Skip to main content

ภาษา

 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติเรียกร้องความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ให้กับซูดานใต้

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กุเตอเรส พบกับกลุ่มผู้คืนถิ่นฐานชาวซูดานใต้ที่ได้กลับบ้านอย่างมีความสุขหลังจากเสี่ยงชีวิตล่องเรือกลางแม่น้ำไนล์อยู่นานหลายวัน

 

ค่ายโดโร ประเทศซูดานใต้ – ในวันจันทร์ที่ผ่านมาข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กุเตอเรสเรียกร้องนานาชาติให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ “ยิ่งใหญ่” ให้กับซูดานใต้เนื่องจากประสบปัญหาความขัดแย้งและการถูกบังคับให้ลี้ภัย

นาย กุเตอเรส กล่าวต่อผู้ลี้ภัยที่ค่ายโดโรว่า ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ "จะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรับมือกับสถานการณ์นี้...เราอาจจะต้องเจอกับความหายนะได้ในที่สุด" ค่ายโดโรรองรับผู้ลี้ภัยกว่า 28,000 คนที่ลี้ภัยมาที่ประเทศซูดานใต้เนื่องจากการสู้รบกับระหว่างกองทัพซูดานและกลุ่มกองทัพปลดปล่อยซูดานเหนือ ในรัฐบลูไนล์

เพียงแค่ 6 เดือนหลังจากที่ประเทศซูดานใต้ได้ประกาศอิสรภาพเป็นประเทศใหม่  พื้นที่ขัดแย้งกับประเทศซูดานได้กลายมาเป็นพื้นที่รองรับผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคน

นาย กุเตอเรส แจ้งต่อว่าประเทศซูดานใต้กำลังเผชิญกับ "การทนทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่ซับซ้อน- ผู้ลี้ภัยมากกว่า 80,000 คน ลี้ภัยจากรัฐบลูไนล์และรัฐโคโดฟานใต้ ประเทศซูดาน และยังมีความขัดแย้งภายในที่รุนแรงและการผลัดถิ่นภายในรัฐจองเลย์" เขาเสริมอีกว่า กลุ่มต่อต้านจากยูกันดาเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งนี้

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติได้พูดคุยกับผู้ลี้ภัยหลายคนในค่ายโดโร หนึ่งในนั้นคือผู้หญิงที่ลี้ภัยมาพร้อมเด็กอีก 3 คนจากรัฐบลูไนล์ "เรานึกว่าบ้านเราจะสงบได้นานกว่านี้ พอเกิดระเบิดเราก็รีบหนีออกมา" เธอกล่าวต่อนาย กุเตอเรส

ทั้งเหนื่อยล้า หิวโหย และ อ่อนแอ ผู้หญิงและเด็กต้องเดินเท้าเป็นเวลาหลายวันในการหาเส้นทางที่ปลอดภัยเพื่อที่จะข้ามชายแดนทางด้านเหนือของรัฐไนล์ มายังค่ายโดโร กลุ่มผู้ชายต้องอยู่ที่เดิมเพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินและปกป้องอาณาเขต

นอกเหนือจากผู้อาศัย 28,000 คนที่ค่ายโดโร ยังมีกว่า 25,000 คนที่ยังคงลี้ภัยอยู่ที่ต่างๆตามตอนเหนือของรัฐไนล์ การสู้รบที่รัฐบลูไนล์ยังคงเป็นเหตุทำให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นมาที่ประเทศซูดานใต้และเอธิโอเปียอย่างไม่ขาดสาย

 "ผู้หญิงร้องไห้เพราะว่าลูกๆของพวกเธอป่วย ผู้หญิงร้องไห้เพราะว่าลูกๆของพวกเธอหิว" กล่าวโดย นาย โจเซฟ ลอล เอคูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมนุษยธรรม ประเทศซูดานใต้ โดยร่วมเดินทางไปกับข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ที่ค่ายโดโร

ยูเอ็นเอชซีอาร์ใช้การขนส่งทางอากาศเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลโดยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในการสร้างที่พักพิงชั่วคราวและ การแจกจ่ายอุปกรณ์บรรเทาทุกข์ให้กับผู้ลี้ภัย เนื่องจากจำนวนผู้ลี้ภัยที่อพยพเข้ามาที่ค่ายโดโรอย่างน้อย 1,000 คนต่อสัปดาห์ นายเอคูลเรียกร้องความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนให้เกิดขึ้นในภายในช่วง 2 เดือนนี้ที่เป็นฤดูแล้ง ไม่อย่างนั้นถ้าเรารอ "พื้นที่ตรงนี้จะถูกปิดล้อม" เขากล่าว

ในขณะที่ผู้ลี้ภัยหลายพันคนยังคงหาที่อพยพในรัฐยูนิตี้ ประเทศซูดานใต้ และส่วนใหญ่มาที่หมู่บ้านยิดา ในการประชุมกับผู้นำผู้ลี้ภัย ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติได้ขอให้ผู้ลี้ภัยอพยพไปที่ๆยูเอ็นเอชซีอาร์เตรียมไว้ไห้ซึ่งเป็นที่ๆปลอดภัยกว่านี้ ซึ่งอยู่ห่างจากประมาณชายแดนประมาณ 50 กิโลเมตร

ระหว่างที่ประชุมกับนาย กุเตอเรส ผู้นำผู้ลี้ภัยอ้างว่า ยังคงมีผู้ลี้ภัยอีกประมาณ 300,000 คนที่อพยพอยู่ที่แถบเทือกเขานูบา ซึ่งน่าสงสารและมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติยังได้พบกับชาวซูดานใต้หลายคนที่ได้กลับมามีชีวิตใหม่ที่ประเทศซูดานใต้ หลังจากการเหน็ดเหนื่อยงจากเสี่ยงชีวิตล่องเรือกลางแม่น้ำไนล์อยู่หลายวัน พวกเขาก็ได้มาถึงจุดหมายปลายทาง โดยความช่วยเหลือจากยูเอ็นเอชซีอาร์และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ชาวซูดานใต้มากกว่า350,000 คนได้กลับมาประเทศซูดานใต้หลังจากมีการประกาศอิสรภาพ และยังคงมีอีกประมาณ 700,000 คนที่ยังคงอยู่ที่ประเทศซูดาน

โดย เมลิสสา เฟลมมิ่ง ใน ค่ายโดโร ประเทศซูดานใต้