ยูเอ็นเอชซีอาร์แถลงการรณรงค์เพื่อยุติปัญหาความไร้สัญชาติภายใน 10 ปี
ภาพการเปิดตัวการรณรงค์ “ฉันมีตัวตน” นั้นสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยแบรนด์เสื้อผ้าดังอย่าง ยูไนเต็ด คัลเลอร์ส ออฟ เบเนตอง
เจนีวา วันอังคารที่ 4 พฤษจิกายน (ยูเอ็นเอชซีอาร์) –สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติพร้อมด้วยผู้สนับสนุนต่างๆ ได้เปิดตัวการรณรงค์ “ฉันมีตัวตน” เพื่อยุติปัญหาความไร้สัญชาติที่ส่งผลต่อคนหลายสิบล้านคนทั่วโลกให้หมดไป
“เป้าหมายของการยุติปัญหาความไร้สัญชาตินั้นคือการเพิ่มจำนวนของรัฐที่ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทั้ง 2 ฉบับ” ยูเอ็นเอชซีอาร์ได้กล่าวไว้ในงานแถลงข่าวก็การรณรงค์ “ฉันมีตัวตน”.
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรสข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งผู้แทนพิเศษของยูเอ็นเอชซีอาร์ แองเจลินา โจลีและผู้มีชื่อเสียงอีกว่า 30 คนได้ส่งจดหมายเปิดผนึกความว่า เป็นเวลานานกว่า 60 ปีแล้วสหประชาชาติตกลงที่จะคุ้มครองบุคคลไร้สัญชาติ และนี่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติปัญหาความไร้สัญชาติด้วยตัวมันเอง”
ปัจจุบันคนกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกเป็นบุคคลไร้สัญชาติและในทุกๆ 10 นาทีจะมีเด็กที่เกิดมาไร้สัญชาติ 1 คน พวกเขาไม่มีสิทธิในการเป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ และมักถูกปฏิเสธสิทธิหรือสวัสดิการที่พลเมืองของประเทศนั้นๆพึงได้รับ
“การไร้สัญชาตินั้นหมายถึง การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลทางสุขภาพหรือการว่าจ้างงานที่ถูกต้องตามกฏหมายได้... เป็นชีวิตที่ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นอิสระ ปราศจากโอกาสและความหวัง” ข้อความหนึ่งในจดหมายเปิดผนึกกล่าว “การไร้สัญชาตินั้นเป็นความทารุณ เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติความไม่ยุติธรรมนี้”
แองเจลินา โจลี ดาราและผู้กำกับชื่อดังกล่าวว่า การที่เป็นบุคคลไร้สัญชาตินั้น แปลว่าทั้งตัวบุคคลนั้นและลูกหลานของเขาจะไม่มีหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวตนได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่มีหนังสือเดินทาง ไม่มีสิทธิออกเสียง และมีโอกาสน้อยมากหรืออาจจะไม่มีเลย ที่จะเข้าถึงการศึกษา “นอกจากการยุติปัญหาความไร้สัญชาติ ทำจะให้เรื่องเลวร้ายเหล่านี้กลายมาเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ยังช่วยให้สังคมของประเทศนั้นๆมีความแข็งแกร่งขึ้นได้ด้วย ความสามารถและพรสวรรค์ของผู้คนเหล่านี้ นี่คือพันธกิจที่ทุกๆรัฐบาลและภาครัฐควรจะทำเพื่อกำจัดความไร้สัญชาตินั้นให้หมดไป” เธอกล่าว
การไร้สัญชาติส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ ปัจจุบันมี 27 ประเทศที่ปฏิเสธให้ผู้หญิงนั้นมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายที่จะให้บุตรของเธอเหล่านั้นได้ถือสัญชาติตามเธอ นั้นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความไร้สัญชาติถูกส่งต่อไปอย่างรุ่นต่อไป ความเชื่อมโยงกันอยู่ความไร้สัญชาติ การพลัดถิ่นและความไม่ความมั่นคงของภูมิภาคนั้นๆนั้นมีอยู่
ยูเอ็นเอชซีอาร์แถลงการรณรงค์นี้ท่ามกลางสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการไร้สัญชาติ เมื่อ 3 ปีที่แล้วเกือบ 100 รัฐได้เซ็นต์สัญญาลงนามในอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของคนไร้สัญชาติ ปี 2497 และ อนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี 2504
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีความคืบหน้าดังกล่าว ความเสี่ยงของความไร้สัญชาติเกิดขึ้นมากมายตามความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซีเรีย ผู้คนกว่าหลายล้านคนต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นและกลายเป็นผู้ลี้ภัย
