Skip to main content

ภาษา

 

การประชุมสุดยอดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมุ่งมั่นให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยและสิทธิของผู้อพยพ

นายฟิลิปโป แกรนดี ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้นกล่าวในที่ประชุมสุดยอดสมัชชาแห่งสหประชาชาติในหัวข้อแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และผู้อพยพทั่วโลก ณ นครนิวยอร์ก © UN Photo/Cia Pak

 

 

นายฟิลิปโป แกรนดี ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้นกล่าวในที่ประชุมสุดยอดสมัชชาแห่งสหประชาชาติในหัวข้อแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และผู้อพยพทั่วโลก ณ นครนิวยอร์ก © UN Photo/Cia Pak
นายฟิลิปโป แกรนดี ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้นกล่าวในที่ประชุมสุดยอดสมัชชาแห่งสหประชาชาติในหัวข้อแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และผู้อพยพทั่วโลก ณ นครนิวยอร์ก © UN Photo/Cia Pak

19 กันยายน 2559 นครนิวยอร์ก- วันนี้รัฐบาลจาก 193 ประเทศสมาชิกได้ร่วมให้พันธะสัญญาในการเพิ่มความคุ้มครองแก่ผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัยจากบ้านของตนเอง และพลัดถิ่นหลายล้านคนทั่วโลกในที่ประชุมสุดยอดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

การประชุมสุดยอดได้รวมผู้นำรัฐบาล ผู้นำแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งตัวแทนจากภาคประชาสังคม เพื่อหาความร่วมมือในการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้ลี้ภัย และผู้อพยพ ในการร่วมแสดงความรับผิดชอบในระดับโลก ท่ามกลางสถานการณ์ผู้พลัดถิ่นที่ทวีความรุนแรงทั่วโลก

“ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นภาระอีกต่อไป พวกเขาเต็มไปด้วยศักภาพ หากแต่เราต้องมอบโอกาสให้พวกเขาแสดงศักยภาพนั้นออกมาสิ่งสำคัญที่สุดในพันธะสัญญาที่เราต้องคำนึงถึงก็คือสิทธิของผู้ลี้ภัย และผู้อพยพ” บัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวเปิดในที่ประชุม

การประชุมสุดยอดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหัวข้อแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทั่วโลกนั้นจัดขึ้นในช่วงพิธีเปิดประชุมสุดยอดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และพันธะสัญญาหลักที่ได้การยอมรับในที่ประชุม ได้ถูกบันทึกและเรียกว่าปฏิญญานิวยอร์ก

ปฏิญญาฉบับนี้เรียกร้องคำมั่นจากทางประเทศต่างๆเพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในการตั้งถิ่นฐานใหม่ และช่วยให้ผู้ลี้ภัยได้กลับมาอยู่ด้วยกันมากขึ้น รวมถึงเรียกร้องให้ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจต่างๆของโลกร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือในการมอบเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และให้การสนับสนุนประเทศที่รองรับจำนวนผู้ลี้ภัยจำนวนมากอยู่ ณ ขณะนี้ด้วย

ประเทศที่ให้การรองรับผู้ลี้ภัยได้ถูกขอความร่วมมือในการเพิ่มโอกาสให้ผู้ลี้ภัยทำงาน และให้เด็กๆผู้ลี้ภัยได้รับโอกาสทางการศึกษา ปฏิญญาฉบับนี้คือพันธะสัญญาระหว่างรัฐบาลเพื่อที่จะหาแนวทางในการระบุสาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดจำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้ออกจากบ้านของตนเองสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

นอกจากนั้นปฏิญญาฉบับนี้ยังได้มอบหมายให้ UNHCRทำแบบแผนกรอบการทำงานตอบสนองปัญหาผู้ลี้ภัยแบบครอบคลุมเพื่อเป็นแนวทางหลักในการสร้างแบบแผนความร่วมมือที่เป็นระบบชัดเจน เพื่อที่จะสามารถระดมทุนได้มากขึ้น และหาแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องหนีออกจากบ้านของตนเอง รวมทั้งประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

“วันนี้คือโอกาสสำคัญยิ่งที่เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลง” ฟิลิปโป แกรนดี กล่าว และปฏิญญาฉบับนี้คือพันธะสัญญาทางการเมืองที่จะสร้างแรงผลักดันและการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ “ปฏิญญาฉบับนี้เป็นการเติมเต็มช่องว่างในกระบวนการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ ซึ่งคือการแบ่งปันความรับผิดชอบเพื่อผู้ลี้ภัยร่วมกันอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ”

นายฟิลิปโปได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกร่วมหาทางออกในการทำงานร่วมกันอย่างมีหลักการเพื่อผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัย และร่วมแก้ไขปัญหานี้ด้วยความกล้าหาญอย่างมีวิสัยทัศน์ โดยได้เรียกร้องให้รัฐบาลร่วมหาทางออกทางการเมือง การมอบเงินทุนสนับสนุนประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัย เพื่อหาทางออกอย่างยั่งยืนแก่ผู้ลี้ภัย

“โลกเราตระหนกตกใจกับภาพ และตัวเลขของจำนวนผู้ที่เสียชีวิตกลางทะเล เราไม่ต้องการให้ความตั้งใจของเราเป็นเพียงแผ่นกระดาษเอกสาร แต่มันต้องอาศัยการลงมือทำและผลลัพท์ที่จับต้องได้” นายฟิลิปโป กล่าว

และด้วยปฏิญญาฉบับนี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

พันธะสัญญาในปฏิญญาฉบับนี้ได้ถูกเห็นชอบเมื่อเดือนที่ผ่านมา และจะถูกนำมาใช้เป็นหลักพื้นฐานในการทำงานถัดไปUNHCR ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเชื่อว่าปฏิญญาฉบับนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะมอบความคุ้มครองให้กับผู้ลี้ภัย และผู้อพยพทั่วโลก

โดยหลังจากวันนี้ที่มีการประกาศใช้ปฏิญญานิวยอร์ก ในวันพรุ่งนี้ที่ประชุมสดยอดในหัวข้อวิกฤติการณ์ผู้ลี้ภัยโลกนำโดยบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมจะถูกคาดหวังว่าจะมีการให้คำมั่นสัญญาที่เป็นรูปธรรม ในรูปแบบของเงินทุนสนับสนุน พื้นที่สำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งโอกาสที่มากขึ้นในการใช้ชีวิตสำหรับผู้ลี้ภัยในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่