Skip to main content

ภาษา

 

UNHCR ต้อนรับกระบวนการคัดกรองผู้ลี้ภัยอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีไทย

 

กรุงเทพฯ 16 มกราคม หน่วยงานสหประชาชาติเพื่อผู้ลี้ภัยให้การต้อนรับการอนุมัติล่าสุดของคณะรัฐมนตรีไทยสำหรับกระบวนการยืนยันตัวตนและการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย

10 มกราคม คณะรัฐมนตรีไทยอนุมัติแนวคิดหลักของข้อเสนอเพื่อสรุปและเริ่มกระบวนการคัดกรองผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้ลงทะเบียน

ในการแถลงข่าวหลังจากนี้นั้น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงขั้นตอนการทำงานที่นำโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการระหว่างกระทรวงที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่โดยนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยการทำงานนั้นจะเริ่มจากแผนร่างที่มีถูกร่างโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา และหาข้อสรุปเกี่ยวกับร่างข้อบังคับฉบับละเอียดเพื่อยื่นขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

โดยรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเสริมว่าการทำงานในส่วนนี้จะร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ และหร่วยงานรัฐบาลของต่างประเทศ หน่วยงานระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

โดยรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเสริมว่าการทำงานในส่วนนี้จะร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ และหร่วยงานรัฐบาลของต่างประเทศ หน่วยงานระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

UNHCR ได้สนับสนุนและรณรงค์เกี่ยวกับแนวทางการคัดกรองผู้ลี้ภัยให้กับประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยกว่าล้านคนมาเป็นเวลาหลายปีแล้วโดยที่ไม่มีแนวทางทางกฎหมายที่ครอบคลุม ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการอพยพของประเทศไทยตอนนี้ ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง และผู้ขอลี้ภัยนั้นก็ไม่ต่างจาก “ต่างด้าวผิดกฎหมาย” ที่สามารถถูกจับกุม และถูกขังได้ทุกเมื่อหากไม่มีเอกสารสำคัญรองรับ

“การปฎิบัติงานของคณะรัฐมนตรีนี้ได้ทำให้เห็นถึงความคืบหน้าที่สำคัญ และในการร่างแนวทางทางกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เราหวังว่าจะมีการกำหนดเกณฑ์และวิธีการตัดสินว่าใครเป็นผู้ลี้ภัย และใครไม่ใช่ผู้ลี้ภัย ที่ชัดเจน รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ และข้อผูกมัดของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย” นางสาวรูเวนดรินี่ เมนิคดิเวล่า ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ กล่าว 

ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นได้เกิดขึ้นหลังจากนายประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการให้ความคุ้มครอง และแนวทางสำหรับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ 2559 ที่การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาตินำโดยนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ณ นครนิวยอร์ก

“ตอนนี้มีผู้ที่ถูกบังคับให้หนีจากบ้านตนเอง 65 ล้านคนทั่วโลก ดังนั้นการร่วมมือกันระหว่างรัฐและผู้นำระหว่างประเทศทั่วโลกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการรับมือในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งในการที่ได้เห็นประเทศไทยได้เริ่มต้นลงมือทำจากสิ่งที่ได้ให้สัญญาไว้จากการประชุมที่นครยิวยอร์กที่ผ่านมา รวมทั้งการเป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียนในประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และบุคคลไร้สัญชาติอีกด้วย” นางสาวรูเวนดรินี่ เมนิคดิเวล่า ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ กล่าว

UNHCR ยังคงมอบช่วยเหลือเฉพาะด้านและอื่น ๆ ในการสนับสนุนเต็มรูปแบบในการหาข้อสรุปและการบังคับใช้กฎข้อบังคับที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการและการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยรองรับผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองจำนวนทั้งสิ้น 8,000 คน และผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาร์ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมดจำนวนเก้าค่ายตามชายแดน ไทย-เมียนมาร์อีกจำนวน 102,000 คน