มีเด็กๆกว่าหลายแสนคนเกิดมาเป็นผู้ลี้ภัย ยูเอ็นเอชซีอาร์ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ เพื่อให้ความสำคัญในการออกใบรับรองการเกิดให้กับเด็กเหล่านี้ แต่ด้วยความที่เอกสารบางอย่างนั้นอาจมีไม่เพียงพอและสูญหายหรือบิดาของเด็กนั้นเกิดหายตัวไป เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และนั่นหมายความว่าเด็กๆเหล่านี้จะต้องพบกับความยากลำบากในการพิสูจน์ตัวตนของพวกเขา
ยูเอ็นเอชซีอาร์และผู้สนับสนุนอย่างยูไนเต็ด คัลเลอร์ส ออฟ เบเนตองได้สร้างโครงการรณรงค์ “ฉันมีตัวตน”ขึ้นมา เพื่อที่จะเรียกร้องให้ประชาคมโลกนั้นหันมาสนใจในปัญหาและร่วมกันยุติการไร้สัญญาชาติที่มีผลกระทบระยะยาวต่อชีวิตบุคคลเกือบทั้งชีวิต เบเนตองได้สร้างสรรค์เนื้อหาของการรณรงค์นี้ รวมทั้งทำเว็บไซต์ขึ้นมาโดยเฉพาะ หลังจากที่เปิดตัวการรณรงค์นี้ จดหมายเปิดผนึกจะกลายเป็นใบลงชื่อที่มีเป้าหมายในการรวบรวมรายชื่อลงนามกว่า 10ล้านรายชื่อ เพื่อสนับสนุนในการยุติปัญหาความไร้สัญชาติ
ยูเอ็นเอชซีอาร์กล่าวเพิ่มเติมในวันอังคารที่ผ่านมาด้วย “รายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องความไร้สัญชาติ ว่านี่คือผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติมหาศาล รวมไปถึง ข้อตกลง 10ข้อที่ทั่วโลกควรกระทำเพื่อยุติการไร้สัญชาติ โดยมีเป้าหมายคือการแก้วิกฤตปัญหาที่มีอยู่ปัจจุบันรวมทั้งป้องกันไม่ให้เด็กที่เกิดมากลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติในอนาคต
”ความไร้สัญชาตินั้นทำให้คนรู้สึกว่า การมีตัวตนของพวกเขานั้นคือสิ่งผิดกฏหมาย” กูเตอร์เรสกล่าว “นี่คือโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ที่เราจะช่วยกันยุติความไร้สัญชาติภายใน 10ปีข้างหน้า และมอบโอกาสและความหวังให้คนกว่า 10 ล้านคน ดังนั้นเราจะล้มเหลวในความท้าทายนี้ไม่ได้เด็ดขาด” ขณะที่ปัญหาความไร้สัญชาติยังคงมีอยู่จากปัญหาการเมืองในบางประเทศ แต่ในบางประเทศ การแก้ปํญหานี้สามารถทำได้ง่ายๆโดยการเปลี่ยนคำไม่กี่คำในกฏหมายให้ความเป็นพลเมือง 10 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงทางนิติบัญญัติและนโยบายทำให้บุคคลไร้สัญชาติกว่า 4 ล้านคนมีตัวตนและได้รับสัญชาติ
อย่างในปี 2551ศาลฏีกาในประเทศบังคลาเทศ อนุญาติให้บุคคลไร้สัญชาติกว่า 300,000 คนที่พูดภาษาอูรดูได้เป็นพลเมือง นั้นถือเป็นการจบสิ้นของการส่งต่อการไร้สัญชาติยังรุ่นต่อไป ในประเทศโกตดิวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) ได้มีการปฏิรูปกฎหมายในปี 2556โดยให้บุคคลที่อาศัยอยุ่ในประเทศมาอย่างยาวนานได้รับสัญชาติได้ ซึ่งส่งผลให้คนไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของสงครามในอดีตจำนวนมากได้รับสัญชาติ ในปี 2552ประเทศคีร์กีสถาน พลเมืองที่เดิมเคยเป็นชาวโซเวียตกว่า 65,000 คนก็ได้รับรองในการเป็นพลเมืองของคีร์กีสถาน
ปีนี้เป็นปีครบรอบ 60 ปีที่สหประชาชาติได้ก่อตั้งอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของคนไร้สัญชาติ ปี 2497 และอนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี 2504 เพื่อยุติความไร้สัญชาติ
“ด้วยการสนับสนุนทางการเมือง ยูเอ็นเอชซีอาร์เชื่อว่าปัญหาความไร้สัญชาตินั้นสามารถแก้ปัญหาได้ และไม่เหมือนปัญหาอื่นๆที่รัฐบาลต่างๆได้เผชิญอยู่ในตอนนี้ การไร้สัญชาติสามารถแก้ไขได้ภายในชีวิตนี้ของเรา” อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้มีกว่า 38 รัฐที่ร่วมลงนามอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของคนไร้สัญชาติ ปี 2497 และอีก 61 รัฐลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี 2504