Skip to main content

ภาษา

 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติแสดงความชื่นชมต่อคำมั่นของประเทศไทยในการจัดทำกระบวนการการคัดกรองผู้ลี้ภัย

 

 

กรุงเทพมหานคร, 26 กันยายน– สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทยต่อคำมั่นในการมุ่งยกระดับการให้ความคุ้มครองและการแก้ปัญหาต่อประเด็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทยตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้กล่าวสุทรพจน์ไว้ณที่ประชุมสูงสุดแห่งสหประชาชาติว่าด้วยประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและในที่ประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยประเด็นผู้ลี้ภัยตามคำเชิญของนายบารัคโอบามาประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาณนครนิวยอร์คประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเข้าใจว่าประเทศไทยได้ให้คำมั่นในประเด็นที่มีความสำคัญหลายประเด็นรวมถึงคำมั่นในการริเริ่มจัดทำกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคัดกรองเพื่อแยกแยะระหว่างกลุ่มผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและคำมั่นที่จะยุติแนวปฏิบัติในการควบคุมตัวเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้ขอลี้ภัยนอกจากนี้ในระหว่างการกล่าวสุทรพจน์ต่อที่ประชุมนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวย้ำถึงเจตนารมย์ที่ชัดเจนของประเทศไทยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอันดีของประเทศไทยต่อเงื่อนไขการเดินทางกลับสู่มาตุภูมิโดยสมัครใจของผู้หนีภัยจากการสู้รบชาวพม่าอีกด้วย

“คำมั่นเหล่านี้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าและวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของประเทศไทยต่อประเด็นผู้ลี้ภัยซึ่งไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการด้านความคุ้มครองต่อผู้ลี้ภัยในประเทศกว่าแสนคนหากยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องการเสริมสร้างการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยซึ่งนับเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่ประเทศอื่นๆในระดับภูมิภาคและในระดับโลก” นางสาวรูเวนดรินีเมนิคดีเวลาผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยกล่าว

คำมั่นของนายกรัฐมนตรีนับเป็นการกล่าวย้ำคำมั่นของประเทศไทยที่ให้ไว้ในการประชุมสุดยอดด้านมนุษยธรรมในเดือนพฤษภาคม2559ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติแสดงความชื่นชมต่อนโยบายของประเทศไทยที่มีต่อผู้ลี้ภัยทั้งในเรื่องการเข้าถึงการศึกษาการบริการด้านสาธารณสุขและการออกสูติบัตรให้กับเด็กผู้หนีภัยจากการสู้รบทุกคนที่พำนักอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนับเป็นการมอบโอกาสด้านการศึกษาแก่เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศและเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีวิตแก่ประชากรผู้ลี้ภัยซึ่งอยู่ระหว่างคอยการหาทางออกที่ยั่งยืน

“ในสภาวะปัจจุบันที่ประชากรกว่า65ล้านคนทั่วโลกถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีความชื่นชมและยินดีที่ได้เห็นการเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้นของประเทศไทยในประเด็นหัวข้อสนทนาระดับโลกนี้” นางสาวรูเวนดรินี่เมนิคดีเวลากล่าว

การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยประเด็นผู้ลี้ภัยซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาเลขาธิการสหประชาชาติเอธิโอเปียแคนาดาเม็กซิโกเยอรมนีสวีเดนและจอร์แดนซึ่งมีขึ้นหลังจากการประชุมสหประชาชาติว่าว่าด้วยประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาการให้คำมั่นในสามด้านได้แก่การพัฒนาสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาและการทำงานของผู้ลี้ภัยการตั้งถิ่นฐานใหม่ตลอดจนการรับเข้าประเทศในรูปแบบอื่นๆและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมโดยมีประเทศเข้าร่วม48ประเทศแบ่งเป็นทวีปแอฟริกา9ประเทศทวีปอเมริกา6ประเทศทวีปเอเชีย7ประเทศ  ทวีปยุโรป20ประเทศและภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ6ประเทศนอกจากนี้สหภาพยุโรปและธนาคารโลกยังได้มีส่วนร่วมในการประชุมนี้ด้วย



“สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติมีความยินดีที่จะได้ร่วมทำงานกับรัฐบาลไทยในการผ่องถ่ายคำมั่นดังกล่าวลงมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป” นางสาวรูเวนดรินี่เมนิคดิเวล่าผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติประจำประเทศไทยกล่าว