย์แบบไหน แล้วยิ่งถ้ามันไปสะกิดใจผู้ที่มีอำนาจว่าการที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือคิดจะก่อสงคราม… ความจริงแล้วชาวบ้านตาดำๆ อย่างเรานี่แหละที่จะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ฉะน้ั้นถ้ามันไปถึงระดับนั้นได้ก็วิเศษสุด เพราะในใจผม ผมคิดว่ามันไม่ควรจะมีสงครามเกิดขึ้นในโลกนี้ มันไม่ควรมีความขัดแย้งเลย

     โอปอล์: พี่โอ๊คเป็นคนสอนให้ปอล์เข้าใจถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้นนะ เดิมทีปอล์เป็นชาวบ้านที่แมสมาก คือใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นสุขนิยม เป็นคนที่รายได้สูงแล้วพอจะต้องเสียภาษี โอ๊ย! ทำไมต้องเสียภาษี (หัวเราะ) แต่พี่โอ๊คเป็นคนพูดว่า เรากำลังเสียภาษีให้แผ่นดินที่เรายืนอยู่ เขาเป็นคนให้สติเราในหลายๆ เรื่อง อย่างตอนแรกที่ปอล์ไม่อยากมีลูก เพราะรู้สึกว่าโลกเดี๋ยวนี้มันน่ากลัว มันโหดร้าย แต่พี่โอ๊คพูดว่าถ้าคนที่พร้อมอย่างเราไม่มีลูก แล้วในอนาคตเด็กๆ ในเจเนอเรชันนั้นจะเป็นอย่างไร ทั้งที่เราพร้อมจะสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับโลก

     ก่อนหน้านี้เราเป็นคนไม่เคยคิดเผื่อโลก การทำเต็มที่ของปอล์คือการไม่รับถุงพลาสติก เราเอาถุงผ้าไปซื้อของ นี่คือที่สุดของปอล์กับการเป็น ‘Eco Girl’ ในขณะที่พี่โอ๊คเป็นคนที่คิดอะไรมากกว่านั้น เขาเป็นคนคิดเผื่อโลก อย่างวันนี้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มันตรงเป้าเราทุกอย่าง เราผ่านอะไรหลายอย่างมาก เรามีความมั่นคงในชีวิต เรามีลูกที่น่ารัก เรารู้แล้วว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อใคร แค่นี้พอแล้ว เราหยุดแล้ว อีกอย่างบางทีเราก็เป็นปุถุชน เราก็สนุกไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องน่ะ ดราม่าต่างๆ เรื่องของคนนี้อะไรยังไง ใครได้กับใคร แซ่บตลอด (หัวเรา) แต่พี่โอ๊คจะเป็นคนไม่หยุด เขาจะเป็นคนสะกิดเราว่า มองดูคนข้างๆ หรือยังว่ายังมีคนอีกมากที่เขาต้องการความช่วยเหลือ พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดให้เราดูเรื่องสงครามซีเรีย และเป็นคนสะกิดให้เราไปเรียนเรื่องการเมือง

     สำคัญที่สุด เหตุผลที่เราตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้เพราะเราอยากทำให้รู้ว่าทุกคนช่วยเปลี่ยนโลกนี้ได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงจากเรื่องใกล้ๆ ตัว เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ยกตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมา ถ้าไม่มีคนคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง โลกเราในวันนี้จะไม่มีทางเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้

     เรื่องของผู้ลี้ภัยก็เช่นกัน แค่คุณตระหนักรู้ว่ามันมีปัญหา สิ่งที่คุณทำได้ นอกจากจะแชร์บทความที่คุณกำลังอ่านนี้ไปแล้ว ยังมีอีกทางคือส่ง sms โดยพิมพ์ 30 แล้วส่งมาที่ 4642789 เพื่อบริจาคครั้งละ 30 บาท หรือแค่เข้าเว็บไซต์ www.unhcr.or.th หรือบริจาคทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ 0 2206 2144 ปอล์เชื่อว่าเงินอาจไม่ต้องมาก อาจจะเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ บางทีมันสามารถรันทุกอย่างเดินหน้าไปได้

  • ‘ภารกิจ’ ที่หมอโอ๊คและโอปอล์ต้องทำในวันนี้คืออะไร

     โอปอล์: ทาง UNHCR ติดต่อมาว่าอยากให้เราทำภารกิจที่ใช้ความสามารถของตัวเอง ออกมาช่วยเหลือหรือตระหนักรู้ว่าผู้ลี้ภัยเขาก็มีความสามารถเหมือนปุถุชนทั่วไปเหมือนกัน เงินที่เราระดมทุนได้ก็อยากจะนำไปสนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยใช้เพื่อแสดงความสามารถของตัวเอง อย่างน้อยก็ช่วยเพิ่มความหวังให้เขาอยากมีชีวิตอยู่

     เราก็มานั่งคิดว่าความสามารถของเราคืออะไร ปอล์คงไม่สามารถไปเล่นดนตรีเปิดหมวกได้อย่างคุณแสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข แต่สิ่งหนึ่งที่ปอล์คิดว่าครอบครัวเรามีคือการสื่อสารในฐานะ ‘สื่อ’ เรามีช่องทางเพื่อให้คนติดตามอย่างหลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรือรายการที่ทำอยู่ ทำไมเราถึงไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อแสดงความถนัดของเราในฐานะพิธีกรและคนเบื้องหน้า ทำให้คนรู้และเข้าใจ 

