Skip to main content

ภาษา

 

กุเตอเรสและ โจลี พิตต์จาก UNHCR แถลงต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหัวข้อซีเรีย

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กุเตอเรสและแองเจลีนา โจลี พิตต์ผู้แทนพิเศษฯ UNHCRแถลงต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศซีเรีย

 

นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 24 เมษายน (UNHCR)- ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กุเตอเรส กล่าวเตือนองค์กรนานาชาติเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องทำทุกอย่างสุดความสามารถเพื่อบรรเทาสถานการณ์ในตะวันออกกลางไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ก่อนที่จะไม่สามารถแก้ไขได้

“สถานการณ์ในตะวันออกกกลางนั้นเปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่กำลังแพร่กระจายความเสี่ยง และถ้ายังคงเป็นอยู่เช่นนี้ เราจะพบว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ผิดไปจากตั้งใจของเรา และจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสถานการณโลก” นาย อันโตนิโอกล่าวเตือนต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

ผลกระทบของเหตุการณ์ความขัดแย้งในซีเรียต่อระดับภูมิภาคนั้นเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น “ผู้คนจำนวน 14 ล้านคนต้องพลัดถิ่นจากวิฤติการณ์ระหว่างประเทศซีเรียและอิรัก และประเทศเพื่อนบ้านยังคงได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงที่เลวร้ายลง สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างมากและส่งผลกระทบต่อความความปลอดภัยของชาวซีเรียที่ต้องหลบหนีจากความขัดแย้งในครั้งนี้” ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติกล่าว

“UNHCR เห็นถึงความเหนื่อยล้าของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นต่อผู้ลี้ภัย รวมถึงความตึงเครียดระหว่างองค์กรต่างๆ ในขณะเดียวกันองค์การด้านมนุษยธรรมต่างๆเช่น UNHCR และองค์การอาหารโลกก็พยายามอย่างมากในการรับมือกับความต้องการต่างๆ ผู้คนจำนวนมากไม่มีทางเลือกและต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อหลบหนีเพื่อเอาชีวิตรอดด้วยการเดินทางข้ามเมดิเตอร์เรเนียน” นายอันโตนิโอ กล่าวเสริม

การรับมือในการแก้ปัญหาครั้งนี้ได้สร้างความเสี่ยงมากขึ้น ครอบครัวหลายครอบครัวต้องส่งลูกไปทำงานหรือส่งลูกสาวไปแต่งงาน และยังมีรายงานว่าผู้ลี้ภัยหลายคนต้องขายบริการทางเพศเพื่อเลี้ยงชีวิต
นายอันโตนิโอกล่าวว่ามีเพียงการแก้ปัญหาทางการเมืองเท่านั้นที่จะช่วยยุติความปวดร้าวในครั้งนี้ได้ และเน้นย้ำว่าปัญหาที่ยาวนานนั้นแสดงถึงการให้ความสำคัญที่ยังไม่เพียงพอและ องค์กรนานาชาติต้องทำงานเพื่อป้องกันปัญหาจากวิกฤติการณ์ในครั้งนี้อย่างสุดความสามารถก่อนที่วิกฤติการณ์ในครั้งนี้จะเกินการเยียวยา “ลำดับแรกคือการจัดความสำคัญอย่างเร่งด่วนซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ลี้ภัยและประเทศที่ให้ความช่วยเหลือที่เดือดร้อน และการยุติในเรื่องของจำนวนผู้เสียชีวิตที่เดินทางข้ามเมดิเตอร์เรเนียน”

 “ลำดับที่สองคือ ปริมาณความช่วยเหลือในประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเพิ่มจำนวนอย่างมาก งบประมาณความช่วยเหลือที่มีการประกาศที่ประเทศคูเวตเมื่อเดือนที่แล้วเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยระดับภูมิภาคและแผนการระยะยาวนั้นถือเป็นสัญญาณความช่วยเหลือที่มีความสำคัญและต้องรีบแจกจ่ายเพื่อปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน และรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างโครงการการลงทุนให้แก่องค์กรนานาชาติเพื่อรับความช่วยเหลือด้านงบประมาณถัดไป” นายอันโตนิโอกล่าวเกี่ยวกับแนวคิดด้านกฎหมายความร่วมมือด้านการพัฒนาเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเพื่อรับมือกับปัญหาและช่วยลดภาระที่เกิดขึ้น

