Skip to main content

ภาษา

ผลงานจากเงินบริจาค

Global Trends Report 2018

Global Trends Report 2018

โครงการด้านมนุษยธรรมสำหรับเด็กผู้ลี้ภัย

การจดทะเบียนเกิด

สัญชาตินั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลและรัฐซึ่งจะปกป้องสิทธิของบุคคล และป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไร้สัญชาติ UNHCR ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยหรือที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์ได้รับการลงทะเบียนเกิดตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ฉบับแก้ไข โดยตั้งแต่ปีพ.ศ 2553 มีเด็กจำนวนมากกว่า 11,000 คนได้รับใบรับรองการเกิด

ในปีพ.ศ. 2559 UNHCR ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกสูติบัตร 1,627 ใบ และลงทะเบียนเกิดแก่เด็กที่เกิดในค่ายผู้ลี้ภัย 1,739 คน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร (ฉบับที่2) พ.ศ.2551 ให้ได้รับเอกสารรับรองการเกิดเพื่อป้องกันการไร้รัฐไร้สัญชาติและมอบหลักฐานการมีตัวตนให้แก่เด็ก ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการจ้างงานในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องพวกเขาจากการแต่งงานก่อนวัยอันควร และการค้ามนุษย์อีกด้วย

[ข้อมูลเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560] 

การคุ้มครองเด็ก
  • เด็กที่ไม่มีพ่อแม่: กว่าครึ่งของผู้ลี้ภัยในค่ายเป็นเด็ก จำนวนหนึ่งถูกพลัดพรากจากครอบครัวหรือกลายเป็นเด็กไม่มีพ่อแม่ต้องอาศัยอยู่ในค่ายโดยลำพัง ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกแสวงหาผลประโยชน์ การบริจาคอย่างต่อเนื่องของท่านได้ช่วยให้เด็กผู้ลี้ภัยได้รับความคุ้มครอง กิจกรรมโครงการคุ้มครองเด็กนั้นได้ช่วยสนับสนุนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และช่วยดูแลสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขา 

 

  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษ: เด็กผู้ลี้ภัยผู้พิการและเด็กที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจจากการพบเห็นเหตุการณ์รุนแรงระหว่างสงครามและความขัดแย้งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ในปี 2559 UNHCR ให้ความคุ้มครองเด็ก 3,479 คน ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 ค่ายในประเทศไทยจากสถานการณ์ดังกล่าว

 

[ข้อมูลเดือนตุลาคม 2560]

 

โครงการด้านมนุษยธรรมสำหรับผู้ลี้ภัยหญิงโดยเฉพาะแม่เลี้ยงเดี่ยว และผู้หญิงที่อยู่ในความเสี่ยง

หยุดใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง

ความรุนแรงต่อผู้หญิง และเด็กผู้หญิงนั้นถือเป็นหนึ่งในการละเมิดสิทธิทางมนุษยชนที่รุนแรงที่สุด UNHCR จัดกิจกรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อหยุดยั้งเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศในค่ายผู้ลี้ภัย รวมถึงการพูดคุยถึงมุมมองทางเพศที่เข้าร่วมโดยกลุ่มผู้ชายและผู้หญิง นอกเหนือจากนั้น UNHCR ได้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศ เพื่อให้พวกเขาได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยในปี 2559 UNHCR ได้ให้ความคุ้มครองผู้หญิงจำนวน 101 คน จากความรุนแรง 

[ข้อมูลเดือนตุลาคม 2560]

ให้ความรู้ป้องกันความรุนแรง

การให้ความรู้แก่ผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับการป้องการความรุนแรงทางเพศและการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ทั้งในผู้หญิง ผู้ชายและเด็กเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการการทำงานการป้องกันความรุนแรง เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของตนเอง เคารพในความแตกต่างและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและปลอดภัย รวมถึงให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน เป็นวิธีการป้องกันความรุนแรงและการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่ยั่งยืน โดยในปี 2559 UNHCR ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาความรุนแรงทางเพศแก่ผู้ลี้ภัยในค่ายกว่า 13,028 คน

[ข้อมูลเดือนตุลาคม 2560]

โครงการด้านมนุษยธรรมช่วยเหลือผู้พิการและผู้รอดชีวิตจากกับระเบิด

 

 

 

 

ผู้ลี้ภัยจำนวนมากสูญเสียอวัยวะจากการเหยีบกับระเบิดหรือถูกทำร้ายรุนแรงในสงครามและความขัดแย้งที่ประเทศบ้านเกิด UNHCR ให้ความคุ้มครอง ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยผู้พิการในด้านต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการรักษา สามารถดูแลตัวเองได้และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีอีกครั้ง 

  • ในปี 2559 ผู้ลี้ภัยผู้พิการ 397 คน ได้รับการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการฟื้นฟูทางกายภาพและห้องเรียนพิเศษเพื่อช่วยเด็กพิการให้ร่างกายแข็งแรง และพัฒนาในด้านจิตใจ
  • พัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงด้านต่างๆของผู้พิการ UNHCR ได้ปรับปรุงบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะ เช่น ทางเดิน โถชำระ เพื่อรองรับกับความต้องการเฉพาะด้านของผู้พิการ
  • ให้คำปรึกษาด้านการเยียวยาจิตใจแก่ผู้ลี้ภัย 3,043 คน ในปี 2560