     โจทย์ของเราคือทำรายการ Opal All Around เทปนี้เพื่อสื่อสารให้คนรู้ว่า UNHCR คืออะไร เขากำลังทำอะไร เพื่อใคร และในความเป็นมนุษย์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง รายการของปอล์ยาวแค่ 20 นาทีเอง แต่ภายในเวลาเท่านี้ คนดูต้องเข้าใจ ดูจบแล้วต้องเปิดใจ ต้องรู้ว่ามันเกิดขึ้นกับเขาและครอบครัวได้เหมือนกัน ปอล์อยากทำให้คนที่ได้ดูจิตใจอ่อนโยนและเปิดใจให้เรื่องผู้ลี้ภัยมากขึ้น

     หมอโอ๊ค: ผมไม่ได้เป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางด้านสื่อสารมวลชนโดยตรงนะครับ แต่ในฐานะคนที่เป็นสื่อกลาง ได้สัมผัสกับทีมงานที่ได้เป็นสื่อ และในฐานะคนที่เสพสื่อด้วย ผมอยากให้มีอะไรอย่างนี้เยอะๆ โลกนี้มันมีอะไรที่ควรจะบอกกล่าวกันมากกว่าบางเรื่องที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ (หัวเราะ) คือมันไม่ใช่เรื่องบันเทิงด้วยนะ เราเข้าใจมุมบันเทิงมาก ความบันเทิงไม่ใช่เรื่องผิด ความสนุกสนานผ่อนคลายเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว

     แต่กับบางเรื่อง มันเป็นปัญหาที่เล็กน้อยมาก แต่คนเราตีกันจนวุ่นวายไปหมด ในขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งของโลกกำลังหายใจอยู่อย่างหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง

     ผมว่าการที่เรานำเสนออะไรแบบนี้ มันได้ทั้งความเข้าใจ ได้ทั้งจำนวนเงินบริจาคเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ลี้ภัย แต่ผู้ที่ได้รับสารนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ผมอยากให้คนรู้สึกได้แล้วว่า ไอ้ที่เราเจอกันทุกวันน่ะมันเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากเลยนะ แล้วผมเชื่อว่าเมื่อได้รู้ เรื่องเหล่านี้มันจะเข้าไปสะกิดอะไรบางอย่างให้ในใจคนสะอาดขึ้น ผมรู้สึกว่าข้างในมันจะรับรู้ว่าเราควรจะเป็นมนุษย์แบบไหน แล้วยิ่งถ้ามันไปสะกิดใจผู้ที่มีอำนาจว่าการที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือคิดจะก่อสงคราม… ความจริงแล้วชาวบ้านตาดำๆ อย่างเรานี่แหละที่จะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ฉะน้ั้นถ้ามันไปถึงระดับนั้นได้ก็วิเศษสุด เพราะในใจผม ผมคิดว่ามันไม่ควรจะมีสงครามเกิดขึ้นในโลกนี้ มันไม่ควรมีความขัดแย้งเลย

     โอปอล์: พี่โอ๊คเป็นคนสอนให้ปอล์เข้าใจถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้นนะ เดิมทีปอล์เป็นชาวบ้านที่แมสมาก คือใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นสุขนิยม เป็นคนที่รายได้สูงแล้วพอจะต้องเสียภาษี โอ๊ย! ทำไมต้องเสียภาษี (หัวเราะ) แต่พี่โอ๊คเป็นคนพูดว่า เรากำลังเสียภาษีให้แผ่นดินที่เรายืนอยู่ เขาเป็นคนให้สติเราในหลายๆ เรื่อง อย่างตอนแรกที่ปอล์ไม่อยากมีลูก เพราะรู้สึกว่าโลกเดี๋ยวนี้มันน่ากลัว มันโหดร้าย แต่พี่โอ๊คพูดว่าถ้าคนที่พร้อมอย่างเราไม่มีลูก แล้วในอนาคตเด็กๆ ในเจเนอเรชันนั้นจะเป็นอย่างไร ทั้งที่เราพร้อมจะสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับโลก

     ก่อนหน้านี้เราเป็นคนไม่เคยคิดเผื่อโลก การทำเต็มที่ของปอล์คือการไม่รับถุงพลาสติก เราเอาถุงผ้าไปซื้อของ นี่คือที่สุดของปอล์กับการเป็น ‘Eco Girl’ ในขณะที่พี่โอ๊คเป็นคนที่คิดอะไรมากกว่านั้น เขาเป็นคนคิดเผื่อโลก อย่างวันนี้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มันตรงเป้าเราทุกอย่าง เราผ่านอะไรหลายอย่างมาก เรามีความมั่นคงในชีวิต เรามีลูกที่น่ารัก เรารู้แล้วว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อใคร แค่นี้พอแล้ว เราหยุดแล้ว อีกอย่างบางทีเราก็เป็นปุถุชน เราก็สนุกไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องน่ะ ดราม่าต่างๆ เรื่องของคนนี้อะไรยังไง ใครได้กับใคร แซ่บตลอด (หัวเรา) แต่พี่โอ๊คจะเป็นคนไม่หยุด เขาจะเป็นคนสะกิดเราว่า มองดูคนข้างๆ หรือยังว่ายังมีคนอีกมากที่เขาต้องการความช่วยเหลือ พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดให้เราดูเรื่องสงครามซีเรีย และเป็นคนสะกิดให้เราไปเรียนเรื่องการเมือง

     สำคัญที่สุด เหตุผลที่เราตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้เพราะเราอยากทำให้รู้ว่าทุกคนช่วยเปลี่ยนโลกนี้ได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงจากเรื่องใกล้ๆ ตัว เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ยกตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมา ถ้าไม่มีคนคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง โลกเราในวันนี้จะไม่มีทางเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้

     เรื่องของผู้ลี้ภัยก็เช่นกัน แค่คุณตระหนักรู้ว่ามันมีปัญหา สิ่งที่คุณทำได้ นอกจากจะแชร์บทความที่คุณกำลังอ่านนี้ไปแล้ว ยังมีอีกทางคือส่ง sms โดยพิมพ์ 30 แล้วส่งมาที่ 4642789 เพื่อบริจาคครั้งละ 30 บาท หรือแค่เข้าเว็บไซต์ www.unhcr.or.th หรือบริจาคทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ 0 2206 2144 ปอล์เชื่อว่าเงินอาจไม่ต้องมาก อาจจะเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ บางทีมันสามารถรันทุกอย่างเดินหน้าไปได้

 

  • ถ้าต้องไปร่วมชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย หน้าที่ไหนที่คุณน่าจะทำได้ดีที่สุด และคุณคิดว่าตัวเองจะทนได้ไหม โดยเฉพาะในวันและคืนที่ตัวเองมีลูกน้อยที่ต้องดูแลด้วยแล้วถึงสองคน

     โอปอล์: ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ปอล์กับพี่โอ๊คคุยกันตลอด คือเนื่องจากเป็นคนชอบดูละคร ในละครชอบมีฉากสงคราม ปอล์ถามพี่โอ๊คว่าถ้าเราเกิดมาในยุคสงครามเนี่ย เราจะไปอยู่หน่วยไหนวะ

     หมอโอ๊ค: ผมนี่ก็ไม่ยาก คงจะไปอยู่หน่วยแพทย์ล่ะมั้ง (หัวเราะ)

     โอปอล์: ส่วนปอล์ก็คิดว่าเราน่าจะอยู่โรงครัว เพราะว่ามีอาหาร ที่ไหนมีอาหาร ที่นั่นมีเรา (ยิ้ม) คือปอล์แค่รู้สึกว่าในทุกที่ แม้แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยเหมือนกัน ทุกคนจะอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่เราทุกคนล้วนมีความถนัดของตัวเอง เช่นกันกับคนที่อ่านบทความนี้อยู่ ถ้าอ่านแล้วคิดว่าแล้วฉันจะไปช่วยอะไรพวกเขาได้ ปอล์จะบอกว่าให้ใช้ความถนัดของตัวเอง อย่างตัวปอล์เป็นคนบันเทิงเบื้องหน้า ความถนัดของเราคือการพูดให้ทุกคนได้ยิน เราออกไปยืนข้างหน้าแล้วมีคนเห็นเยอะ พูดแล้วมีคนฟัง งั้นเราก็บอกต่อสิ

     อย่างทุกครั้งที่บ้านเมืองเราเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แล้วคนในประเทศเราทำเรื่องน่ารักด้วยการใช้ความถนัดของตัวเองมาร่วมแรงร่วมใจกัน เช่น ใครเป็นแพทย์ก็มารวมตัวกันตั้งทีมอาสาสมัครไปลงพื้นที่ ใครร่างกายแข็งแรงก็ออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน ใครทำอาหารได้ก็ทำข้าวกล่อง ผัดกันสู้ตาย เสร็จแล้วนำไปแจกจ่ายผู้ที่กำลังเดือดร้อน ฯลฯ ภาพต่างๆ เหล่านี้ปอล์ยังจำได้ นี่แหละ แค่นี้ก็ได้แล้ว

 

  • โดยปกติแล้ว ‘ความทุกข์’ หรือ ความลำบาก’ ที่สุดในชีวิตของคุณคือเรื่องอะไร และถ้าต้องได้ร่วมพูดคุย มุมมองแบบไหนในชีวิตที่คุณอยากจะทำความเข้าใจและร่วมแชร์กับเขามากที่สุด

     หมอโอ๊ค: (หัวเราะ) ตัวเราเองก็ยังไม่ได้ละกิเลสได้หรอก เราเป็นคนธรรมดามาก ผมก็ใช้ชีวิตของตัวเองในทุกๆ วันเหมือนกับทุกคนนี่แหละ ถึงเวลาก็หงุดหงิดที่อากาศร้อน รถติด ซึ่งความจริงมันเทียบกันไม่ได้กับความทุกข์หรือปัญหาในระดับเดียวกับผู้ลี้ภัย

     โอปอล์: ถ้าทุกข์ที่สุดของปอล์คือตอนที่เราต้องนอนนิ่งๆ ในโรงพยาบาลอยู่ 2 เดือน เราขยับตัวไม่ได้เลย เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปเพื่อลุ้นว่าลูกเราจะรอดหรือไม่ ปกติคนใกล้คลอดเขาจะมีความสุขที่จะได้เห็นหน้าลูกว่าหน้าตาจะออกมายังไง แต่ในสองเดือนนั้นคือเราต้องนอนนิ่งๆ ทั้งกิน ทั้งอึ และฉี่กันบนเตียง โดยไม่รู้ว่าเรากำลังต่อสู้กับอะไรอยู่ เราไม่รู้ว่าลูกในท้องจะออกมาเมื่อไร หมอบอกว่าโอกาสที่ลูกเราจะรอดเปอร์เซ็นต์น้อยมาก และถ้าคลอดออกมา คุณแม่ต้องเตรียมรับว่าลูกอาจจะตาบอด ลูกจะพิการทางสมอง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราใน 2 เดือนนั้น และมันเปลี่ยนเราไปเลย

     ที่รู้สึกเปลี่ยนที่สุดคือ ตอนนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการนอนภาวนาให้ทุกอย่างมันดีขึ้น เรารู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตอย่างนั้น เราต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย ที่แย่ที่สุดไม่ใช่เรื่องปอล์จะตายหรือลูกจะตาย แต่คือการที่ปอล์เห็นพี่โอ๊คทุกข์ทรมาน ตอนนั้นพี่โอ๊คคือคนที่ต้องเดินไปคุยกับหมอแล้วรับรู้ว่าโอปอล์มีอาการหัวใจวายนะ ลูกแทบจะไม่มีโอกาสรอดนะ ถ้ามีโอกาสรอด ลูกจะเป็นอย่างนี้ แล้วเขาแบกทุกอย่างไว้

     ปอล์เห็นภาพตอนที่เขาหน้าแย่ๆ แต่พอผลักประตูเข้ามาแล้วเขาทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับปอล์ พอเห็นทุกอย่างแล้วมันก็ทำให้ปอล์คิดได้ว่าคนเราสุดท้ายก็เท่านี้.. แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าถ้าวันนั้นลูกปอล์ไม่รอดเลยสักคน อย่างน้อยเราก็มีกันและกัน แต่ถ้าวันนั้นปอล์ไม่รอด แล้วพี่โอ๊คจะอยู่กับใคร แล้วระหว่างนั้นถ้าวันหนึ่งพี่โอ๊ครับกับสภาวะเครียดแบบนั้นไม่ได้ ปอล์จะทำยังไง นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตปอล์ไปเลย

     หมอโอ๊ค: สำหรับผม เหมือนความทุกข์ครั้งนั้นมันทำให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นเราปกิณกะมากจริงๆ บอกเลยว่าเหมือนกันทั้งคู่ โอปอล์อยู่ในแวดวงบันเทิง ผมอยู่ในแวดวงความงาม โอ้โห มันคือยอดสูงสุดของพีระมิดแล้วจริงๆ ความฟุ่มเฟือยทุกประการอยู่ที่เราจริงๆ ครับ

     โอปอล์: ความทุกข์ที่สุดคือตามซื้อของไม่ทันในคอลเล็กชันนั้น คือกลวงมาก

     หมอโอ๊ค: เราเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราไม่เคยเข้าใจอะไรเลย แต่พอผ่านเรื่องนี้มา เราสองคนเริ่มเข้าใจความเป็นมนุษย์ เริ่มเข้าใจแล้วว่าเราอยู่ไปเพื่ออะไร เข้าใจคุณค่าของชีวิต และเข้าใจว่าบางอย่างก็เป็นเรื่องที่เราต่อรองไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องความแท้จริงของมนุษย์

     ความเป็นความตายคือเรื่องใหญ่ที่สุด มีเงินเท่าไร มีชื่อเสียงแค่ไหนก็ต่อรองไม่ได้

     นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมมองถึงกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้น

     อย่างหนึ่งเลย ในฐานะพ่อแม่จากมุมที่เปลือกมากคืออยากให้ลูกน่ารัก อยากได้ตาโอปอล์ จมูกเหมือนผม อยากให้ลูกเรียนเก่ง เมื่อก่อนคิดกันอยู่แค่นั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เปลี่ยนมุมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการมีชีวิตอยู่

     ผมไม่ได้จะเคลมว่าผมกับโอปอล์เป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดในโลกนะ ที่พูดนี่ไม่ได้ต้องการคำยกย่องใดๆ เพราะเราก็เป็นแค่ปุถุชนธรรมดา คือทำผิดพลาดได้อยู่เสมอ แต่อย่างหนึ่งคือเราอยากเลี้ยงลูกให้เป็นประชากรของโลก เรารู้สึกว่าเขาต้องมีฝัน รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า และอย่าประเมินตัวเองต่ำ ประชาชนไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อใช้ชีวิต หาเงิน ซื้อของ แล้วก็ตายจากไป ผมอยากให้เขาได้ในเรื่องนี้ ยิ่งผมกับครอบครัวมาร่วมกันทำอะไรแบบนี้ ผมรู้สึกว่ามันเป็นการย้ำ สอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ผมจะได้บอกกับลูกต่อไปในอนาคต

     โอปอล์: มีอยู่ตอนหนึ่งที่ปอล์หัวใจวาย ความรู้สึกมันเหมือนคนจมน้ำน่ะ ปอล์ทำได้แค่นอนอยู่แล้วเหมือนตัวเองกำลังจะขาดใจ ความรู้สึกเหมือนในหนังจริงๆ นะ คือปอล์ตะกุยเตียง ปอล์ต้องใช้ออกซิเจนช่วย หมอต้องให้ยาโดยการเจาะเข้าเส้นเลือดตลอดเพื่อไม่ให้ลูกคลอด ซึ่งยาตัวนี้มันมีผลข้างเคียงคือทำให้หัวใจวาย เราก็กดออดเรียกพยาบาล จนกระทั่งพยาบาลกับพี่โอ๊ควิ่งเข้ามา

