ความช่วยเหลือจากคุณ
100% ของเงินบริจาคจากผู้บริจาคของแต่ละบุคคลในประเทศไทยถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ลี้ภัยในค่ายเป็นเด็ก หลายคนลี้ภัยตั้งแต่ยังจำความไม่ได้ และใช้เวลาวัยเด็กของพวกเขาในค่ายโดยไม่ทราบว่าบ้านของพวกเขาคือที่ไหน บางคนเห็น หรือถูกกระทำรุนแรง และพลัดพรากจากครอบครัว
ยังมีเด็กๆอีกมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิด ละเลย ถูกใช้ความรุนแรง และแสวงหาผลประโยชน์ การขาดการดูแลและความรักจากผู้ใหญ่ทำให้คุณภาพชีวิต สภาพจิตใจ และสังคมของพวกเขาถูกทำลายลงได้ ท่ามกลางสงคราม และความขัดแย้ง เด็กๆจะตกอยู่ในสภาพสับสน โดดเดี่ยว และเปราะบางที่สุด
โครงการ UNHCR เพื่อช่วยเหลือเด็ก
- จดทะเบียนเกิดแก่เด็กเกิดใหม่ทุกคนที่เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อป้องกันการไร้สัญชาติ และเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก
- คุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีพ่อแม่สนับสนุนนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้ลี้ภัยตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของเด็กๆ ถึงที่พักอย่างใกล้ชิด และสม่ำเสมอ
ความขัดแย้งและสงครามได้ทำลายชีวิตของผู้คนนับล้านครอบครัว หญิงผู้ลี้ภัยจำนวนมากในประเทศไทยสูญเสียคนที่พวกเธอรัก และบางคนถูกทำร้ายร่างกาย และจิตใจ มีชีวิตอยู่อย่างเปราะบางกับความบอบช้ำ
ยังมีผู้ลี้ภัยหญิงอีกมากในประเทศไทยที่ต้องการความช่วยเหลือและคุ้มครองเร่งด่วนเพื่อให้เธอกลับมายืนหยัดได้ด้วยตนเอง และทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว เพราะส่วนใหญ่จะเหลือแต่ผู้หญิงที่กลายเป็นหัวหน้าครอบครัวเพียงลำพัง
ผู้หญิงที่ลี้ภัยจากสงครามและความขัดแย้งต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องทั้งในวันนี้ พรุ่งนี้ และในอนาคต ดังนั้นการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของคุณผ่านการบริจาครายเดือนมีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดเช่นหญิงผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาที่พวกเขาต้องการ
- UNHCR ให้ชุดสุขอนามัยแก่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพื่อหยุดความเสี่ยงของโรคและการเจ็บป่วย และเพิ่มความมั่นใจ และการเข้าถึงบริการต่างๆ
- UNHCR สนับสนุน "ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง" กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของหญิงผู้ลี้ภัยและให้ความรู้เพื่อปกป้องตนเองจากถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ
- UNHCR สนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพการเกษตรและสร้างความมั่นใจของหญิงผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่เลี้ยงเดียวเพื่อที่เขาจะสามารถดูแลลูกและครอบครัวของตนเองได้
ท่ามกลางสงคราม และความขัดแย้ง ผู้สูงอายุมีความยากลำบากในการลี้ภัย และเปราะบางที่สุด หลายคนจำความโหดร้ายของสงคราม การสูญเสีย บางคนเห็น หรือถูกกระทำรุนแรง และพลัดพรากจากครอบครัว และต้องอยู่กับความรู้สึกนั้น ใช้เวลาอยู่ในค่ายมานานเกินไปโดยไม่ทราบว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร อนาคตเป็นเช่นไร พลัดพรากจากครอบครัว และไม่มีใครดูแล
โครงการ UNHCR เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ
- การตั้งถิ่นฐานใหม่ ผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งในโครงการที่ UNHCR ได้ช่วยให้ผู้ลี้ภัยได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่3 ทำให้มีโอกาสได้อยู่กับครอบครัวอีกครั้ง
- ฝึกทักษะการทำเกษตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เพื่อดูแลตัวเอง
ผู้ลี้ภัยที่พิการมีสาเหตุมาจากกับระเบิด การถูกทำร้าย การขาดสารอาหารเมื่อลี้ภัย การลี้ภัยที่ยากลำบาก พวกเขาได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายจิตใจในระยะยาว ความบกพร่องทางสมองหรือประสาทสัมผัส บาดเจ็บเรื้อรัง
ผู้ลี้ภัยที่พิการต้องการการดูแลที่เฉพาะเจาะจง เพราะไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่มีความปลอดภัย และไม่ได้รับการเข้าถึงการให้บริการต่างๆ มีคุณภาพชีวิตอย่างจำกัด ไม่ได้รับการเข้าถึงการศึกษาอย่างสมควร เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาผลประโยชน์และถูกละเมิด โดดเดี่ยว และถูกมองข้าม และขาดความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง
UNHCR ทำงานร่วมกับเอ็นจีโอเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้พิการ ดังนี้
- ห้องเรียนพิเศษเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กพิการทางสมอง และร่างกาย และสมอง
- ศูนย์กายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้พิการพัฒนาร่างกาย และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนอื่นทั่วๆ ไป
- ผู้ลี้ภัยที่พิการไดัรับความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรมเพื่อเป็นความหวังในชีวิต และใช้ความรู้เพื่อดูแลตนเอง และครอบครัว
- โครงการแขนเทียม ขาเทียมเพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนอื่นทั่วๆ ไป
- โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับพวกเขา เช่นทางเดินและห้องสุขา
- โครงการการพึ่งพาตนเอง ฝึกอบรมผู้พิการได้รับทักษะในการประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร การซ่อมอุปกรณ์ และการตัดผม เป็นต้น
คุณสามารถช่วยพวกเขาได้ด้วยการบริจาครายเดือนเพื่อให้ทางออกที่ยั่งยืนแก่ผู้ลี้ภัย บริจาคด่วน
เรื่องราวของผู้ลี้ภัย | เรื่องราวความสำเร็จ |
อ่านเรื่องราวของผู้ลี้ภัยที่น่าสนใจ | อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวความสำเร็จ |
จดหมายข่าว | รายงานประจำปี |
อ่านจดหมายข่าวฉบับต่างๆ | ดูรายงานประจำปีของเรา |