Skip to main content

ภาษา

ยูเอ็นเอชซีอาร์ ระดมทุน 41 ล้านเหรียญช่วยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมในปากีสถาน

 

ยูเอ็นเอชซีอาร์ ระดมทุน 41 ล้านเหรียญช่วยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมในปากีสถาน

ยูเอ็นเอชซีอาร์ ระดมทุน 41 ล้านเหรียญช่วยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมในปากีสถาน

 

ผู้ประสบภัยกว่า 160,000 คน จากเหตุการณ์อุทกภัยในปากีสถาน ได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน ด้านที่อยู่อาศัย และอุปกรณ์ยังชีพจากยูเอ็นเอชซีอาร์ โดยยูเอ็นเอชซีอาร์ ต้องการงบประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนต่อผู้ประสบภัยอีก 560,000 คน หรือประมาณ 80,000 ครอบครัว

ชาวปากีสถานต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากชุมชนนานาชาติ เมเกชา เคเบด ผู้แทนยูเอ็นเอชซีอาร์ ประจำประเทศปากีสถาน กล่าว อุทกภัยที่เกิดจากพายุฤดูร้อนได้กวาดล้างที่ดิน บ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรม โรงงาน และการหาเลี้ยงชีพของผู้คนหลายล้านคน

ลูกๆของฉัน คิดถึงพ่อของเขา

 

ลูกๆของฉัน คิดถึงพ่อของเขา

ลูกๆของฉัน คิดถึงพ่อของเขา

 

เมืองชาร์ซาดดา ประเทศปากีสถาน 7 ส.ค. (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ซาฮีร์ ชาฮ์ คนขายของเล่นอายุกว่า 40 ปี ชาวบ้านใกล้เมืองชาร์ซาดดา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน สูญเสียทุกสิ่งที่เป็นของเขาจากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่กวาดบ้านเรือนบริเวณที่เขาอาศัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงรถถีบขายของเล่นซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการหารายได้ชิ้นเดียวของเขา ถึงกระนั้นก็ตาม เขาก็คิดว่าเขายังโชคดี

เขาเอาชีวิตรอดมาได้ ในช่วงนั้น เขาต้องอุ้มลูกชายทั้งสองของเขาไว้ที่หลัง เพื่อให้สูงเหนือน้ำ โดยมีครอบครัวของเขาอยู่เคียงข้าง

ยูเอ็นเอชซีอาร์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 250,000 คนในปากีสถาน

 

ยูเอ็นเอชซีอาร์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 250,000 คนในปากีสถาน

ยูเอ็นเอชซีอาร์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 250,000 คนในปากีสถาน

 

เมืองเพชวาร์ ประเทศปากีสถาน 2 ส.ค. ยูเอ็นเอชซีอาร์เข้าร่วมกับหน่วยงานอื่นๆภายใต้สหประชาชาติ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เปราะบางที่สุดจำนวน 250,000 คนจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศปากีสถาน รัฐบาลปากีสถานกล่าวว่า อุทกภัยครั้งนี้ ถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,100 คน และผู้ประสบภัยกว่าหนึ่งล้านคน

คณะทำงานของยูเอ็นเอชซีอาร์ได้เดินทางไปที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานเมื่อวันที่ 2 ส.ค. เพื่อแจกจ่ายเครื่องสาธารณูปโภคเพื่อยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยกว่า 1.5 ล้านคนซึ่งกลายเป็นคนไร้บ้านเนื่องจากพายุฝน และน้ำท่วมเฉียบพลัน

หลายองค์กรร่วมพัฒนาทักษะผู้ลี้ภัยก่อนไปใช้ชีวิตต่างแดน

 

หลายองค์กรร่วมพัฒนาทักษะผู้ลี้ภัยก่อนไปใช้ชีวิตต่างแดน

 

กรุงเทพฯ 22 ก.ค.-ภาคเอกชนและเอ็นจีโอให้ความช่วยเหลือยูเอ็นเอชซีอาร์ ในการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักฟื้นชายแดนไทย-พม่า เพื่อให้สามารถไปใช้ชีวิตในประเทศที่สามได้ ระบุไม่ใช่ผู้ลี้ภัยทุกคนที่ต้องการเดินทางไปประเทศที่สาม แต่เพียงไม่ต้องการกลับประเทศบ้านเกิด เพราะกลัวภัยอันตราย และไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมเข้ารับการฝึกอบรม ขณะนี้มีผู้เข้าอบรม 2 รุ่น และส่งไปสหรัฐอเมริกาแล้ว 3 คน ยังไม่มีงานทำ แต่อยู่ในระหว่างช่วยเหลือ

บริษัท แมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย)

 

บริษัท แมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย)

บริษัท แมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย)

 

บริษัท แมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย) ร่วมมือกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) จัดแถลงผลการดำเนินงานโครงการนำร่อ ง การฝึกอบรมผู้ลี้ภัยที่เป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว บ้านแม่หละ จังหวัดตาก ในการเตรียมความพร้อมเพื่อการหางาน และใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยครูผู้สอนและพนักงานอาสาสมัครจากบริษัทแมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย) เพื่อให้ความรู้ต่อผู้ลี้ภัยโดยใช้วิดีโอ การจำลองบทบาท และการสอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเรียนรู้ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสำนักงานในอเมริกา ภายในงานมี มร.ไซมอน แมทธิว (ซ้าย)ผู้จัดการทั่วไป บริษัทแมนพาวเว

