World Refugee Day

วันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิภุนายน

วัน(s)

:

ชั่วโมง(s)

:

นาที(s)

:

สอง(s)

วันผู้ลี้ภัยโลกคือวันอะไร?

วันผู้ลี้ภัยโลก ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 ตามประกาศของประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญของผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นจากความรุนแรงและการประหัตประหาร  วันผู้ลี้ภัยโลกยังเป็นโอกาสในการสร้างความห่วงใยและความเข้าใจ ต่อพวกเขาที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่โหดร้าย และความเข้มแข็งที่พวกเขามีในการสร้างชีวิตใหม่ให้กับตัวเองและครอบครัว

UNHCR ทำงานด้านมนุษยธรรมอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ลี้ภัย ตลอด 72 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนได้รับสิทธิในการแสวงหาความปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองตามหลักมนุษยธรรม และเราต้องการการสนับสนุนจากคุณเพื่อให้งานที่สำคัญนี้ดำเนินไปถึงจุดมุ่งหมายได้

หากคุณมีคำถามหรือต้องการจัดกิจกรรมเพื่อผู้ลี้ภัยในวันผู้ลี้ภัยโลก สามารถติดต่อเราได้ที่ [email protected] ค้นหารายละเอียดกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลกได้ในคู่มือนี้

กิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลกในประเทศไทย

การประกวดออกแบบโปสเตอร์ 

ขอแสดงความยินดีกับคุณอนุวัต ป้องขัน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโปสเตอร์งานเทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 11 ปีนี้ รวมถึงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้ายอีก 4 ผลงาน

ผลงานและความคิดสร้างสรรค์ของทุกท่านช่วยให้ UNHCR สามารถสื่อสารข้อความภายใต้หัวข้อ “สิทธิในการแสวงหาความปลอดภัย” ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากทุกภาคส่วน ร่วมยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ถูกบังคับให้หนีออกจากบ้านของตน เนื่องจากสงคราม ความขัดแย้ง และการประหัตประหาร

เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 11 (17 – 20 มิถุนายน 2565)

UNHCR ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย, สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย, พารากอน ซีนีเพล็กซ์, ด็อกคิวเมนทารี่ คลับ, ทีวีบูรพา และแปลน ทอยส์ เชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นพื้นที่ปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก เพื่อระลึกถึงความเข้มแข็งและกล้าหาญของพวกเขาด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากทุกภาคส่วน ผ่านงาน “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 11” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ลี้ภัยผ่านภาพยนตร์และสารคดีชื่อดังหลากหลายสาขารางวัลที่คัดสรรมาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชมกันอย่างเต็มอรรถรสอีกครั้งในโรงภาพยนตร์ ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ความฝันอยากจะเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพของเพื่อนสนิทสองคนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซาตารี ประเทศจอร์แดน ดูจะริบหรี่เมื่อชีวิตของพวกเขาต้องฝ่าฝันอุปสรรคด้านอื่นอีกมากมาย จนวันหนึ่งพวกเขาได้รับโอกาสที่สถาบันกีฬาระดับโลกได้หยิบยื่นให้ ทำให้พวกเขามีความหวังอีกครั้ง

ครอบครัวมหัศจรรย์ของมิราเบลต้องลี้ภัยมาอาศัยในโคลอมเบีย ความรักจะช่วยเธอฝ่าฟันอันตรายโอบอุ้มคนในครอบครัวให้ผ่านความสูญเสียและความทรงจำร้ายๆ ครอบครัวของมิราเบลคือความเข้มแข็งของผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ต้องสูญเสียทุกสิ่ง แต่ไม่เคยหมดหวังในการสร้างอนาคตใหม่

ภาพยนตร์เรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ 3 สาขาพร้อมกัน เรื่องจริงของอามิน นาวาบี ที่ต้องลี้ภัยออกจากอัฟกานิสถาน กับความลับที่เขาปกปิดมานานกว่า 20 ปี

หลังต้องประสบเหตุสะเทือนใจ เด็กๆ ผู้ลี้ภัยหลายร้อยคนในสวีเดนได้ปลีกตัวหนีความไม่แน่นอนของชีวิตและเริ่มแสดงอาการป่วยเหมือนอยู่ในสภาวะโคม่าที่เรียกว่า รีซิกเนชันซินโดรม

สารคดีที่ถ่ายทำในความร่วมมือกับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ถ่ายทอดเรื่องราวความเข้มแข็ง รวมถึงความสวยงามของเด็กๆ ผู้ลี้ภัยภายในค่ายผู้ลี้ภัยกูตูบาลองที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กิจกรรมพิเศษเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก

เข้าชมที่พักพิงผู้ลี้ภัยแบบใหม่

Refugee Housing Unit (RHU)

