Skip to main content

ภาษา

 

ความสำเร็จกับความสามารถด้านภาษาของครอบครัวชาวบังกลาเทศในฮังการี

บีกัม อาลี ผู้ลี้ภัยชาวบังกลาเทศกับเฟอร์ดุสลูกชายคนโตของเธอ กำลังทำอาหารที่ร้านอาหารเปิดใหม่ของเพวกเขาในกรุงบูดาเปสที่ที่พวกเขาได้อยู่อย่างปลอดภัยอีกครั้งหลังจาก 20 ปีของการหาที่พักพิงที่ปลอดภัย ©UNHCR/Z.Pályi

 

กรุงบูดาเปส ประเทศฮังการี 10 เมษายน 2558 (UNHCR)- บทสนทนาของครอบครัวหนึ่งในครัวเล็กๆในร้านอาหารบังกลาเทศที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบูดาเปส ฟังดูเหมือนการถกปัญหาระดับโลกมากกว่าที่จะเป็นการสนทนาแบบกันเองของคนใกล้ชิดในครอบครัว

“มีลูกค้าเพิ่งเข้ามา ลงมารับรายการอาหารเร็ว” ลุตฟา เด็กสาววัย 17 ปี เรียก คาลัม น้องชายชาวบังคลาเทศของเธอด้วยภาษากรีก บีกัม  แม่ของพวกเขา ผุ้ซึ่งมีชื่อเดียวกับร้านอาหารกำลังคุยกับสามีของเธอด้วยภาษาเบงกาลีภาษาบ้านเกิดในขณะที่กำลังเตรียมอาหาร แต่กลับหันไปออกคำสั่งกับลูกๆด้วยภาษาอูรดู ส่วนคาลัม เด็กหนุ่มวัย15 หันไปที่ลูกค้า และแปลคำพูดของแม่เป็นภาษาฮังการีให้อย่างเต็มใจ


จาก 20 ปีแห่งการเดินทางกว่าครึ่งโลกเพื่อแสวงหาความปลอดภัยของครอบครัวช่วยทำให้พวกเขาสื่อสารได้หลายภาษาว่ายขึ้นและตอบโต้จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
“พวกเรามีความสุขมากที่ได้อยู่ในฮังการี” โมชาฮิด อาลี ผู้เป็นพ่อกล่าว “อยู่ที่นี่เราปลอดภัย ทุกคนที่นี่ใจดีมาก หลังจากที่ต้องหนีอย่างไม่มีจุดหมายมาหลายปี เราต้องการที่จะอยู่ที่นี่ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเปิดร้านอาหารของเราเอง”


นี่คือการลงทุนของเขาเพื่ออนาคต และของขวัญเพื่อการขอบคุณที่ในที่สุดการเดินทางที่ยาวนานได้สิ้นสุดลงแล้ว พวกเขาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศฮังการีเมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556 และเปิดร้านอาหารชื่อ Begum All Modina restaurant 15 เดือนให้หลังด้วยเงินเก็บเล็กน้อยและเงินที่ขอยืมจากเพื่อนๆ อย่างไรก็ตามพวกเขายังต้องใช้ป้ายชื่อร้านที่เขียนผิดต่อไปหลังจากที่คนทาสีป้ายสะกดชื่อร้านผิด จาก Al modina ชื่อที่พวกเขาต้องการ เป็น All modina


“อยู่ที่นี่ ผมสามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ ผมไม่ต้องกลัวว่าตำรวจจะมาจับหรือใครจะมาทำร้ายผมบนถนนเหมือนที่เอเธนส์” คาลัมเสริม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ทรมานจากเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้เคยเผชิญ


คาลัม เป็นคนกระตือรือร้น ร่าเริง เข้ากับผู้อื่นได้ดี และยิ้มง่าย เขาเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาลูกๆทั้ง 3 คนของโมชาฮิดวัย 46 และบีกัมวัย 41 ทั้งสองคนต้องลี้ภัยจากความรุนแรงทางการเมืองจากประเทศบังคลาเทศขณะที่บีกัมท้องเฟอร์ตุสลูกคนโตได้8เดือน เหตุการณ์นั้นพรากชีวิตพ่อของโมชาฮิดและญาติพี่น้องของพวกเขาหลายคน พวกเขาลีภัยไปที่อินเดียเป็นเวลาสั้นๆ และไปอยู่ที่ประเทศปากีสถานที่ๆเฟอร์ตุส ลุตฟา และคาลัมเกิด พวกเขาอาศัยอยู่ที่ปากีสถาน 4 ปี นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งสองคนถึงสื่อสารกับเด็กๆด้วยภาษาอูรดู ภาษาประจำชาติของประเทศปากีสถานได้


แต่พวกเขาทั้ง 5 คนยังคงรู้สึกไม่ปลอดภัย และได้ลี้ภัยไปประเทศอิหร่านแต่สถานการณ์ก็ไม่ได้แต่กต่างกันเลย พวกเขาจึงเดินทางต่อไปที่ประเทศตุรกี และกรีซซึ่งสถานการณ์ดีขึ้น พวกเขาอาศัยอยู่ที่กรีซราว9ปี ที่นี่ทำให้เด็กๆใช้ภาษากรีกในการคุยกัน นอกจากภาษากรีกแล้วพวกเขายังพูดภาษาอังกฤษและฮังกาเรียนได้อีกด้วย


ในเอเธนส์ บีกัมซึ่งไม่รู้หนังสือและต้องทำงานเป็นแม่บ้านถึงสามที่ในหนึ่งวัน คือที่ธนาคาร โรงงาน และไนท์คลับแต่พวกเขาก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พวกเขาต้องออกเดินทางอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเดินทางที่นำพวกเขามาสู่ฮังการีในที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ขณะนี้เฟอร์ดุสอายุ 18 ปี เขามีนิสัยเก็บตัวมากกว่าคาลัมน้องชาย เฟอร์ตุสบอกกว่าเขาเป็นคนเล่นฟุตบอลได้ดีและได้รับการชักชวนจากตัวแทนสโมสรฟุตบอลที่เป็นที่รู้จักแห่งหนึ่งในกรุงเอเธนส์ แต่แม่ของเขาไม่อยากให้เขาเสี่ยงโชคกับอาชีพนักกีฬาที่เอาแน่เอานอนไม่ได้


และด้วยความรับผิดชอบ เขาจึงรับงานที่ร้านขายของชำแทน ทุกวันนี้นอกเหนือจากหน้าที่อื่นๆ เขาต้องช่วยพ่อแม่ซื้อของสำหรับขายที่ร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเทศ ข้าวบัสมาติ และเนื้อฮาลาลที่ร้านขายของผู้อพยพชาวปากีสถานใกล้ๆบ้าน โดยเขาต้องจับจ่ายของเหล่านี้อย่างคุ้มค่าและประหยัดมากที่สุด

“ผมต้องวางความฝันของผมเอาไว้ก่อน เฟอร์ตุสกล่าว ผมต้องช่วยพ่อแม่ทำร้านอาหาร ทั้งทำงานและเรียนหนังสือ ผมไม่มีเวลาสำหรับฟุตบอลเลย”
หลังจากต้องทนอยู่กับความหวาดกลัว และเดินทางมากว่า 20 ปี การได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศฮังการีได้เปลี่ยนชีวิตของครอบครัวนี้ไปตลอดกาล
“เป็นครั้งแรกที่เราได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตั้งแต่ที่เราออกจากประเทศบังคลาเทศมา มันเป็นความรู้สึกที่เหลือเชื่อ เมื่อไม่นานมานี้เราได้เดินทางไปกรุงเวียนนากับที่โรงเรียน มันเป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจมากที่ผมสามารถเดินทางจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ด้วยหนังสือเดินทางเหมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป”   คาลัมกล่าวด้วยสำเนียงที่เหมือนออกมาจากปากของชาวฮังการีแท้ๆ

เรื่องโดย Ernő Simon ณ กรุงบูดาเปส ประเทศฮังการี