บ.แมนเพาเวอร์ ร่วมกับยูเอ็นเอชซีอาร์อบรมผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเมริกา

 

บ.แมนเพาเวอร์ ร่วมกับยูเอ็นเอชซีอาร์อบรมผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเมริกา

บ.แมนเพาเวอร์ ร่วมกับยูเอ็นเอชซีอาร์อบรมผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเ

 

ค่ายแม่หละ ประเทศไทย 22 ก.ค. (ยูเอ็นเอชซีอาร์) อา ยอ พอ ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอายุ 26 ปีตัดสินใจขออนุญาตเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยความหวังว่าลูกชายเล็กๆทั้งหมดของเธอจะได้รับการศึกษาที่ดี

เที่ยวบินบรรเทาทุกข์เที่ยวแรกได้ลงจอดในเมืองออชเพื่อช่วยเหลือคน 15,000 คน

 

เที่ยวบินบรรเทาทุกข์เที่ยวแรกได้ลงจอดในเมืองออชเพื่อช่วยเหลือคน 15,000 คน

เที่ยวบินบรรเทาทุกข์เที่ยวแรกได้ลงจอดในเมืองออชเพื่อช่วยเหลือคน 15,000 คน

 

เครื่องบินขนสินค้าลำแรกบรรทุกที่พักอาศัยและสิ่งบรรเทาทุกข์จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) เดินทางมาถึงเมืองออช ประเทศคีร์กิซสถานตามเวลาท้องถิ่น ส่วนลำที่สองคาดว่าจะถึงภายในหนึ่งวัน

เครื่องบินสองลำซึ่งเป็นเที่ยวบินบรรทุกสินค้าเที่ยวแรกของ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ที่มาถึงเมืองออชนับแต่วิกฤตการณ์ปะทุขึ้นได้นำสิ่งของช่วยเหลือ 80 ตันสำหรับผู้คนประมาณ 15,000คน และสิ่งของช่วยเหลืออีก240 ตันสำหรับผู้ลี้ภัยที่พร้อมที่จะย้ายไปยังอุชเบกิซสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

ยูเอ็นเอชซีอาร์จัดงานวันผู้ลี้ภัยโลกในประเทศไทย

 

ยูเอ็นเอชซีอาร์จัดงานวันผู้ลี้ภัยโลกในประเทศไทย

ยูเอ็นเอชซีอาร์จัดงานวันผู้ลี้ภัยโลกในประเทศไทย

 

เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันผู้ลี้ภัยโลกในวันที่ 20 มิถุนายน ยูเอ็นเอชซีอาร์ ได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวความคิดเดียวกันทั่วโลก “Home -- They took my home but they can’t take my future” หรือ “บ้าน ผู้ลี้ภัยอาจถูกบังคับให้ออกจากบ้าน แต่ไม่มีใครทำลายอนาคตพวกเขาได้” โดยในประเทศไทย ยูเอ็นเอชซีอาร์ จัดกิจกรรมทั้งในค่ายผู้ลี้ภัย กลางเมืองในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพ กิจกรรมทั้งหมดมีระยะเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ตั้งแต่ 18-29 มิ.ย. เพื่อระลึกถึงชัยชนะ และความยากลำบากที่ผู้ลี้ภัยต้องพบเจอ

วันผู้ลี้ภัยโลก

 

วันผู้ลี้ภัยโลก

วันผู้ลี้ภัยโลก

 

มีคนกล่าวว่าการได้อยู่ในบ้าน เหมือนอยู่ในปราสาท เพราะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และสะดวกสบาย แต่สำหรับคนอีกหลายล้านคน บ้านกลับเป็นเพียงความทรงจำอันเลือนลาง เป็นสถานที่ที่พวกเขาต้องหลบหนีจากความรุนแรง และการถูกกดขี่ข่มเหง หลายคนต้องอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว หนึ่งในนั้นคือ ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่ากว่า 100,000 คนที่อาศัยในประเทศไทยกว่า 20 ปี

บ้างก็มีความฝันว่าจะได้กลับบ้าน บ้างก็หวังว่าจะได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ แต่สิ่งที่ผู้ลี้ภัยทุกคนต้องการคือบ้านที่แท้จริง ที่ที่พวกเขาสามารถสร้างชีวิตใหม่ได้

แองเจลิน่า โจลี่พบครอบครัวผู้พลัดถิ่นในบอสเนียที่ยังคงดิ้นรนหาที่อยู่

 

แองเจลิน่า โจลี่พบครอบครัวผู้พลัดถิ่นในบอสเนียที่ยังคงดิ้นรนหาที่อยู่

 

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน ณ กรุงซาราเจโว แองเจลิน่า โจลี่ ทูตสันถวไมตรีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กับแบรด พิทท์คู่รักของเธอ เดินทางไปเยี่ยมผู้พลัดถิ่นภายในประเทศและผู้พลัดถิ่นที่ได้กลับสู่บ้านเกิด ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า การเดินทางของโจลี่ เกิดขึ้น 14 ปีหลังจากสงครามที่ทำลายทวีปบอลข่าน เธอใช้เวลาว่างจากการถ่ายภาพยนตร์เรื่องใหม่ของเธอเพื่อเยี่ยมชาวบอสเนีย จำนวน 113,000 คน ที่ถูกขับไล่จากบ้านเกิดของพวกเขา และผู้ลี้ภัยจากโครเอเชียจำนวน 7,000 คน โดยอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพและส่วนใหญ่อยู่ในสภาพหวาดกลัว