17 – 20 มิถุนายน

ชั้น 5 หน้าทางเข้าโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าพารากอน

เวิร์คช็อประบายสีของเล่นไม้เพื่อเด็กผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

18 มิถุนายน เวลา 10.00 – 18.00 น. ชั้น 5 หน้าทางเข้าโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าพารากอน

(คันละ 390 บาท สามารถนำของเล่นกลับบ้านหรือเลือกบริจาคให้เด็กผู้ลี้ภัย)

*รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้ UNHCR

UNHCR จัดแคมเปญพิเศษเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากทั่วโลกเพื่อผู้ลี้ภัย เพียงอัปโหลดรูปภาพของคุณลงบนเฟรมวันผู้ลี้ภัยโลกโพสต์ลงบนกำแพงรูปภาพ และแชร์ลง Social Media พร้อมติด #WithRefugees #วันผู้ลี้ภัยโลก เพื่อร่วมยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยไปพร้อมกับผู้คนจากทั่วโลก

ร่วมกับเราตอนนี้!

วันผู้ลี้ภัยโลก พ.ศ. 2565

สิทธิในการแสวงหาความปลอดภัย หมายถึงอะไร?

1. สิทธิในการแสวงหาความปลอดภัย

ผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัยจากความขัดแย้ง การประหัตประหาร หรือการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มีสิทธิแสวงหาความคุ้มครองในประเทศอื่น

2. สิทธิในการเข้าถึงความปลอดภัย

ผู้ลี้ภัยควรได้รับการผ่อนปรนให้สามารถข้ามพรมแดนเพื่อเข้าถึงที่พักพิงที่ปลอดภัย การจํากัดการเดินทางและปิดพรมแดนอาจทําให้การเดินทางของผู้ลี้ภัยอันตรายยิ่งขึ้น

3. สิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ

ผู้ลี้ภัยควรได้รับการคุ้มครองและไม่ถูกผลักดันกลับประเทศ หากประเทศต้นทางยังคงมีความอันตรายและทำให้พวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงต่อชีวิตหรือเสรีภาพ

 4. สิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

ผู้ลี้ภัยควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การขอสถานะผู้ลี้ภัยต้องได้รับการพิจารณาจากอย่างเป็นธรรม โดยไม่มีปัจจัยอื่น เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ และประเทศต้นทาง

5. สิทธิการถูกปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ผู้ลี้ภัยควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพและมีศักดิ์ศรีตามหลักมนุษยธรรมเช่นเดียวกับเราทุกคน เช่น การได้อยู่ร่วมกับครอบครัว รวมถึงคุ้มครองพวกเขาจากจากการค้ามนุษย์หรือการกักขังโดยไม่ยินยอม

ติดตามแนวคิดเกี่ยวกับวันผู้ลี้ภัยโลกปีนี้ได้ที่นี่

 

วันผู้ลี้ภัยโลกมีความสำคัญอย่างไร?

วันผู้ลี้ภัยโลก เปรียบเสมือนแสงสว่างที่ทำให้ผู้คนได้ตระหนักเห็นถึงสิทธิ ความต้องการ และความฝันของผู้ลี้ภัย เพื่อขับเคลื่อนเจตจำนงทางการเมืองและทรัพยากรที่จำเป็นให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตและกลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง ขณะที่การมอบความคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้ลี้ภัยในทุก ๆ วัน เป็นเรื่องที่สำคัญ วันสำคัญระดับโลกอย่างวันผู้ลี้ภัยโลกช่วยเน้นย้ำให้ประชาคมโลกเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงซึ่งการจัดกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลก เป็นหนึ่งในการสร้างโอกาสในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้เช่นกัน

วันผู้ลี้ภัยโลกตรงกับวันที่เท่าไหร่ และเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่?

วันผู้ลี้ภัยโลก ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี กำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 เพื่อผู้ลี้ภัยทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีอนุสัญญา ค.ศ. 1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามวันผู้ลี้ภัยแอฟริกา ก่อนที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะประกาศให้เป็นหนึ่งในวันสากลโลก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 อย่างเป็นทางการ

มีอะไรเกิดขึ้นในวันผู้ลี้ภัยโลกบ้าง?

แต่ละปีจะมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในหลายพื้นที่ทั่วโลกเพื่อแสดงพลังในการยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยในวันผู้ลี้ภัยโลก กิจกรรมเหล่านี้จัดขึ้นโดยผู้ลี้ภัยเองหรือเพื่อให้ผู้ลี้ภัยได้มีส่วนร่วม รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐ ชุมชนที่มอบที่พักพิง ภาคเอกชน ผู้มีชื่อเสียง นักเรียน และประชาชนทั่วไป เป็นต้นที่เข้ามามีส่วนร่วม