     หลังจากวันนั้นปอล์รู้สึกเลยว่าคนเรามันตายได้ง่ายๆ แบบนี้เลยใช่ไหม คือเพียงแค่เสี้ยววินาทีที่ต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย หลังจากนั้นปอล์มานั่งคิดเลยว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรกับชีวิตบ้าง เราเป็นลูกที่ดีพอหรือยัง เราเป็นเมีย เป็นเพื่อน เป็นพี่ที่ดีพอหรือยัง ตอนนั้นปอล์คิดจริงๆ นะว่าถ้าเรารอดไปได้ เราจะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ปอล์รู้สึกเหมือนเราได้ second chance ให้มีชีวิตต่อ ฉะนั้นเราจะคิดให้มากกว่าที่ปอล์เคยคิดถึงแต่ตัวเอง

     ครั้งหนึ่งปอล์เคยอยากให้ลูกเป็นหมอเหมือนพี่โอ๊ค แต่พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดว่าเราต้องมองไปให้ไกลกว่านั้นแล้วล่ะ คือไม่ใช่คิดว่าอยากให้ลูกเป็นอะไร หรือมีเงินเท่าไร แต่ลูกต้องคิดไปถึงขนาดที่ว่า เขาจะเปลี่ยนโลกยังไงได้บ้าง ซึ่งตรงนั้นมันยิ่งใหญ่สำหรับปอล์มากนะ เพราะเราก็ไม่เคยนึกว่าจะได้มาใกล้ชิดกับคนที่มีวิชันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่ถ้าเราคิดไปให้ไกล มันไม่ใช่เรื่องของตัวเงิน ไม่ใช่เรื่องการการประสบความสำเร็จ

     เราจะทำให้โลกที่เราอยู่ดีขึ้นได้ยังไง คิดถึงคนอื่นมากขึ้น หมายถึงคิดว่าตัวเองเป็นประชากรโลก อย่าง ‘ผู้ลี้ภัย’ เนี่ย หลายคนรู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนไทย ทำไมต้องช่วย ประเทศไทยก็ไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้เจริญขนาดนั้น แต่ถ้าเรามองว่าทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทุกคนคือหนึ่งในประชากรของโลก มันจะไม่มีคำว่าเขาไม่ใช่คนไทย เขาเป็นมนุษย์ ฉะนั้นต้องมองข้ามผ่านเรื่องเพศ ข้ามผ่านเรื่องเชื้อชาติไปได้แล้ว นาทีนี้มันเป็นเรื่องของมนุษย์

     หมอโอ๊ค: ตรงนี้ผมขอต่อพูดแล้วกัน เพราะผมได้ยินบ่อยมาก และเป็นคอมเมนต์แรกเลย เมื่อก่อนที่เราเริ่มต้นเข้าร่วมกับ UNHCR แม้แต่เพื่อนที่ใกล้ชิดกับเราเขายังพูดว่า “ไปทำอะไร… ไร้สาระ ทำแล้วได้อะไร อ๋อ อยากได้ชื่อเหรอ…” ทุกคนก็มองกันแบบนี้ ซึ่งเราก็เข้าใจเขานะ เขาไม่ได้มีเจตนาร้ายหรอก เขามองเพราะเขาไม่ทราบไง แต่เรารู้สึกว่าเรามองไปมากกว่านั้น มันเป็นเรื่องของมนุษย์จริงๆ

     โอปอล์: สุดท้ายนี้สิ่งที่คิดว่าเราเองจะแชร์ได้ดีที่สุด คิดแทนง่ายๆ เลยว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณเป็นเขา คุณจะทำยังไงต่อไปกับชีวิต แล้วขอขอบคุณทุกอย่างที่คุณไม่ได้เป็นเขา และคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นเราจะทำอะไรเพื่อเขาได้บ้าง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและกำลังเกิดอยู่ในเวลานี้ พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ พวกคุณช่วยได้ง่ายมาก แค่หยิบโทรศัพท์แล้วกด sms ครั้งละ 30 บาท หรือเข้าเว็บไซต์เพื่อโอนเงินในจำนวนที่พอช่วยได้ บางทีจำนวนอาจไม่ต้องมาก แต่ถ้าหลายคน มันช่วยเปลี่ยนโลกได้ หรือถ้าตอนนี้กำลังทรัพย์เราไม่มี บอกต่อ แชร์บทความ สร้างความตระหนักรู้ให้เป็นวงกว้าง ปอล์เชื่อว่าจะต้องมีใครอีกหลายคนที่มีความพร้อมเพื่อจะแบ่งบันสิ่งเหล่านี้

 

 

*ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก THE STANDARD ค่ะ

  • ถ้าต้องไปร่วมชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย หน้าที่ไหนที่คุณน่าจะทำได้ดีที่สุด และคุณคิดว่าตัวเองจะทนได้ไหม โดยเฉพาะในวันและคืนที่ตัวเองมีลูกน้อยที่ต้องดูแลด้วยแล้วถึงสองคน

