Skip to main content

Languages

Visionary Nigerian teacher wins UNHCR Nansen Refugee Award

 

Visionary Nigerian teacher wins UNHCR Nansen Refugee Award

© UNHCR/Rahima Gambo

 

Mediator who helped gain release of Chibok girls wins humanitarian honour for opening schools amid conflict in north-eastern Nigeria.

© UNHCR/Rahima Gambo

 

Zannah Mustapha, a champion for the rights of displaced children growing up amid violence in north-eastern Nigeria to get a quality education, has been named the 2017 winner of UNHCR’s Nansen Refugee Award.

Mustapha founded a school in 2007 in Maiduguri – the capital of Borno State and the epicentre of the Boko Haram insurgency. The school has stayed open throughout the conflict with Boko Haram, which has seen some 20,000 killed across the Lake Chad region, and millions more displaced.

The school provides a free education, as well as free meals, uniforms and health care, to children affected by violence. Those orphaned by the conflict on both sides are welcomed into Mustapha’s classrooms as a sign of the reconciliation he hopes to achieve in the region.

“Conflict can leave children with physical and emotional scars that are deep and lasting. It forces them from their homes, exposes them to unspeakable atrocities, and often rips apart their families,” said UN High Commissioner for Refugees Filippo Grandi.

“Education is one of the most powerful tools for helping refugee children overcome the horrors of violence and forced displacement. It empowers young people, equips them with skills and works to counter exploitation and recruitment by armed groups,” Grandi added. “The work Mustapha and his team are doing is of the utmost importance, helping to foster peaceful coexistence and rebuild communities in north-eastern Nigeria. With this award, we honour his vision and service.”

 

   © UNHCR/Rahima Gambo

 

The announcement of this year’s Nansen Refugee Award winner by UNHCR, the UN Refugee Agency, comes as tens of thousands of Nigerian youth are growing up without an education. The country’s education sector is strained by its expanding youth population, and facilities in the north-east remain under attack by Boko Haram, who have destroyed schools and killed teachers.

“Schools lie at the heart of a society. Destroying them crushes the chance of Nigeria’s next generation succeeding,” said the Norwegian Refugee Council’s Secretary General Jan Egeland, whose organization co-manages the Nansen Refugee Award project. “The recognition of Zannah Mustapha’s brave work highlights the importance of education for the future of Nigeria.

In the decade since its inception, the school has swelled from 36 students to 540. Desperate for an education, thousands more children have added their names to its waiting list. In 2016, Mustapha opened a second school just a few kilometres away from the first. Eighty-eight children, all of whom have fled conflict in the region, walk through its classroom doors each day.

Mustapha’s work in the region also includes negotiating the release of hostages. When the 21 young women who had been held captive for more than two years were released, Mustapha was there. He had been instrumental in securing their freedom – as well as the release of 82 additional Chibok girls in May 2017.

Mustapha and his volunteer group of educators know the risks they face, but their work is too important not to soldier on. “This school promotes peace,” Mustapha said. “It is a place where every child matters,” he added. “These children shall be empowered, empowered in such a way that they can stand on their own.”

In addition to his education work, Mustapha has demonstrated a commitment to helping all parts of society affected by conflict. His support was instrumental in setting up a cooperative for widows, providing much-needed support for nearly 600 women in Maiduguri.

UNHCR’s Nansen Refugee Award honours extraordinary service to the forcibly displaced, and names Eleanor Roosevelt, Graça Machel and Luciano Pavarotti among its laureates. The 2017 ceremony will be held on 2 October in Geneva, Switzerland.

 

 

 

About UNHCR’s Nansen Refugee Award:

UNHCR’s Nansen Refugee Award recognizes extraordinary humanitarian work on behalf of refugees, internally displaced or stateless people. The award includes a commemorative medal and a US$150,000 monetary prize. In close consultation with UNHCR, the laureate uses the monetary prize to fund a project that complements their existing work.

 

The Nansen Refugee Award program is funded in partnership with the Norwegian Refugee Council, the Swiss Government, The Norwegian Government and the IKEA Foundation.

Bangladesh Emergency Receives US$1 Million Donation from Tadashi Yanai, CEO of Fast Retailing

 

Bangladesh Emergency Receives US$1 Million Donation from Tadashi Yanai, CEO of Fast Retailing

© UNHCR/Vivian Tan

 

นายทาดาชิ ยาไน ประธานและซีอีโอ บริษัท บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด  บริษัทแม่ของแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น คือ  ยูนิโคล่ (UNIQLO) บริจาคจำนวน 1 ล้านเหรียญ ให้สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อช่วยชีวิตชาวโรฮิงญาซึ่งลี้ภัยไปยังประเทศบังกลาเทศ 

 

 

The UN refugee agency today welcomes a personal donation of US$1 million from Mr. Tadashi Yanai, Chairman, President and CEO of Fast Retailing.Co., Ltd., parent company of Japan’s leading apparel brand, UNIQLO. The funds donated by Mr. Yanai will be used for UNHCR to provide life-saving humanitarian assistance to Rohingya refugees newly arrived in Bangladesh.

412,000 refugees are estimated to have arrived in Bangladesh since violence broke out in the northern part of Myanmar’s Rakhine state on 25 August 2017 (As of 18 September). UNHCR is leading the response in Kutupalong and Nayapara camps where UNHCR teams are providing refugees with life-saving assistance, including emergency shelter, food, clothing and core relief items.

Tadashi Yanai and UNIQLO have been supporting displaced people and UNHCR since 2006. As an influential global business leader, he has actively advocated for refugee causes and mobilized support from the business sector as well as made personal donations for UNHCR. Under his strong leadership, and with his firm commitment to the refugee cause, UNIQLO is expanding its support for refugees and UNHCR.

UNIQLO became UNHCR’s first global partner in Asia in 2011. The company’s support has been multi-faceted, including in-kind contribution of clothes donated by UNIQLO customers, employment of refugees in Asia and Europe, support for UNHCR’s advocacy activities, and substantial financial contributions for livelihoods of refugees in Asia and emergencies. UNIQLO has donated clothes for Rohingya refugees in Bangladesh annually since 2012, totalling over 47,000 items of clothing. Furthermore, UNIQLO employs Rohingya refugees residing in Japan at UNIQLO stores.