 

[ข้อมูลเดือนตุลาคม 2560] 

 

 

โครงการด้านมนุษยธรรมสำหรับผู้สูงอายุ

 

การให้ความคุ้มครองและคืนครอบครัวที่พลัดพราก

UNHCR ทำงานให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยผู้สูงอายุ เยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยโดยลำพัง

 

เราเชื่อว่า 1 ครอบครัวที่ถูกพรากจากสงครามก็มากเกินไป  UNHCR ช่วยคืนครอบครัวที่ถูกพลัดพรากให้ได้พบหน้ากันอีกครั้ง เพื่อให้พวกเขาสามารถเริ่มชีวิตใหม่ด้วยกันที่ค่ายผู้ลี้ภัย หรือตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศที่ 3 ผ่านโครงการตั้งถิ่นฐานใหม่ หรือกิจกรรมคืนครอบครัว UNHCR ได้ช่วยระบุสถานะผู้ลี้ภัยสำหรับหลายพันคนที่ไม่มีเชื่อมโยงกับผู้ลี้ภัยที่ได้รับการลงทะเบียนที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่หรืออยู่ในกระบวนการพิจารณา ให้ได้รับการพิจารณาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ 3 เพื่อคืนครอบครัว 

เรื่องราวของเงินบริจาคอื่นๆ

โครงการฝึกอาชีพ

โครงการฝึกอาชีพ

จากการสนับสนุนของท่าน UNHCR สามารถให้การสนับสนุนโครงการฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ลี้ภัยจำนวน 706 คนเพื่อช่วยฝึกฝนให้พวกเขามีทักษะในการประกอบอาชีพในด้านต่างๆ เช่น ทำผม ทำอาหาร การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น ซ่อมแซมเครื่องยนต์ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและการเย็บผ้า โดยโครงการเหล่านี้ได้รับการรับรองจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศักจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อช่วยเสริมทักษะ และสร้างอาชีพ

 

โครงการเกษตรกรรม

โครงการเกษตรกรรมมีผู้ลี้ภัยกว่า 200 คนเข้าร่วม โดยโครงการนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้หญิงที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เป็นสำคัญ

การหาทางออกที่ยั่งยืน

การระบุตัวตน

เป้าหมายของการระบุตัวตนด้านอัตลักษณ์ และการอัพเดตข้อมูลของผู้ลี้ภัยพม่าที่อาศัยอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยนั้นคือทางออกที่ยั่งยืน และทำให้การประสานงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคจึงทำให้ผู้ลี้ภัยชาวพม่าจำนวน 110,000 คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยสามารถได้รับบัตรระบุตัวตนที่ถูกบันทึกข้อมูลอัตลักษณ์ของตนได้

 

 

การตั้งถิ่นฐานใหม่

 
ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยไม่สามารถเดินทางกลับประเทศของตนได้ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้ง สงคาม และการประหัตประหารในประเทศของตนโครงการตั้งถิ่นฐานใหม่จึงถือเป็นหนึ่งในทางออกที่ยั่งยืนสำหรับพวกเขาให้ได้เริ่มชีวิตใหม่ในประเทศที่ 3 และด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของท่านจึงทำให้ผู้ลี้ภัยมากกว่า 90,000 คนนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 สามารถเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ใน 13 ประเทศทั่วโลก

บุคคลในความห่วงใยกลุ่มอื่นๆของ UNHCR

โรฮิงญา

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาหลายคนต้องผ่านประสบการณ์การถูกทำร้ายร่างกายอย่างทารุณและถูกริดรอนสิทธิบนเรือโดยผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองเรือ UNHCR ได้ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ โดยมอบความช่วยเหลือกับผู้ที่รอดชีวิตจากผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองโดยการมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์เร่งด่วน โดย UNHCR ได้มอบชุดทำความสะอาดจำนวน 2,696 ชุด ชุดอนามัย 181 ชุด ผ้าห่ม 228 ผืน และ สิ่งของบรรเทาทุกข์อื่นๆใน 18 แห่งของประเทศไทย เจ้าหน้าที่ UNHCR ได้ทำการสัมภาษณ์เพื่อช่วยคืนครอบครัว 30 ครอบครัวที่พรากจากกันระหว่างการเดินทาง ให้คำปรึกษา และหาความเป็นไปได้สำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับบุคคลที่เปราะบางที่สุด

บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ
อาณัติ UNHCR รวมถึงการป้องกันและการลดลงของการบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลกเช่นเดียวกับการปกป้องสิทธิของพวกเขา โดยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2557, UNHCR ได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยในการให้ทุนสำหรับการจัดหนังสือคู่มือจำนวน 1,500 เล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอะที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการยื่นขอสัญชาติ เพื่อช่วยอบรมนายทะเบียน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเคลื่อนที่ที่ประจำในจังหวัดตาก และเชียงราย ที่มีกระบวนการยื่นขอสัญชาติ