     โอปอล์: ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ปอล์กับพี่โอ๊คคุยกันตลอด คือเนื่องจากเป็นคนชอบดูละคร ในละครชอบมีฉากสงคราม ปอล์ถามพี่โอ๊คว่าถ้าเราเกิดมาในยุคสงครามเนี่ย เราจะไปอยู่หน่วยไหนวะ

     หมอโอ๊ค: ผมนี่ก็ไม่ยาก คงจะไปอยู่หน่วยแพทย์ล่ะมั้ง (หัวเราะ)

     โอปอล์: ส่วนปอล์ก็คิดว่าเราน่าจะอยู่โรงครัว เพราะว่ามีอาหาร ที่ไหนมีอาหาร ที่นั่นมีเรา (ยิ้ม) คือปอล์แค่รู้สึกว่าในทุกที่ แม้แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยเหมือนกัน ทุกคนจะอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่เราทุกคนล้วนมีความถนัดของตัวเอง เช่นกันกับคนที่อ่านบทความนี้อยู่ ถ้าอ่านแล้วคิดว่าแล้วฉันจะไปช่วยอะไรพวกเขาได้ ปอล์จะบอกว่าให้ใช้ความถนัดของตัวเอง อย่างตัวปอล์เป็นคนบันเทิงเบื้องหน้า ความถนัดของเราคือการพูดให้ทุกคนได้ยิน เราออกไปยืนข้างหน้าแล้วมีคนเห็นเยอะ พูดแล้วมีคนฟัง งั้นเราก็บอกต่อสิ

     อย่างทุกครั้งที่บ้านเมืองเราเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แล้วคนในประเทศเราทำเรื่องน่ารักด้วยการใช้ความถนัดของตัวเองมาร่วมแรงร่วมใจกัน เช่น ใครเป็นแพทย์ก็มารวมตัวกันตั้งทีมอาสาสมัครไปลงพื้นที่ ใครร่างกายแข็งแรงก็ออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน ใครทำอาหารได้ก็ทำข้าวกล่อง ผัดกันสู้ตาย เสร็จแล้วนำไปแจกจ่ายผู้ที่กำลังเดือดร้อน ฯลฯ ภาพต่างๆ เหล่านี้ปอล์ยังจำได้ นี่แหละ แค่นี้ก็ได้แล้ว

 

  • โดยปกติแล้ว ‘ความทุกข์’ หรือ ความลำบาก’ ที่สุดในชีวิตของคุณคือเรื่องอะไร และถ้าต้องได้ร่วมพูดคุย มุมมองแบบไหนในชีวิตที่คุณอยากจะทำความเข้าใจและร่วมแชร์กับเขามากที่สุด

     หมอโอ๊ค: (หัวเราะ) ตัวเราเองก็ยังไม่ได้ละกิเลสได้หรอก เราเป็นคนธรรมดามาก ผมก็ใช้ชีวิตของตัวเองในทุกๆ วันเหมือนกับทุกคนนี่แหละ ถึงเวลาก็หงุดหงิดที่อากาศร้อน รถติด ซึ่งความจริงมันเทียบกันไม่ได้กับความทุกข์หรือปัญหาในระดับเดียวกับผู้ลี้ภัย

     โอปอล์: ถ้าทุกข์ที่สุดของปอล์คือตอนที่เราต้องนอนนิ่งๆ ในโรงพยาบาลอยู่ 2 เดือน เราขยับตัวไม่ได้เลย เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปเพื่อลุ้นว่าลูกเราจะรอดหรือไม่ ปกติคนใกล้คลอดเขาจะมีความสุขที่จะได้เห็นหน้าลูกว่าหน้าตาจะออกมายังไง แต่ในสองเดือนนั้นคือเราต้องนอนนิ่งๆ ทั้งกิน ทั้งอึ และฉี่กันบนเตียง โดยไม่รู้ว่าเรากำลังต่อสู้กับอะไรอยู่ เราไม่รู้ว่าลูกในท้องจะออกมาเมื่อไร หมอบอกว่าโอกาสที่ลูกเราจะรอดเปอร์เซ็นต์น้อยมาก และถ้าคลอดออกมา คุณแม่ต้องเตรียมรับว่าลูกอาจจะตาบอด ลูกจะพิการทางสมอง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราใน 2 เดือนนั้น และมันเปลี่ยนเราไปเลย

     ที่รู้สึกเปลี่ยนที่สุดคือ ตอนนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการนอนภาวนาให้ทุกอย่างมันดีขึ้น เรารู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตอย่างนั้น เราต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย ที่แย่ที่สุดไม่ใช่เรื่องปอล์จะตายหรือลูกจะตาย แต่คือการที่ปอล์เห็นพี่โอ๊คทุกข์ทรมาน ตอนนั้นพี่โอ๊คคือคนที่ต้องเดินไปคุยกับหมอแล้วรับรู้ว่าโอปอล์มีอาการหัวใจวายนะ ลูกแทบจะไม่มีโอกาสรอดนะ ถ้ามีโอกาสรอด ลูกจะเป็นอย่างนี้ แล้วเขาแบกทุกอย่างไว้