“ลำดับที่สามคือ เราต้องเข้าใจถึงสภาพสถานการณ์ด้านวิกฤติการณ์ผู้ลี้ภัยที่ยืดเยื้อนี้ และเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ UNHCR ยังคงเป็นการกลับประเทศโดยสมัครใจเพื่อมอบความปลอดภัยและคืนศักดิ์ศรีให้แก่พวกเขา และสิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้ลี้ภัย ต้องการมากที่สุด แต่เราต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ทางออกสำหรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในตอนนี้ หรืออนาคตอันใกล้”

“ในขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านยังคงต้องการความช่วยเหลือที่เพียงพอเพื่อจัดการกับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และจำนวนการเข้ามาของประชากรผู้ลี้ภัย และจากความช่วยเหลือระหว่างภูมิประเทศ เราจะสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ความไม่มั่นคงและการพึ่งพิง เพื่อกลายเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือได้”

แต่นายอันโตนิโอยังได้คาดว่ายังมีสถานการณ์อันเลวร้ายรออยู่เบื้องหน้า “สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือสถานการณ์ระดับภูมิภาคนั้นกำลังเข้าสู่ความไม่ยั่งยืน หลังจากสถานการณ์ในประเทศอิรักได้ถูกห้อมล้อมโดยความขัดแย้งของประเทศซีเรียและการโจมตีในเมืองโมซูลและเมืองติกริตเมื่อปีที่แล้ว ผมไม่ทราบว่าเหตุการณ์ความเสียหายครั้งหน้าจะเกิดขึ้นที่ใด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้คือมันจะเกิดขึ้น และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น”

ในขณะเดียวกันผู้แทนพิเศษฯ UNHCR แองเจลีนา โจลี พิตต์ ผู้เคยเดินทางเข้าเยี่ยมผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในประเทศอิรัก จอร์แดน เลบานอน ตุรกี และมอลตา 11 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์เดือนมีนาคม ปีพ.ศ 2554 กล่าวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าสหประชาชาติได้ทำให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียผิดหวัง
“ในฐานะตัวแทนผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย ดิฉันขอยื่นคำร้องต่อองค์การนานาชาติ 3 ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือขอความวิงวอนเพื่อความร่วมมือ มันถึงเวลาแล้วที่่คณะมนตีความมั่นคงจะทำงานด้วยความเป็นหนึ่งเพื่อยุติความขัดแย้ง และได้ข้อสรุปเพื่อมอบความยุติธรรมและมอบความไว้วางใจให้กับผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย” แองเจลีนา กล่าว

“ข้อที่สอง คือการให้ความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้านของประเทศซีเรียที่ให้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างเหลือล้น หากเราไม่สามารถยุติเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ได้ เราจะไม่สามารถหาทางออกให้กับความช่วยเหลือทางศีลธรรมกับผู้ลี้ภัยเพื่อมอบความปลอดภัยให้กับพวกเขาได้” และเสริมว่าคำร้องข้อที่สามคือเรื่องการขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากองค์กรนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับความป่าเถื่อนด้านการใช้ความรุนแรงทางเพศ

“เรายังต้องการส่งสัญญาณว่าเรามีความตั้งใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมเหล่านี้มากเท่าใด เพราะนี่คือความหวังในการช่วยเหลือและยับยั้ง และดิฉันขอเรียกร้องประเทศสมาชิกต่างๆให้เริ่มเตรียมการตั้งแต่ ณ ตอนนี้เพื่อที่สถานการณ์ผู้หญิงชาวซีเรียจะได้รับความสำคัญในการเจรจาสันติภาพครั้งหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการแก้ปัญหาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ”