Skip to main content

ภาษา

 

ยูเอ็นเอชซีอาร์แถลง ตัวเลขผู้ขอลี้ภัย ลดลงกว่าครึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

จำนวนใบสมัครของผู้ขอลี้ภัยใน 44 ประเทศอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2544-2553 เจนีวา 28 มี.ค.

 

สถิติล่าสุดรวบรวมโดยยูเอ็นเอชซีอาร์แสดงถึงการลดลงอย่างมากของจำนวนผู้ ขอลี้ภัยในประเทศอุตสาหกรรมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ในวันจันทร์ ยูเอ็นเอชซีอาร์แถลงถึงรายงานภาพรวมสถิติปีพ.ศ. 2553 ของใบสมัครขอลี้ภัยในยุโรป และบางประเทศที่นอกเขตทวีปยุโรป โดยทั้งหมดคือประเทศอุตสาหกรรม*จำนวน 44 ประเทศที่เป็นฐานข้อมูลสำหรับรายงานเกี่ยวกับการขอลี้ภัยฉบับนี้

จำนวนใบสมัครขอลี้ภัยจำนวน 358,800 ชุดในประเทศอุตสาหกรรมในปีพ.ศ.2553 ถือว่ามีจำนวนลดลงร้อยละ 5 จากปีพ.ศ.2552 ตัวเลขล่าสุดถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นที่ 4 ในช่วงระยะเวลาหนึ่งทศวรรษ และเกือบครึ่ง (ร้อยละ 42) ของใบสมัคร 620,000 ใบที่ยื่นในปีพ.ศ 2544

"ภาวะการลี้ภัยทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป การขอลี้ภัยในประเทศอุตสาหกรรมลดลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ระดับของการขอลี้ภัยในแต่ละปีมีปริมาณมากขึ้นในบางประเทศเท่านั้น” นายอันโตนิโอ กุเตอเรส ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติกล่าว “เราจำเป็นต้องศึกษาสาเหตุที่แท้จริง ของการลดลงว่าเป็นเพราะมีปัจจัยน้อยลงที่ผลักดันในเกิดการลี้ภัยจากประเทศ ต้นทาง หรือการตรวจคนเข้าเมืองมีความเข้มงวดขึ้นในประเทศที่ขอลี้ภัย”

ทวีปส่วนใหญ่ อาทิ ยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียเหนือ รายงานถึงจำนวนการขอลี้ภัยที่ลดลงทุกปี ในทวีปยุโรป มีจำนวนลดลงมากที่สุด (ลดลงร้อยละ 33 จากปีพ.ศ. 2552)โดยเห็นได้จากหลายประเทศทางตอนใต้ เนื่องจากมีผู้ขอความคุ้มครองลดลงใน มอลต้า อิตาลี และกรีซ จำนวนที่ลดลงนี้ กลับทำให้เกิดตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมัน (ร้อยละ 49) สวีเดน (ร้อยละ 32) เดนมาร์ค (ร้อยละ 30) ตุรกี (ร้อยละ 18) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 16) และฝรั่งเศส (ร้อยละ 13)ส่วนประเทศแถบนอร์ดิค การขอลี้ภัยเพิ่มขึ้นในเดนมาร์ค และสวีเดนโดยประเทศที่ตัวเลขลดลงได้แก่ นอร์เวย์ (ลดลงร้อยละ 42) และฟินด์แลนด์(ลดลงร้อยละ 32)

ออสเตรเลียได้รับใบสมัครจำนวน 8,250 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากปีพ.ศ. 2552 แต่ลดลงกว่า 3 เท่าจากปีพ.ศ. 2544 ตัวเลขในปีพ.ศ. 2553 ถือว่าต่ำกว่าตัวเลขที่รายงานจากประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมอื่นๆ ทำให้ออสเตรเลียอยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศอุตสาหกรรมที่รับการลี้ภัยในปีที่ผ่านมา

ประเทศที่รับการลี้ภัย 5 อันดับแรกในปีพ.ศ. 2553 คือ อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน สวีเดน และแคนาดา โดยหากนับใบสมัครรวมกันประเทศเหล่านี้รับใบสมัครขอลี้ภัยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56)ขอการขอลี้ภัยที่รวบรวมไว้ในรายงานฉบับนี้

ด้วยใบสมัคร 55,530 ใบในปีพ.ศ. 2553 สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่รับการลี้ภัยมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 13 จากปีพ.ศ. 2553 สืบเนื่องจากจำนวนผู้ขอลี้ภัยชาวจีน และเม็กซิกันที่มีจำนวนสูงขึ้น ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในอันดับสองโดยมีใบสมัคร 47,800 ใบ ตามด้วยเยอรมัน (41,330)

ทั้งสองประเทศได้รับใบสมัครจำนวนมากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ขอลี้ภัยจากเซอร์เบีย และยูโกสลาเวียเก่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยเหตุนี้ ทำให้สหภาพยุโรปริเริ่มการไม่ใช้วีซ่าเข้าสหภาพยุโรปของประชาชนที่มาจาก สองประเทศนี้ตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีพ.ศ. 2552

เซอร์เบีย (รวมทั้งยูโกสลาเวีย)เป็นประเทศต้นทางอันดับหนึ่งของผู้ขอลี้ภัยในปีที่แล้ว โดยรับผิดชอบใบสมัคร 28,900 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ประเทศอยู่ในอันดับ 6 สิ่งที่น่าสนใจคือ จำนวนใบสมัครขอลี้ภัยในปีพ.ศ. 2552 มีจำนวนพอๆกับปีพ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเวลาไม่นานหลังเกิดวิกฤติโคโซโว

ผู้ขอลี้ภัยจากอัฟกานิสถานเป็นอันดับสองโดยมีจำนวนลดลงร้อยละ 9 เปรียบเทียบจากปีที่แล้ว ผู้ขอลี้ภัยชาวจีนถือเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มผู้ขอลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในปีพ.ศ. 2552 เนื่องจากมีจำนวนใบสมัครของผู้ขอลี้ภัยจากอิรัค และโซมาเลียลดลงอย่างมาก เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ที่อิรัคไม่ได้ติดหนึ่งในสองของประเทศต้นทางของผู้ขอลี้ภัย โดยตกลงเป็นอันดับที่ 4 ตามด้วย รัสเซีย ในขณะที่โซมาเลียที่อยู่ในอันดับ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2552 ตกลงมาเป็นที่ 6 ในปีพ.ศ. 2553

สถิติล่าสุดควรจะได้รับการพิจารณาในบริบทของสถานการณ์ฉุก เฉินในไอเวอรี่ โคสต์ และลิเบีย นายกุเตอเรสชี้แจง“ในภาพรวม ประเทศกำลังพัฒนายังคงเป็นผู้รับผิดชอบในการมอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย” เขากล่าว “ถึงแม้ว่าจะยังมีความท้าทายอีกมากมาย ประเทศอย่างลิเบีย ตูนีเซีย และอียิปต์ ได้เปิดชายแดนเพื่อช่วยผู้ที่เดือดร้อน ผมขอเรียกร้องในทุกประเทศสนับสนุนพวกเขา”

*ประเทศในสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ ร่วมกับอัลเบเนีย ออสเตรเลีย บอสเนียและเฮอร์ไซโกวิน่า แคนาดา โครเอเชีย ไอซ์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี ลิคเทนสไตน์ มอนเตเนโกร นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เซอร์เบีย สวิสเซอร์แลนด์ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และมาซิโดเนีย (ยูโกสลาเวียเก่า)