     ปอล์เห็นภาพตอนที่เขาหน้าแย่ๆ แต่พอผลักประตูเข้ามาแล้วเขาทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับปอล์ พอเห็นทุกอย่างแล้วมันก็ทำให้ปอล์คิดได้ว่าคนเราสุดท้ายก็เท่านี้.. แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าถ้าวันนั้นลูกปอล์ไม่รอดเลยสักคน อย่างน้อยเราก็มีกันและกัน แต่ถ้าวันนั้นปอล์ไม่รอด แล้วพี่โอ๊คจะอยู่กับใคร แล้วระหว่างนั้นถ้าวันหนึ่งพี่โอ๊ครับกับสภาวะเครียดแบบนั้นไม่ได้ ปอล์จะทำยังไง นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตปอล์ไปเลย

     หมอโอ๊ค: สำหรับผม เหมือนความทุกข์ครั้งนั้นมันทำให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นเราปกิณกะมากจริงๆ บอกเลยว่าเหมือนกันทั้งคู่ โอปอล์อยู่ในแวดวงบันเทิง ผมอยู่ในแวดวงความงาม โอ้โห มันคือยอดสูงสุดของพีระมิดแล้วจริงๆ ความฟุ่มเฟือยทุกประการอยู่ที่เราจริงๆ ครับ

     โอปอล์: ความทุกข์ที่สุดคือตามซื้อของไม่ทันในคอลเล็กชันนั้น คือกลวงมาก

     หมอโอ๊ค: เราเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราไม่เคยเข้าใจอะไรเลย แต่พอผ่านเรื่องนี้มา เราสองคนเริ่มเข้าใจความเป็นมนุษย์ เริ่มเข้าใจแล้วว่าเราอยู่ไปเพื่ออะไร เข้าใจคุณค่าของชีวิต และเข้าใจว่าบางอย่างก็เป็นเรื่องที่เราต่อรองไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องความแท้จริงของมนุษย์

     ความเป็นความตายคือเรื่องใหญ่ที่สุด มีเงินเท่าไร มีชื่อเสียงแค่ไหนก็ต่อรองไม่ได้

     นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมมองถึงกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้น

     อย่างหนึ่งเลย ในฐานะพ่อแม่จากมุมที่เปลือกมากคืออยากให้ลูกน่ารัก อยากได้ตาโอปอล์ จมูกเหมือนผม อยากให้ลูกเรียนเก่ง เมื่อก่อนคิดกันอยู่แค่นั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เปลี่ยนมุมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการมีชีวิตอยู่

     ผมไม่ได้จะเคลมว่าผมกับโอปอล์เป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดในโลกนะ ที่พูดนี่ไม่ได้ต้องการคำยกย่องใดๆ เพราะเราก็เป็นแค่ปุถุชนธรรมดา คือทำผิดพลาดได้อยู่เสมอ แต่อย่างหนึ่งคือเราอยากเลี้ยงลูกให้เป็นประชากรของโลก เรารู้สึกว่าเขาต้องมีฝัน รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า และอย่าประเมินตัวเองต่ำ ประชาชนไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อใช้ชีวิต หาเงิน ซื้อของ แล้วก็ตายจากไป ผมอยากให้เขาได้ในเรื่องนี้ ยิ่งผมกับครอบครัวมาร่วมกันทำอะไรแบบนี้ ผมรู้สึกว่ามันเป็นการย้ำ สอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ผมจะได้บอกกับลูกต่อไปในอนาคต

     โอปอล์: มีอยู่ตอนหนึ่งที่ปอล์หัวใจวาย ความรู้สึกมันเหมือนคนจมน้ำน่ะ ปอล์ทำได้แค่นอนอยู่แล้วเหมือนตัวเองกำลังจะขาดใจ ความรู้สึกเหมือนในหนังจริงๆ นะ คือปอล์ตะกุยเตียง ปอล์ต้องใช้ออกซิเจนช่วย หมอต้องให้ยาโดยการเจาะเข้าเส้นเลือดตลอดเพื่อไม่ให้ลูกคลอด ซึ่งยาตัวนี้มันมีผลข้างเคียงคือทำให้หัวใจวาย เราก็กดออดเรียกพยาบาล จนกระทั่งพยาบาลกับพี่โอ๊ควิ่งเข้ามา

     หลังจากวันนั้นปอล์รู้สึกเลยว่าคนเรามันตายได้ง่ายๆ แบบนี้เลยใช่ไหม คือเพียงแค่เสี้ยววินาทีที่ต่อรองกับอะไรไม่ได้เลย หลังจากนั้นปอล์มานั่งคิดเลยว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรกับชีวิตบ้าง เราเป็นลูกที่ดีพอหรือยัง เราเป็นเมีย เป็นเพื่อน เป็นพี่ที่ดีพอหรือยัง ตอนนั้นปอล์คิดจริงๆ นะว่าถ้าเรารอดไปได้ เราจะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ปอล์รู้สึกเหมือนเราได้ second chance ให้มีชีวิตต่อ ฉะนั้นเราจะคิดให้มากกว่าที่ปอล์เคยคิดถึงแต่ตัวเอง

