Skip to main content

ภาษา

 

ท่านข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ สรุปการเดินทางปฏิบัติภารกิจในประเทศไทยและพม่า

ท่านข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นายอันโตนิโอ กูเตอเรส “ใหว้” ทักทายพนักงานในวันสุดท้ายของพันธกิจช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

กรุงเทพฯ ยูเอ็นเอชซีอาร์ - ท่านข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นายอันโตนิโอ กูเตอเรสได้สรุปการเดินทางปฏิบัติภารกิจห้าวันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยได้ข้อตกลงจากทั้งในประเทศไทยและพม่าว่าผู้ลี้ภัยควรได้กลับบ้านด้วยความสมัครใจ ปลอดภัย และสมศักดิ์ศรี และสามารถที่จะอยู่“บ้าน”ได้อย่างสงบสุขเมื่อพวกเขากลับไป

"เราไม่ต้องการให้ผู้ลี้ภัยในวันนี้กลายเป็นคนอพยพที่อยู่นอกระบบในวันพรุ่งนี้" เขากล่าว

จากการประชุมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย  นาย กูเตอเรส กล่าวขอบคุณประเทศไทยสำหรับความเอื้ออาทรในการเป็นเจ้าบ้านให้กับผู้ลี้ภัยชาวพม่ากว่าแสนคนมานานกว่าสองทศวรรษ ทั้งสองฝ่ายบรรลุถึง "ข้อตกลง" ที่ว่าผู้ลี้ภัยควรจะกลับบ้านได้ต่อเมื่อพวกเขาสมัครใจที่จะทำเช่นนั้นเท่านั้น

นาย กูเตอเรส กล่าวกับพล.อ.เต็ง เส่งประธานาธิบดีแห่งสพภาพพม่าและเจ้าหน้าที่อาวุโสอื่น ๆ ในการประชุมที่ประเทศพม่าว่ายูเอ็นเอชซีอาร์พร้อมที่จะสนับสนุนการสร้างสันติภาพ โดยผ่านโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยต่างๆในค่ายผู้ลี้ภัยแถบชายแดนไทย-พม่า

"เรามีความยินดีที่จะช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่ควรจะเกิดขึ้นจากความสมัครใจ มีความปลอดภัย และสมศักดิ์ศรี ทั้งของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศตนเองและผู้ลี้ภัยจากค่ายผู้ลี้ภัย  9แห่งในประเทศไทย" เขากล่าวต่อประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ท่านอื่น ๆ

ในการประชุมทั้งในพม่าและกับ  พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติที่กรุงเทพมหานคร ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าการกลับภูมิลำเนาของผู้ลี้ภัยกว่า 150,000คน ใน9ค่ายในประเทศไทยต้องเป็นการกลับถิ่นฐานอย่างมั่นคง หมายถึงผู้ลี้ภัยต้องไม่ถูกประหัตประหารอีก และสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขเหมือนพลเมืองทั่วไป

ทุกฝ่ายยังตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความปลอดภัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้แน่ใจว่าการกลับภูมิลำเนาจะประสบความสำเร็จและผู้ลี้ภัยสามารถมีชีวิตได้อีกครั้งเมื่อพวกเขากลับไป "ไม่มีใครอยากให้ผู้ลี้ภัยกลับบ้านไปและกลับกลายว่าจะต้องหนีอีกครั้ง" นาย กูเตอเรส กล่าวว่า "หรือแย่กว่านั้นคือกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตัวเอง"

เรื่องที่ไม่ค่อยน่ายินดีเท่าใดนักคือเหตุการณ์ความไม่สงบในด้านตะวันตกของรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ที่ทำให้ประชาชนต้องลี้ภัย และจำนวนยังคงเพิ่มขึ้น ยูเอ็นเอชซีอาร์ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้ทั้งประชาชนชาวยะไข่และชาวมุสลิมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

"เราเชื่อว่านี่อาจเป็นช่วยให้มีการประนีประนอมในชุมชนเกิดขึ้นและเราหวังว่าจะมีกฎหมายที่ตั้งขึ้นจากการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในรัฐยะไข่" นาย กูเตอเรส กล่าว

ท่านข้าหลวงใหญ่ฯ ยังได้แสดงความกังวลสำหรับสถานะของการไร้สัญชาติของชาวมุสลิมจากทางตอนเหนือของรัฐยะไข่กว่า 800,000 คน

เขากล่าวกับประธานาธิบดีเต็ง เส่งและรัฐบาลพม่าว่า เขาหวังว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับสัญชาติ และประชาชนชาวมุสลิมที่มีสิทธิที่ควรจะได้สัญชาติจะได้รับสัญชาติ

"ทุกคนควรจะได้รับสถานะทางกฎหมายที่จะให้ทำพวกเขามีสามารถมีสิทธิที่จำเป็นในการมีชีวิตตามปกติในประเทศของเขาเอง" เขากล่าวเสริม

ภารกิจต่อไปของท่านข้าหลวงใหญ่ฯคือการเดินทางต่อไปที่เอธิโอเปียเพื่อเข้าประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกาและปฏิบัติภารกิจภาคสนามสำหรับการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากรัฐบลูไนล์ประเทศซูดาน

เรื่องโดย คิตตี้ แมคคินซี่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย