Skip to main content

ภาษา

 

เยเมนเผชิญสภาวะขาดแคลนเงินทุนขั้นวิกฤติ-UNHCR

ซาร่าห์ แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกแปด พลัดถิ่นจากสงครามกำลังนั่งอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว ในกรุงซานา ประเทศเยเมน

 

จำนวนผู้เสียชีวิตจากการความอดอยากและไม่ได้รับการรักษาพยาบาลในประเทศเยเมนเข้าขั้นวิกฤติ เนื่องจากทุนสนับสนุนสำหรับการบรรเทาทุกข์ของหน่วยงานสหประชาชาติเพื่อผู้ลี้ภัย(UNHCR) ได้รับเพียงร้อยละหนึ่งเท่านั้น

เจนีวา –ผูพลัดถิ่นชาวเยเมนจากสงครามเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นจากการขาดแคลนอาหาร และไม่ได้รับการรักษาพยาบาล ซึ่งสถานการณ์ ณ ขณะนี้นั้นอยู่ในขั้น “วิกฤติกว่าหายนะทางมนุษยธรรมใดๆ” และมีแนวโน้มที่จะแย่ลงเรื่อยๆเนื่องจาก ขณะนี้เงินทุนสนับสนุนที่ได้รับขาดแคลนเข้าขั้นวิกฤติ

 “ตอนนี้สภาวะความอดอยากเข้าขั้นวิกฤติอย่างหนัก และผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเพราะไม่ได้รับการรักษาพยาบาล เด็กหลายคนต้องออกจากโรงเรียนเพราะต้องใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นที่พักพิงของผู้พลัดถิ่นแทน”ไอแมน กาไรเบ ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศเยเมน

“เมื่อปีที่แล้ว เราได้กล่าวไว้ว่าสถานการณ์ของเราอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่ในปีนี้นั้นพูดได้เลยว่านี่เป็นหายนะทางมนุษยธรรมที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยเจอ” ไอแมน กาไรเบช”กล่าวที่งานแถลงข่าวสหประชาชาติจากกรุงเจนีวา

“นี่เป็นหายนะทางมนุษยธรรมที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยพบเจอ”

ในเดือนมีนาคม ปีพ.ศ 2558 สงครามในประเทศเยเมนซึ่งมีประชากรจำนวน 27 ล้านคน ได้กลับมาอีกครั้งทำให้ในประชากรชาวเยเมนสองในสามของประเทศ หรือประมาณ 18 ล้านคนต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก เพื่อที่จะเอาชีวิตรอด

ในขณะที่ที่ผู้คนอีกกว่าสามล้านคนต้องพลัดถิ่นจากบ้านของตัวเองในประเทศเยเมนเพื่อเอาชีวิตรอด เนื่องจากขาดแถลน น้ำ อาหาร และที่พักพิง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต

 

ผู้คนอีกจำนวนมากต้องอดทนอยู่กับความทุกข์ยากและสภาพความเป็นอยู่ที่ แออัด รวมไปถึงการที่ต้องอาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวเป็นเวลาหลายเดือนโดยไม่ได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอ

 

ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศเยเมนกล่าวถึงผลกระทบของการขาดแคลนเงินทุน

 

กาไรเบช กล่าวว่า ในขณะนี้การให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมยังต้องถูกระงับไว้เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนขั้นวิกฤติที่ได้รับเพียงแค่ร้อยละหนึ่งจากจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนจำนวน 99.6 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับตลอดทั้งปี

“ตอนนี้เราเข้าสู่กลางเดือนกุมภาพันธ์ของต้นปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่เราจะจัดสรรเงินทุนสนับสนุนให้ทันเวลา เพื่อที่เราจะสามารถวางแผนการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพื่อที่เราจะสามารถมอบความช่วยเหลือได้อย่างที่เราทำได้อย่างเช่นปีที่ผ่านมา”

ในขณะที่ปีพ.ศ 2559 สำนักงานข้าหลวงใหญผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ใช้เงินจากการระดมทุนฉุกเฉิน

จำนวน 76 ล้านเหรียญสหรัฐในการจัดซื้อและส่งมอบชุดบรรเทาทุกข์ในประเทศเยเมน แต่ปีนี้นั้น กาไรเบช กล่าวว่ามีเงินทุนเหลือเพียงหกแสนดอลลาร์ในบัญชีธนาคารเท่านั้น

เขายังได้กล่าวเสริมอีกว่า การที่เรามีเงินทุนอย่างพอเพียง จะทำให้เราได้มีตัวเลือกในการส่งมอบความช่วยเหลือมากขึ้น เช่น การช่วยเหลือด้านที่พักพิง หรือ การช่วยเหลือด้านเงินสนับสนุน เป็นต้น

 

“การที่เราปราศจากเงินทุนช่วยเหลือ นั่นก็หมายถึงเราจะมีผู้คนที่เร่ร่อนอยู่บนท้องถนนเพิ่มมากขึ้น”

 

กาไรเบช ได้ยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดจากการขาดเงินทุนในการช่วยเหลือว่าสำนักงานข้าหลวงใหญผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะไม่สามารถติดตามดูแลให้เงินสนับสนุนกับแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เปราะบางอีกกว่า 2,000 คนได้

“เราได้ทำการประเมินความช่วยเหลือในแต่ละกลุ่มบุคคลตามระดับความเปราะบาง แต่เนื่องจากเราไม่มีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการช่วยเหลือผู้คนทั้งหมด นั่นทำให้ความน่าเชื่อถือขององค์กรเราลดลง และความน่าเชื่อถือของการมอบความช่วยเหลือที่ลดลงอีกด้วยน

“ถ้าเราไม่มีทรัพยากร การทำงานของเราในประเทศเยเมนก็จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เราจำเป็นที่ต้องประเมินความต้องการของพวกเขา ว่าใครที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ และสามารถที่จะมอบความช่วยเหลือนั้นๆให้กับพวกเขาได้”  

สถานการณ์ของประเทศเยเมนในปัจจุบันสะสมมา และถูกละเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ทำให้องค์กรต่างๆในประเทศเยเมนมีความไม่มั่นคง รัฐบาลที่ยากจน และระบบเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง

ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตล้วนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นั่นก็หมายความว่าถ้าเราไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็จะมีผู้คนที่เร่ร่อนอยู่บนท้องถนนเพิ่มขึ้น และประเทศที่ไม่มั่นคงอย่างประเทศเยเมนก็จะยังเป็นประเทศที่ไม่มั่นคงต่อไป