“Mr. Tadashi Yanai’s contribution shows his and UNIQLO’s great commitment to refugees and their hosts.  His generosity is critically important given the need to respond quickly to the unfolding humanitarian emergency in Bangladesh. Mr. Yanai and UNIQLO have set a great example of innovative assistance for refugees that we hope many other corporations will follow,” said Kelly T. Clements, UNHCR’s Deputy High Commissioner. “A crisis of this scale and magnitude cannot be tackled only by states or aid agencies.  Such a crisis requires concerted action by all of us, including the business community.”

Large numbers of Rohingya refugees continue to arrive daily. Many are wading through vast rice fields and jungles to cross the border into south-eastern Bangladesh. Still more are risking their lives, braving the rough seas of the Bay of Bengal by boat. The scale of influx into Bangladesh has reached levels not seen since the 1990’s.

For more information on the emergency or support us to provide the life-saving humanitarian assistance to Rohingya refugees, please contact our private service partnership staff (Mr. Sawai Seesai), Phone 02 288 2880.

 

จุดประกาย: “สงครามและน้ำใจ” ของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

 

จุดประกาย: “สงครามและน้ำใจ” ของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

 

“สงครามและน้ำใจ” ของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

ถ้าเรื่องผู้ลี้ภัยทำได้มากกว่าแค่รับฟัง เขาคืออีกคนที่อยากชวนให้เราทำอะไรบางอย่าง

 “In peace sons bury their fathers. In war fathers bury their sons” (เฮอรอโดทัส)

“War is young men dying and old men talking” (แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์)

“Only the dead have seen the end of war” (เปลโต)

คำพูดทั้งหมดดูจะสรุปไปในทางเดียวกัน คือ สงครามมีแต่ความสูญเสีย

ในยามสันติคงต้องเป็นลูกชายเท่านั้นที่ควรฝังศพพ่อของเขา ตรงข้ามกับช่วงสงครามที่อาจเป็นฝั่งพ่อเสียเองที่ต้องจัดการร่างของลูกชาย สงครามคือสิ่งที่คนแก่สร้างเพื่อให้คนหนุ่มต้องไปตาย และคงมีแต่การตายเท่านั้นที่เป็นจุดจบของสงครามที่แท้จริง

ไม่ว่ามันจะมีจุดเริ่มต้นและขยายขอบเขตไปถึงเรื่องใดบ้าง แต่เรื่อง “ผู้ลี้ภัย” คือผลพวงหนึ่งของสงครามและความรุนแรงซึ่งเกิดในทุกพื้นที่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จึงริเริ่มโปรเจค“Namjai for Refugees”เพื่อช่วยระดมทุนช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เปราะบางที่สุด อย่าง ผู้หญิง และเด็ก

ในประเทศไทยโปรเจคนี้ถูกริเริ่มเมื่อปีก่อน โดยมีคนดัง อาทิ สหรัถ สังคปรีชา, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, ครอบครัววรรธนะสิน ฯลฯ เข้าร่วมด้วย และระหว่างที่โปรเจคดำเนินไป ในปีนี้ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเขียนหนุ่ม นักทำสารคดี และนักเดินทางได้เข้ามาร่วมด้วย ก่อนที่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหมาดๆ เขาเพิ่งเสร็จจาก Talk Show “สงคราม และน้ำใจ” ซึ่งสะท้อนประสบการณ์จากการได้ไปเยือนผู้ลี้ภัยในค่าย ไม่ว่าจะเป็นค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย หรือค่ายผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ

ก่อนขึ้นพูดไม่กี่ชั่วโมง วรรณสิงห์ บอกว่า เป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะอธิบายถึงสงครามในทุกมิติ หรือตอบคำถามว่าอะไรคือการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยได้ดีที่สุด แต่ประเด็นหนึ่งที่เราสามารถผลักดันร่วมกันได้ในฐานะมนุษย์โลกคือการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยที่อยู่ในที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทยตามแถบชายแดนไทย-พม่า ซึ่งในจำนวนนับแสนคนนี้มีทั้งที่เป็นเด็ก สตรี เป็นบุคคลที่มีศักยภาพไม่ต่างจากเราๆท่านๆ ทว่ากลับไม่เคยได้รับโอกาสแม้แต่จะออกนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวด้วยซ้ำ และจากนี้ไปคือบทสนทนาระหว่างเรากับวรรณสิงห์ ถึงเรื่องผู้ลี้ภัย การเดินทาง และมุมมองผ่านการทำงาน

 

คุณเป็นคนทำสารคดี เป็นนักเขียน แต่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ เราเริ่มเห็นคุณบนเวที ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้างไหม

จริงๆไม่ได้เยอะขนาดนั้น และผมไม่ได้มองตัวเองเป็นนักพูด นี่อาจเป็นงาน Talk เดี่ยวงานแรก ที่จัดกันจริงๆจังๆ ด้วยซ้ำและผมก็ไม่ได้จัดเอง อย่าง TEDx Bangkok หรือตามมหาวิทยาลัยที่เขาเชิญเราไปพูดเพราะเราทำงานหลักของเราคือการทำสารคดี เขียนหนังสือมากกว่า นี่ยังเป็นงานหลัก แต่ถึงอย่างไรผมก็ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเฉพาะนักทำสารคดีหรือนักเขียนเท่านั้น ผมมองตัวเองเป็นผู้ผลิตคอนเทนท์ ไม่แน่ว่ามันจะไปอยู่ใน นิทรรศการ ภาพยนตร์ หรือนิยายก็ได้ ถามว่าเปลี่ยนแปลงไหม ก็ไม่นะ มันเป็นการพัฒนามากกว่า แล้วบังเอิญสิ่งที่ผมทำ สถานที่ที่ผมเดินทางไปอาจมีคนเคยไปมาแล้วไม่กี่คน ผมจึงได้รับโอกาสมากหน่อย

คุณมาร่วมกับโปรเจคนี้ได้อย่างไร และทำอะไรบ้าง

ผมว่าคนเราถึงจุดหนึ่งในชีวิต หลังจากเลี้ยงดูตัวเอง ทำงานที่ฝันแล้ว เราก็อยากให้การทำงานของเรามีประโยชน์สูงสุดในทางหนึ่ง หรือทำอะไรให้สังคมบ้างเป็นปกติ และผมเองก็รู้สึกว่าประเด็นที่ตัวเองรู้สึกร่วมที่สุดในโลกใบนี้คือความขัดแย้งและสงคราม ทั้งในแง่การพยายามสร้างความเข้าใจที่มาของความขัดแย้ง รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งเหล่านั้น

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาสังคมเราอาจผ่านเรื่องความขัดแย้งมาบ้าง แต่ถ้าพูดในเรื่องสงครามนี่ ถ้าไม่นับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราอาจไม่รู้จักคำๆนี้เลย ทั้งที่ถ้ามองว่าเราไม่ได้เป็นแค่คนไทย แต่มองในฐานะมนุษย์โลก สงครามไม่เคยไกลจากเราเลย ผมมีโอกาสสัมผัสมันผ่านการเดินทาง ผ่านการทำสารคดีหลายครั้ง ทั้งในสถานที่ที่เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว กำลังดำเนินไป หรือกำลังเกิด แล้วรู้สึกเห็นอะไรบางอย่าง เห็นคนที่เดือดร้อน เห็นคนที่ต้องออกจากบ้าน เห็นคนที่สูญเสีย บางเรื่องแม้จะเกิดมานานแล้ว แต่เมื่อได้ไปนั่งฟัง ได้เห็นสีหน้า แววตา มันก็ทำให้เรารู้สึกมากกว่าที่เราติดตามจากข่าว นั่นคือจุดมุ่งหมายที่ผมทำและเผยแพร่ผ่านงานตัวเองมาตลอด

แล้วก็เป็นความบังเอิญส่วนหนึ่งที่เมื่อ UNHCR ให้โอกาส ผมก็ได้เข้ามาทำ มาทำสื่อ มาช่วยเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ถ้าไม่มีองค์กรมาชวน บางทีเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะนำเงินบริจาคไปตรงไหน การเข้าไปพื้นที่ผู้ลี้ภัยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เราเลยถือเป็นโอกาสที่จะเอาข้อมูลให้กับคน และทำในสิ่งที่เราคิดว่าทำได้

อะไรคือสิ่งที่คุณชอบในการทำงานครั้งนี้

อาจไม่ใช่แค่โปรเจคนี้ แต่จากการเดินทาง การศึกษาในประเด็นความขัดแย้งในโดยรวม สิ่งที่ผมชอบอย่างแรกคือทริปที่อันตรายที่สุดได้สอนอะไรให้เราเยอะที่สุด เช่น ที่ประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งที่แห่งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ลี้ภัยซึ่งหมายถึงผู้ที่ต้องการหลีกหนีจากพื้นที่สงครามเท่านั้น แต่มันหมายถึงมีผู้ที่ใช้ชีวิตในสงครามจริงๆเลย ต้องกินข้าว ดูหนัง ขณะที่อีกด้านก็มีเสียงระเบิด ผมประทับใจที่ได้เห็นความเป็นคน เห็นความเป็นมนุษย์ที่ลึกซึ้ง เช่นเดียวกับที่ซีเรีย อิรัก เราได้เห็นวัฒนธรรม ความสามารถ ความฉลาดเฉลียวของเขา ความคิดและความลึกซึ้งทางอารมณ์ของคน เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นผ่านสื่อเลย นั่นคือสิ่งที่เราชอบและอยากนำเสนอ

ในประเทศไทยผมได้มีโอกาสลงไปค่ายผู้ลี้ภัยที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพรมแดนไทยพม่าและเป็นหนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมด 9 ค่าย 4 จังหวัดตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกซึ่งได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน และตาก

ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุรินทร์ที่ผมไป เป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราวมากว่า 20 ปีแล้ว มีคนอยู่ที่นั่นประมาณ 2 พันคน เราได้เห็นเงื่อนไขชีวิตที่น่าสนใจและกระตุกเราหลายๆอย่าง เช่น บ้านที่เขาสร้างก็ต้องเป็นบ้านไม้ตลอด เพราะประเทศไทยไม่เคยลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951นั่นแปลว่าเราไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยแบบถาวรได้ บ้านที่เขาอยู่จึงเป็นได้แค่สิ่งปลูกสรา้งชั่วคราว บางคนเกิดในค่าย ติดอยู่ในบ้านเราเป็นสิบๆปี ไม่เคยออกไปนอกค่ายเลย นอกจากนั้นเราเห็นการทำงานของหน่วยงานซึ่งมักถูกวิจารณ์ เรื่องไหนดีหรือไม่ดีไม่รู้ แต่มันก็บอกว่ายังมีคนทำงานด้านนี้อย่างเอาจริงเอาจังอยู่ ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมชูประเด็นนี้ขึ้นมาแล้วเกิดการลงมือทำจริงๆ จะเล็กๆน้อยๆ อะไรก็ได้ที่ทำได้ มันดีกว่าการถกเถียงแต่ไม่มีการกระทำ ซึ่งมันจะเกิดประโยชน์ค่อนข้างน้อย

คนธรรมดาสามารถช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างไรได้บ้าง

แน่เลยครับว่าสิ่งแรกคือเข้าใจและรับฟัง และต่อไปก็แน่นอนว่าคือเงินบริจาค คือเราไม่สามารถแก้สถานการณ์ทางการเมืองจากประเทศที่เขาจากมาได้ แต่สิ่งที่ UN ทำได้คือพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ผู้ลี้ภัยอยู่ได้ดีขึ้นในขณะที่เขาต้องอยู่ในสภาพเหล่านี้ เช่น สอนเรื่องการงานอาชีพ สอนหนังสือให้เด็ก หรือจัดเวิร์คชอปเรื่องคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ดูแลเด็กกำพร้าที่เกิดจากสงคราม ดูแลผู้สูงอายุ หรือขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การจดทะเบียนเกิดซึ่งเป็นเอกสารที่รัฐบาลไทยรับรองว่านี่เป็นคนพม่าที่เกิดในแผ่นดินไทย หรือส่งผู้หนีภัยการสู้รบกลับบ้านด้วยความสมัครใจ แบบที่เคยทำกับกลุ่มนำร่อง 71 คนซึ่งสำเร็จมาแล้ว รวมไปถึงส่งไปประเทศที่สาม อย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ตามแต่นโยบาย อย่างไรก็ตามสถิติมันก็บอกว่าในจำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลก จะมีเพียง 1% เท่านั้นที่สามารถลี้ภัยเพื่อไปขอาศัยและได้ทำงานในประเทศเหล่านี้ได้ ซึ่งถือว่าน้อยมาก