     ครั้งหนึ่งปอล์เคยอยากให้ลูกเป็นหมอเหมือนพี่โอ๊ค แต่พี่โอ๊คเป็นคนสะกิดว่าเราต้องมองไปให้ไกลกว่านั้นแล้วล่ะ คือไม่ใช่คิดว่าอยากให้ลูกเป็นอะไร หรือมีเงินเท่าไร แต่ลูกต้องคิดไปถึงขนาดที่ว่า เขาจะเปลี่ยนโลกยังไงได้บ้าง ซึ่งตรงนั้นมันยิ่งใหญ่สำหรับปอล์มากนะ เพราะเราก็ไม่เคยนึกว่าจะได้มาใกล้ชิดกับคนที่มีวิชันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่ถ้าเราคิดไปให้ไกล มันไม่ใช่เรื่องของตัวเงิน ไม่ใช่เรื่องการการประสบความสำเร็จ

     เราจะทำให้โลกที่เราอยู่ดีขึ้นได้ยังไง คิดถึงคนอื่นมากขึ้น หมายถึงคิดว่าตัวเองเป็นประชากรโลก อย่าง ‘ผู้ลี้ภัย’ เนี่ย หลายคนรู้สึกว่าเขาไม่ใช่คนไทย ทำไมต้องช่วย ประเทศไทยก็ไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้เจริญขนาดนั้น แต่ถ้าเรามองว่าทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทุกคนคือหนึ่งในประชากรของโลก มันจะไม่มีคำว่าเขาไม่ใช่คนไทย เขาเป็นมนุษย์ ฉะนั้นต้องมองข้ามผ่านเรื่องเพศ ข้ามผ่านเรื่องเชื้อชาติไปได้แล้ว นาทีนี้มันเป็นเรื่องของมนุษย์

     หมอโอ๊ค: ตรงนี้ผมขอต่อพูดแล้วกัน เพราะผมได้ยินบ่อยมาก และเป็นคอมเมนต์แรกเลย เมื่อก่อนที่เราเริ่มต้นเข้าร่วมกับ UNHCR แม้แต่เพื่อนที่ใกล้ชิดกับเราเขายังพูดว่า “ไปทำอะไร… ไร้สาระ ทำแล้วได้อะไร อ๋อ อยากได้ชื่อเหรอ…” ทุกคนก็มองกันแบบนี้ ซึ่งเราก็เข้าใจเขานะ เขาไม่ได้มีเจตนาร้ายหรอก เขามองเพราะเขาไม่ทราบไง แต่เรารู้สึกว่าเรามองไปมากกว่านั้น มันเป็นเรื่องของมนุษย์จริงๆ

     โอปอล์: สุดท้ายนี้สิ่งที่คิดว่าเราเองจะแชร์ได้ดีที่สุด คิดแทนง่ายๆ เลยว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณเป็นเขา คุณจะทำยังไงต่อไปกับชีวิต แล้วขอขอบคุณทุกอย่างที่คุณไม่ได้เป็นเขา และคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นเราจะทำอะไรเพื่อเขาได้บ้าง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและกำลังเกิดอยู่ในเวลานี้ พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ พวกคุณช่วยได้ง่ายมาก แค่หยิบโทรศัพท์แล้วกด sms ครั้งละ 30 บาท หรือเข้าเว็บไซต์เพื่อโอนเงินในจำนวนที่พอช่วยได้ บางทีจำนวนอาจไม่ต้องมาก แต่ถ้าหลายคน มันช่วยเปลี่ยนโลกได้ หรือถ้าตอนนี้กำลังทรัพย์เราไม่มี บอกต่อ แชร์บทความ สร้างความตระหนักรู้ให้เป็นวงกว้าง ปอล์เชื่อว่าจะต้องมีใครอีกหลายคนที่มีความพร้อมเพื่อจะแบ่งบันสิ่งเหล่านี้

 

 

*ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก THE STANDARD ค่ะ

Namjai for Refugees : Wattanasin 's Mission

 

Namjai for Refugees : Wattanasin 's Mission

 

 

26 กรกฎาคม 2560 – เพราะบ้านและครอบครัวคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ต่อยอดไปสู่การให้อย่างแท้จริง ปิ่น-เก็จมณี วรรธนะสิน คุณแม่สุดสวย จึงได้นำทีม 2 ลูกชายสุดหล่อ น้องเจ้านายและเจ้าสมุทร มาร่วมปฎิบัติภารกิจกับ UNHCR ในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กับแคมเปญ Namjai For Refugees  

 

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

  • ©UNHCR//Nawaphon P.

 

 

แคมเปญ “Namjai for Refugees” ได้รับรางวัล Asia-Pacific Communications Award 2016 สาขา Non-Profit Organisation เป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ลี้ภัยได้เป็นอย่างดี    

ภารกิจแรกเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees โดยคุณสแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

 

ภารกิจแรกเพื่อผู้ลี้ภัย Namjai for Refugees โดยคุณสแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

สแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ร่วมภารกิจปันน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

20 กรกฎาคม 2560 - สแตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข นักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดังร่วมกับ สำนักงานข้าหลวงผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR สานต่อความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยภายในประเทศไทย ผ่านแคมเปญ Namjai for Refugees มอบชีวิตใหม่ด้วยน้ำใจกับ UNHCR เพราะเชื่อว่าผู้ลี้ภัยทุกคนต่างมีศักยภาพ และพวกเขาต้องการโอกาสเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพนั้นเพื่อดูแลตนเอง และครอบครัวได้ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม โดยคนไทยทุกคนสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ผ่านการแบ่งปันน้ำใจ ภายใต้โครงการ Namjai for Refugees 

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom

  • UNHCR ©UNHCR/Thanasade Tantiwarodom