จากสถิติบอกเราว่าวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยตอนนี้ ถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ที่รุนแรงที่สุดของโลกแล้ว โดยตัวเลขผู้ลี้ภัยกว่า 65.6 ล้านคน ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยซ้ำ และผู้ลี้ภัยเหล่านั้นมีไม่น้อยมีพรสวรรค์ ถ้าได้รับความช่วยเหลือ พวกเขาก็จะมีโอกาสเหมือนคนทั่วไปได้เพราะเมื่อเขามีศักยภาพ เขาก็จะช่วยเหลือตนเองและคนอื่นๆได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ในฐานะที่คุณเดินทางมามาก และมักชอบไปในสถานที่แปลกๆ หรือคนส่วนใหญ่มองว่าอันตราย คุณต้องการสื่อสารอะไร

เราไมได้เริ่มจากคนข้างนอก แต่เราเริ่มที่ว่าเราอยากรู้อะไร และที่คิดว่ามันเป็นPassion (ความหลงใหล) ไปจนแก่ คือความพยายามเข้าใจมนุษย์ ผมมองว่ามนุษย์อย่างเราๆ เมื่อเงื่อนไขรอบตัวเปลี่ยน ก็สามารถหยิบอาวุธได้โดยไม่คิดอะไรเลย หรือสามารถเอาผลประโยชน์ตัวเองเหนือความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์คนอื่นได้ มันเป็นมิติของความเป็นคนธรรมดา เราก็อยากจะเข้าใจว่าเงื่อนไขของความเปลี่ยนแปลงจากคนธรรมดามันอยู่ตรงไหน เราอยากเข้าใจมันก่อน แล้วลองคิดต่อว่ามีวิธีป้องกันเรื่องเหล่านั้นตรงไหนได้บ้าง

เคยมีคนถามว่าผมไปพื้นที่เหล่านี้รู้สึกกลัวบ้างไหม ผมก็ต้องตอบว่ากลัวครับ แต่ยิ่งทำมันก็ยิ่งเติมเต็มเรา คือโอเคแง่หนึ่งมันได้เห็นโลกกว้าง อะดรีนาลีนมันก็หลั่งแบบชีวิตลูกผู้ชาย(ยิ้ม) แต่ในเชิงประโยชน์มันก็ทำให้เรามองเห็นและเปิดโอกาสให้เราทำอะไรได้มากขึ้น คือตั้งแต่ทำรายการ เถื่อน Travel (รายการโทรทัศน์) ผมก็ได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องความขัดแย้งบ่อยมาก กับอีกเรื่องคือการสร้างพลังให้กับตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้สำหรับผมมันไม่ยากเพราะคิดว่าตัวเองมีมันอยู่แล้ว

จนถึงตอนนี้การเดินทางของวรรณสิงห์เป็นเรื่องของการงานและสังคม หรือ Passion ส่วนตัวกันแน่

คือส่วนตัวสัก 90% อย่าง เถื่อน Travel ผมทำโดยเริ่มต้นจากการไม่มีสปอนเซอร์ด้วยซ้ำ คือทำเพราะอยากทำ แล้วค่อยตระเวนขาย ตอนแรกยังไม่รู้จะชื่อรายการเลย พอขายได้แล้วหักค่าใช้จ่าย เงินเก็เหลือเข้าตัวเองแบบว่าอย่านับเลยดีกว่า (หัวเราะ) แต่มันแฮปปี้กับชีวิตครับ รู้สึกว่าได้ทำกับสิ่งที่ฝันมานานแล้ว ถ้ามองว่ามันเป็นการหาเลี้ยงชีพไหม ก็คงไม่ เพราะถ้าคิดว่าเลี้ยงชีพเราคงทำอย่างอื่นที่เสี่ยงตายน้อยกว่า สิ่งนี้มันเป็นการเลี้ยงชีวิตมากกว่า

คุณเคยบอกว่าความสุขของมนุษย์ควรจะประกอบไปด้วยการจัดความสัมพันธ์และพอใจกับ 3 สิ่งได้แก่ กับตัวเอง กับผู้อื่น และสัมพันธ์กับโลก ยังเชื่อเช่นนี้อยู่ไหม

ผมยังเชื่ออยู่นะ ความสัมพันธ์กับตัวเองก็คือเราซื่อสัตย์กับตัวเอง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นคือเราไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเองอย่างเดียวแล้ว แต่คือมีผู้อื่นซึ่งต้องเทคแคร์ในชีวิต และสัมพันธ์กับโลกซึ่งกว้างกว่าสองเรื่องแรก

ผมว่าถึงจุดหนึ่งในชีวิตทุกคนคงอยากมีประโยชน์กับสังคมทั้งนั้น อย่างน้อยๆ เขาก็จะไปวัดเพื่อบริจาคเงิน นั่นเพราะว่ามันไม่พออีกแล้วที่จะดูแลแค่ตัวเองหรือคนที่อยู่ในสายตา ผมว่าธรรมชาติมนุษย์พยายามจะเติมเต็มในส่วนนี้ด้วย เพื่อให้ตัวเองมีความหมาย และถ้าถามกลับว่าทำไมผมยังทำรายการแบบนี้อยู่ ก็เพราะว่ามันได้ทำอะไรให้กับโลก และผมเชื่อว่าถ้าทำอะไรและมีโอกาสทำทุกคนก็จะทำในรูปแบบต่างๆกันไป สุดท้ายมันไม่ใช่เรื่องความสุข แต่มันคือความเติมเต็มมากกว่า คือผมไม่ต้องการอะไร วันเกิดมีคนถามว่าอยากได้อะไร เราก็รู้สึกว่าไม่อยากได้อะไร สิ่งที่ทำอยู่คือสิ่งที่อยากทำ แล้วก็ได้ทำแล้ว

ผู้หญิงแบบไหนครับที่คนอย่างคุณมองหา

ถึงวันนี้ผมก็อายุ 33 แล้ว คงไม่คิดอะไรมากกว่าความสบายใจแล้วละ เราอาจจะเคยวาดฝันต่างๆนาๆ แต่ความสบายใจคือสิ่งที่หายากมาก และถ้ามีได้ ก็ควรรักษามันไว้ดีๆ แค่นี้ดีกว่า

มองว่ากลุ่มคนที่ชอบคุณ ติดตามงานคุณคือคนกลุ่มไหน

คงต้องย้อนไปถึงสื่อที่ทำ คือผมทำสารคดีการเดินทางในมุมมนุษย์นิยม แล้วก็พยายามที่จะเข้าใจทุกพฤติกรรมของแต่ละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อการร้าย พฤติกรรมของฆาตกร โสเภณี พ่อค้าหนังโป๊ และสื่อที่เราอยากทำคือต้องการเข้าใจในทุกมุมว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น โดยที่จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ และถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วย แต่เราก็ไม่อยากให้ความไม่เห็นด้วยมาหยุดการที่เราจะเข้าใจเรื่องราวเหล่านั้น

บางคนอาจจะมองว่าสื่อควรต้องเลือกข้าง หรือมีจุดยืนบ้างว่าอันนี้ถูก หรืออันนี้ผิด และมันก็มีประโยชน์เหมือนกัน แต่ผมก็มองว่าสื่อที่ชี้นำทางความคิดมันมีอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าถามว่ากลุ่มคนที่ดูผมคือใครก็คนที่ชอบแบบนี้โดยที่ไม่ได้ชี้ผิดชี้ถูก คนที่ชอบโต้แย้งหรือต้องการชี้ผิดชี้ถูกก็อาจจะไม่ชอบเรา แม้จะเป็นริเบอรัล หรือคอนเซอร์เวทีฟก็ตาม

ตัวอย่าง เช่น ตอนผมไปเกาหลีเหนือผมก็พยายามเข้าใจระบบ เข้าใจมุมมองของคนที่นั่นว่าเขาคิดอย่างไร ฝั่งที่ริเบอรัล ก็คงไม่ชอบ ว่าทำไมผมถึงไม่ประณามประเทศนี้ หรืออย่างตอนที่ผมเห็นใจคุณไผ่ (ดาวดิน) ก็จะมีอีกฝั่งที่ด่าเรา ทั้งที่ในความเป็นจริง คือเราไม่ได้เห็นด้วยในทุกๆเรื่อง แต่เราเข้าใจความเป็นคนของพวกเขา

ความคิดแบบนี้ บางคนเรียกว่าโลกสวย เวลาคนบอกว่าวรรณสิงห์โลกสวยคุณคิดอย่างไรบ้าง

ก็ไม่คิดอะไรครับ คือถ้าคนที่เห็นสงคราม เห็นด้านมืดเหมือนเรา แล้วยังโลกสวยก็ต้องมีการมองโลกในแง่ดีสูงเท่าที่ควร (หัวเราะ) ซึ่งในแง่หนึ่งเรสก็คิดว่าโลกมันสวยจริงๆ คือการเดินทางไม่ได้เห็นแค่คน เราเห็นธรรมชาติด้วย วิวบางวิวเห็นแล้วแบบว่า “ให้ตายก็ไม่ลืม”  คือธรรมชาติมันสวยอยู่แล้ว ทุกคนรู้ดี แต่อีกมุมหนึ่งโลกสวยก็กลายเป็นวาทกรรมอีกแบบไว้ ตัดสินคนที่มีพื้นฐานในมุมมองที่ไม่พอดีกับกรอบที่คุณมีอยู่แล้ว แล้วก็เอาคำว่าโลกสวยมาครอบ ในเรื่องที่ไม่ตรงกับชุดความคิดของคุณ ดังนั้นการที่ผมมีคำว่าโลกสวยมาครอบในบางครั้ง แปลว่าความเห็น ท่าทีของผม มันไม่ตรงกับคนบางคน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติมาก เพราะมันก็ไม่จำเป็นต้องตรงกันอยู่แล้ว แต่ว่าการที่เขาตอบโต้กลับมาด้วยคำว่าโลกสวยอย่างเดียวมาครอบ โดยที่ไม่มีความหมายอะไรเลย มันก็แค่จะบอกว่าความเห็นนี่มันไม่ค่อยสมเหตุสมผลในมุมของเขา

ไม่รู้สึกอะไรเลยถ้าใครจะว่าคุณโลกสวย

เอาเป็นว่า เราทำงานเต็มที่แล้ว ใครจะว่าอย่างไรก็ตามสบาย แต่ทั้งนี้สำหรับเถื่อน Travel ในซีซั่นแรกฟีดแบ็คมันก็เป็นบวกมากกว่าลบ ผมก็ได้ยินด้านลบมาครั้งเดียวคือในตอนเกาหลีเหนือ แต่ก็ไม่เป็นไรครับ เราทำในพื้นที่สาธารณะ มานานเราก็ต้องรับฟัง แต่ให้ต้องมานั่งเครียด คงไม่แล้ว

 

 

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: http://www.judprakai.com/life/283

The Momentum: สงครามและผู้ลี้ภัย - เข้าใจด้วยสมอง สัมผัสด้วยหัวใจกับ ‘วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล’

 

The Momentum: สงครามและผู้ลี้ภัย - เข้าใจด้วยสมอง สัมผัสด้วยหัวใจกับ ‘วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล’

 

​สงครามและผู้ลี้ภัย - เข้าใจด้วยสมอง สัมผัสด้วยหัวใจกับ ‘วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล’

 

        ไทยมีสุภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า ‘ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญ’ อเมริกาเองก็มีคำพังเพยในทำนองเดียวกัน วรรณสิงห์ชวนเรากลับมาดูที่ปลายทางของสงคราม เมื่อคนที่ไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งกลับเป็นผู้เดือดร้อนที่สุด

“ผมมีโอกาสสัมผัสกับผู้ลี้ภัยครั้งแรกจริงๆ คือตอนไปอัฟกานิสถาน ประเทศที่อยู่กับสงครามมาสี่สิบปีแล้ว อีกครั้งหนึ่งคือตอนที่ผมไปทำงานกับ UNHCR ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในเมืองไทยมีผู้ลี้ภัยพม่าอยู่ด้วยกันประมาณ 100,000 คน กระจายอยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามชายแดนพม่า-ไทย และ UNHCR ก็ได้ไปช่วยเหลือพวกเขา และสร้างคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

 

                             สถานะที่เราให้เขาได้คือเป็นผู้ลี้ภัยชั่วคราวก่อนเหตุการณ์จะสงบ

                                           แต่คำว่าชั่วคราวนี้ก็อยู่กันมาสามสิบปีแล้ว

 

​          “หลายคนรู้เรื่องที่พม่ามีความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงแดง เป็นความขัดแย้งซึ่งเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดในโลกคือ 70 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1949 จนปัจจุบันก็ยังอยู่ในภาวะสงคราม เพราะตั้งแต่มีการตั้งประเทศขึ้นมาก็มีหลายชนเผ่าที่ต้องการสร้างดินแดนของตัวเอง และนำมาซึ่งความขัดแย้งมาถึงตอนนี้
​          “ความขัดแย้งนี้สร้างผู้ลี้ภัยขึ้นมามากมาย และอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองไทยมาสามสิบปีแล้ว บ้านในค่ายผู้ลี้ภัยต้องสร้างเป็นบ้านไม้ เพื่อให้สามารถรื้อถอนได้ง่าย เพราะทุกอย่างเป็นที่พักพิงชั่วคราวเท่านั้น ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แปลว่าเราไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยถาวรให้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านเราในฐานะประชาชนของประเทศไทยได้ แต่ที่รับเข้ามาก็ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมต่อเนื่องกันมาหลายสิบปีแล้ว สถานะที่เราให้เขาได้คือเป็นผู้ลี้ภัยชั่วคราว ก่อนเหตุการณ์จะสงบ แต่คำว่าชั่วคราวนี้ก็อยู่กันมาสามสิบปีแล้ว เด็กแทบทุกคนที่เห็นในค่ายเขาเกิดในค่ายแห่งนี้ และตามกฎหมายคือพวกเขาไม่สามารถทำงานภายนอกค่ายได้ หรือเรียนหนังสือนอกค่ายได้ อยู่ได้แต่ตรงนี้เท่านั้น

   “สภาวะที่เขาต้องเจอก็คือ ผู้ชายหลายคนโดนจับไปเป็นแรงงานทาสในกองกำลังติดอาวุธของพม่า แล้วหนีตายกันมา ทรัพย์สิน ผลผลิต ที่ดิน ถูกยึดเอาไว้ทั้งหมด สถานการณ์ก็รุนแรงจนไม่สามารถกลับไปได้ สภาพของค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้มองเฉยๆ ก็เหมือนหมู่บ้านชนบททั่วไป แต่ลองนึกถึงหมู่บ้านที่ผู้อาศัยออกไปข้างนอกไม่ได้ มันก็คือคุกอย่างหนึ่ง เป็นคุกที่ไม่ได้เกิดจากการจำจองด้วยกฎหมาย แต่เกิดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา
​          “ค่ายผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้ยังไง โดยทางกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ให้ที่ดิน และค่ายเหล่านี้บริหารโดยเอ็นจีโอ ส่วน UNHCR ได้เข้าไปช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริหารค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วย มีการสอนอาชีพ สอนคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่พ่อเสียชีวิตในสงคราม สอนอาชีพให้คนแก่คนเฒ่า ไปจนถึงกระบวนการที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการย้ายถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม

​          “อีกด้านหนึ่งของ UNHCR คือการจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็ก ไม่ใช่สูจิบัตร แต่เป็นการให้ประเทศไทยรับรองว่าเด็กคนนี้คือเด็กชาวพม่าที่เกิดในแผ่นดินไทย แปลว่าเขาไม่ได้สถานะเป็นประชาชนไทยหรือพม่า เป็นคนที่ไม่มีสัญชาติ แต่เขาสามารถเอาเอกสารนี้ไปยืนยันได้ว่าเขามีตัวตนอยู่จริง ในกรณีที่ได้กลับบ้านวันใดวันหนึ่งในอนาคต ถ้ารัฐบาลคืนสัญชาติคืนการเป็นประชาชนให้ เขาก็จะมีสิทธิต่างๆ ในฐานะพลเมืองพม่าคนหนึ่ง

 

 

“การเป็นผู้ลี้ภัย ถ้าจะจบได้ดีที่สุดคือเขาได้กลับบ้าน สองคือได้ไปตั้งรกรากในประเทศใหม่ มีอาชีพ มีสถานะเป็นประชาชนชัดเจน เรื่องการกลับบ้านก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ทางการเมืองที่บ้านเขาว่าจะเป็นยังไง ส่วนการได้ย้ายไปประเทศที่สามก็ขึ้นกับนโยบายเปิดรับผู้ลี้ภัยของประเทศที่สามว่าพวกเขายินดีจะรับไหม สถานการณ์การเมืองโลกตอนนั้นเป็นยังไงบ้าง แม้จะทำงานหนักแค่ไหน แต่ข้อมูลผู้ลี้ภัยที่สามารถไปเริ่มต้นในประเทศใหม่ไม่ว่ายุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลีย มีน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของผู้ลี้ภัยทั่วโลก

​          “เราไม่สามารถหยุดความขัดแย้งได้ แต่ถ้าทุกท่านหันมาสนใจเรื่องสังคม เรื่องสงคราม เรื่องความขัดแย้งในใจที่อยู่ในตัวเราเองต่อสังคมที่อยู่ข้างนอก มันอาจจะช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างไปได้เรื่อยๆ”
​          Study War No More - เราจะหยุดเรียนรู้เรื่องสงครามกันได้หรือยัง ยังไม่มีใครตอบได้ แต่อย่างน้อยสิ่งที่วรรณสิงห์และ UNHCR กำลังทำอยู่ ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่ง ‘เสียง’ ที่ดังพอจะบอกให้คนรอบข้างได้ยิน และหันมาสนใจเพื่อนมนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามอย่างไม่มีโอกาสปฏิเสธเช่นผู้ลี้ภัยเหล่านี้

 

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: http://themomentum.co/wannasingh-talk-for-unhcr 

UNHCR report highlights education crisis for refugee children

 

UNHCR report highlights education crisis for refugee children

Thirteen-year-old South Sudanese refugee John Luis, from Juba, South Sudan, inside a classroom at the Ofonze Primary School in Bidibidi refugee settlement, Yumbe District, Northern Region, Uganda.

 

GENEVA, September 12th 2017: More than 3.5 million refugee children aged 5 to 17 did not have the chance to attend school in the last academic year, UNHCR, the UN Refugee Agency, says in a report released today.

 

 

 

These include some 1.5 million refugee children missing out on primary school, the report found, while 2 million refugee adolescents are not in secondary school.

“Of the 17.2 million refugees under UNHCR’s mandate, half are children,” said Filippo Grandi, UN High Commissioner for Refugees. “The education of these young people is crucial to the peaceful and sustainable development of the countries that have welcomed them, and to their homes when they are able to return. Yet compared to other children and adolescents around the world, the gap in opportunity for refugees is growing ever wider.”

The report, “Left Behind: Refugee Education in Crisis”, compares UNHCR sources and statistics on refugee education with data from UNESCO, the United Nations educational, scientific and cultural organization, on school enrolment around the world. Globally, 91 per cent of children attend primary school. For refugees, that figure is far lower at only 61 per cent – and in low-income countries it is less than 50 per cent.

As refugee children get older, the obstacles increase: only 23 per cent of refugee adolescents are enrolled in secondary school, compared to 84 per cent globally. In low-income countries a mere 9 per cent of refugees are able to go to secondary school.

For tertiary education the situation is critical. Across the world, enrolment in tertiary education stands at 36 per cent. For refugees, despite big improvements in overall numbers thanks to investment in scholarships and other programmes, the percentage remains stuck at 1 per cent.

The international community will fail to attain its Sustainable Development Goals – 17 goals aimed at transforming the world by 2030 – if it does not act to reverse these trends. Goal four, “Ensure inclusive and quality education for all and promote lifelong learning”, will not be realized without meeting the educational needs of vulnerable populations, including refugees and other forcibly displaced people. And many other development goals targeting health, prosperity, equality and peace will be undermined if education is neglected.

 

  • Students attend a mathematics class at the Ofonze Primary School in Bidibidi refugee settlement, Yumbe District, Northern Region, Uganda.

 

The report calls for education to be considered fundamental to the response to refugee emergencies, and for it to be supported by long-term planning and reliable funding. It urges governments to include refugees in their national education systems as the most effective, equitable and sustainable response, and highlights some of the notable efforts made towards implementing such a policy – even in countries where resources are already stretched.

The findings further underline the importance of quality teaching, and of the national and international support networks needed to keep teachers trained, motivated and able to make a positive impact in the world’s toughest classrooms. Numerous personal stories featured in the report demonstrate that while refugees are desperate to get an education – well aware of the transformative effect it can have on their lives – there are far too few teachers, classrooms, text books and support mechanisms to meet such enormous demand.

This is the second annual education report from UNHCR. The first, Missing Out”, was released in advance of the UN General Assembly’s Summit for Refugees and Migrants last September. The New York Declaration for Refugees and Migrants, signed by 193 countries, put education at the forefront of the international response.

“Despite the overwhelming support for the New York Declaration, one year on, refugees are in real danger of being left behind in terms of their education,” said Grandi. “Ensuring that refugees have equitable access to quality education is a shared responsibility. It is time for all of us to put words into action.”

UNHCR’s report has found that the enrolment of primary-aged refugee children has risen over the past academic year, from 50 per cent to 61 per cent, thanks largely to improved policies and investment in education for Syrian refugees, as well as the arrival of refugee children in Europe, where education is compulsory. During the same time period, access to secondary education remained stagnant, with less than one in four refugee adolescents enrolling in school.

Considerable barriers remain, principally because almost one in three refugees live in low-income countries. They are the least likely to go to school – six times less likely than children globally. The countries hosting them, often already struggling to find the means to educate their own children, face the additional task of finding school places, properly trained and qualified teachers, and adequate learning materials for tens or even hundreds of thousands of newcomers who often do not speak the language of instruction and have frequently missed out on around four years of schooling.

“The progress seen in the enrolment of Syrian refugee children shows clearly the potential to turn around this crisis in education for refugee children,” said Grandi. “But the abysmal level of school enrolment for refugee children living in low-income regions clearly points to a need to invest in these often forgotten host countries.”

 

Media contacts and materials:
The multimedia version of the report can be found at http://www.unhcr.org/left-behind

 

For more information on this topic – including media contacts, a PDF version, and related photos, video, infographics and motion graphics – please visit http://www.unhcr.org/left-behind-media

 

 

For more information

                                                                                         Thanas Jarulratanamedha (Mint)

                                                                                                                                                                                                                                 02-288-1389 (jarulrat@unhcr.org)

Charity Concert for UNHCR Kong Saharat and Friends

 

Charity Concert for UNHCR Kong Saharat and Friends

เพื่อนถึงเพื่อน Charity Concert for UNHCR Kong Saharat and Friends

 

เพื่อนถึงเพื่อน Charity Concert for UNHCR Kong Saharat and Friends

 

 

 

Kong Saharat Sangkapricha singer and UNHCR supporter collaborate with his friends; Jennifer Kim Jennifer Kim FC , Potato Band POTATO , Wan Thanakrit and Golf Benjaphon. Organize the Charity Concert to raise fund for refugees in Namjai for Refugees campaign, named Friend to Freinds Kong Saharat and Friends Charity Concert for UNHCR.

 

Date: Tuesday 26th September 2017

Time: 19.00 Onward

Venue: KBank Siam Pic-Ganesha Theatre 

Ticket: 600/800/1,000/1,500/2,000 THB

Available at: 7-11 and Counter Service or https://goo.gl/Ar4QDn 

 

For more information please contact FB: UNHCR Thailand

 

 

วิกฤติผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา อพยพไปบังกลาเทศกว่า 2 แสนคน

 

วิกฤติผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา อพยพไปบังกลาเทศกว่า 2 แสนคน

สถานการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา กำลังกลายเป็นวิกฤตผู้อพยพ

 

สถานการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา กำลังกลายเป็นวิกฤตผู้อพยพ

 

 

สถานการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา กำลังกลายเป็นวิกฤตผู้อพยพ ล่าสุดสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งประชาชาติ เปิดเผยว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอพยพมายังบังคลาเทศมากกว่า 270,000 คนแล้วในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีเสียงเรียกร้องจากประเทศมุสลิมทั่วโลกให้รัฐบาลเมียนมา โดยนางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสันภาพ แสดงท่าทีและยุติความรุนแรงที่กำลังกลายเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา

 

ขอขอบคุณข่าวจาก: http://www.krobkruakao.com/local/52066

กลุ่มศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียงได้ร่วมทำกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย

 

กลุ่มศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียงได้ร่วมทำกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย

ข่าว 3 มิติ: กลุ่มศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียงได้ร่วมทำกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย

 

 

ถานการณ์สงครามที่ทำให้จำนวนผู้ถูกบังคับให้ลี้ภัยสูงกว่า 65 ล้านคนทั่วโลก กลายเป็นวิกฤตมากที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และทาง UNHCR ต้องการงบประมาณจำนวนมาก จึงมีการรณรงค์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ในส่วนประเทศไทยกลุ่มศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียงได้ร่วมทำกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยด้วย

นายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงที่ร่วมทำกิจกรรมโครงการ Namjai for refugees หรือน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย ร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR รณรงค์สร้างความเข้าใจปัญหาสงครามและผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก และมีจำนวนผู้ลี้ภัยมากกว่า 65 ล้านคน ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทำให้ UNHCR ต้องการงบประมาณจำนวนมาก นายวรรณสิงห์ เปิดเวทีทอล์คเดี่ยว เป็นครั้งแรกในหัวข้อสงครามและน้ำใจ ถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางไปในพื้นที่สงคราม และความขัดแย้งที่กลายเป็นเหตุให้ต้องมีผู้อพยพ


ขณะที่คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา เตรียมเปิดคอนเสิร์ตเพื่อถึงเพื่อน Charity Concert for UNHCR  ในวันที่ 26 กันยายนนี้ โดยมีเพื่อนศิลปิน วงนูโว, วงโปเตโต้, เจนิเฟอร์ คิ้ม, ว่านธนกฤต และกอล์ฟ เบญจพล มาร่วมด้วย ถือเป็นการร่วมกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย เป็นปีที่สองของคุณก้อง ที่อยากให้คนไทยเข้าใจปัญหาผู้ลี้ภัยในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่สามารถแบ่งปันน้ำใจช่วยเหลือได้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในไทยมีผู้หนีภัยจากการสู้รบจากประเทศเมียนมาอยู่ในค่ายอพยพในไทยมากว่า 30 ปีจำนวนกว่า 1 แสนคน

สำหรับผู้สนใจร่วมแสดงน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัยผ่านคอนเสิร์ตของคุณก้องสหรัถ สามารถซื้อบัตรได้ที่ เซเว่น อีเลฟเว่น รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายมอบให้ UNHCR ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงคราม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มศิลปินและผู้มีชื่อเสียงที่มาร่วมกิจกรรมน้ำใจเพื่อผู้ลี้ภัย เชิญชวนให้บริจาคผ่านเอสเอ็มเอส พิมพ์ 30 ส่งไปที่ 4642789 บริจาคครั้งละ 30 บาทใช้ได้ทุกเครือข่าย

 

รายละเอียดงานคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อผู้ลี้ภัย

วันแสดง: วันอังคารที่ 26 ก.ย. 2560

เวลา: 19.00 น. เป็นต้นไป

สถานที่: โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ ชั้น7 ศูนย์การค้าสยามแสควร์วัน

บัตรราคา: 600/800/1,000/1,500/2,000 บาท

ซื้อบัตรได้ที่: https://goo.gl/Ar4QDn

*รายได้ทั้งหมดมอบให้UNHCR เพื่อช่วยเหลือเด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงคราม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา ปันน้ำใจเพื่อเด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยจากสงครามด้วยกันนะคะ

 

ขอขอบคุณข่าวจาก: http://www.krobkruakao.com/local/52067

ภารกิจระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัย โดยอาหนิง นิรุตติ์ ศิริจรรยา ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

ภารกิจระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัย โดยอาหนิง นิรุตติ์ ศิริจรรยา ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

ภารกิจระดมทุนเพื่อผู้ลี้ภัย โดยอาหนิง นิรุตติ์ ศิริจรรยา ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ในแคมเปญ Namjai for Refugees

 

 

 

เพราะผู้ลี้ภัยก็เหมือนกับเรา พวกเขามีอาชีพ มีความรู้และความสามารถด้านต่างๆ ซ่อนอยู่ แต่ด้วยสถานะที่เป็น พวกเขาไม่มีโอกาสได้นำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น และเราเชื่อว่าน้ำใจจากเราทุกคนที่ส่งต่อกัน สามารถมอบโอกาสและชีวิตใหม่เพื่อเพื่อนมนุษย์ได้

อาหนิง นิรุตติ์ จึงนำความสามารถที่ซ่อนอยู่มาทำภารกิจระดมทุนเพื่อช่วยพวกเขา หลายคนอาจไม่เคยทราบว่านอกจากเป็นนักแสดงมากความสามารถ อาหนิง นิรุตติ์ ยังเป็นนักมนุษยธรรม เป็นหนึ่งในคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยสมัยสงครามอินโดจีนอีกด้วยค่ะ

สามารถติดตามภารกิจเพื่อผู้ลี้ภัยโดยผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของ UNHCR ในแคมเปญ Namjai for Refugees ได้ที่ Facebook: UNHCR Thailand ค่ะ

 

ร่วมบริจาคที่:

1. www.unhcr.or.th

2. SMS พิมพ์ 30 ส่งมาที่ 4642789 (บริจาคครั้งละ 30 บาท)

#NamjaiforRefugees #NirutforUNHCR #UNHCRThailand #เพื่อผู้ลี้ภัย

 

Rohingya refugees flee to Bangladesh

 

Rohingya refugees flee to Bangladesh

These people were exhausted but they were also relieved. © UNHCR

 

 

 

We were driving to a refugee camp when we passed this beach. We saw dozens of boats on the sea and people just streaming off them. These people were exhausted but they were also relieved. Some of them just collapsed on the beach.

This was the most desperate and devastating thing I’ve seen in my 15 years of working with refugees. It reminded me of photos I’ve seen of Vietnamese boat people in the 1980s. But this is 30 years later. How can it be happening again?

On 5 September UNHCR briefed the press corps in Geneva about the situation in Myanmar. Our statement can be found here.