ช่างซ่อมรถยนต์ชาวซีเรียกับการต่อสู้ชีวิต ในกรุงโซล
อะจาร์หันหลังให้กล้องขณะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ UNHCR ที่กรุงโซล
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 24 มีนาคม (UNHCR) อะจาร์ อาหมัด (นามสมมุติเพื่อเหตุผลทางความคุ้มครอง) ลี้ภัยจากเมืองอะเลปโป ประเทศซีเรียเมื่อ 2 ปีก่อน สิ่งที่เขาคิดอยู่อย่างเดียวในขณะนั้นคือจะต้อง หนี หนีไปให้ไกลทึ่สุดจากอันตรายนี้ และเมื่อคิดถึงสถานที่ที่เขาจะได้รับความปลอดภัย อะจาร์ก็ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ แม้ว่าเขาจะไม่เคยเดินทางมาประเทศเกาหลีมาก่อน แต่เขาก็คุ้นเคยกับชื่อยี่ห้อรถยนต์ของเกาหลีเช่น ฮุนได แดวู เกีย ที่เขาเคยซ่อมและขายมาก่อนในธุรกิจรถยนต์มือสอง และก็มีประสบการณ์ที่ดีในการทำงานกับนักธุรกิจชาวเกาหลี
เมื่ออะจาร์ข้ามชายแดนมายังประเทศเลบานอน เขาก็มุ่งหน้าไปที่สถานทูตเกาหลีเพื่อยื่นขอวีซ่าเดินทางเข้ากรุงโซลในเดือนมีนาคม พ.ศ 2556 “ตอนนั้นฉันมีเพียงหนังสือเดินทาง และบอกกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่า ฉันเป็นผู้ลี้ภัย แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าฉันไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลอะไรทั้งนั้น และอนุญาตให้ฉันผ่านเข้ามาได้ พร้อมกับออกบัตรคนต่างด้าวให้” อะจาร์กล่าว
อะจาร์ได้วีซ่า G-1 หรือสิทธิในการพักอาศัยด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมในการอนุญาตให้อยู่ในประเทศได้เป็นระยะเวลา 6 เดือนและสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นยังได้สิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลและสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆอีกด้วย
เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรียได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ทำให้จำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.9 ล้านคนทั่วโลก โดยในประเทศเกาหลีเองก็มีจำนวนของผู้ขอลี้ภัยชาวซีเรียเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นจำนวน 650 คนเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาโดย 500 คนในจำนวนนี้ได้รับสิทธิในการพักอาศัยด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม
ด้วยความเข้าใจในสถานการณ์ของประเทศซีเรียที่เต็มไปด้วยอันตราย ทางรัฐบาลเกาหลีจึงตัดสินใจให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียสามารถอาศัยในประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองผู้ลี้ภัยซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี โดยผู้ที่ได้รับสิทธิในการพักอาศัยด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมจำนวน730คนส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย และจากประเทศอื่นๆคือชาวปาเลสไตน์ อียิปต์ จีน และพม่า
อะจาร์เคยมีชีวิตที่ดีจากการประกอบอาชีพค้าขายในเมืองอเลปโปซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของซีเรีย แต่ในปลายปีพ.ศ 2555 กลุ่มติดอาวุธได้บอกอะจาร์ให้เขาปิดกิจการ หลังจากนั้นหุ้นส่วนของเขาก็ได้ถูกจับตัวไปและครอบครัวต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตัวเป็นจำนวนเงินมหาศาล ณ เวลานั้นอะจาร์ซึ่งเป็นชาวเคิร์ดจึงตัดสินใจว่านี่คือเวลาที่เค้าจะต้องหนี อะจาร์เล่าให้เจ้าหน้าที่ UNHCR ฟังที่กรุงโซล
ด้วยสิทธิทางมนุษยธรรมที่เขาได้รับ อะจาร์สามารถอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีได้จนกว่าสถานการณ์ที่ประเทศซีเรียจะปลอดภัย และยังได้รับสิทธิในการทำงานได้อย่างถูกกฎหมายในเกาหลีใต้ โดยต้องต่ออายุวีซ่าG-1ทุกๆ 6 เดือน อะจาร์ต้องการสถานะผู้ลี้ภัยเพราะเขารู้สึกยั่งยืนปลอดภัย เพื่อรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในระยะยาวและเป็นที่เข้าใจในหมู่เพื่อนร่วมงาน
ผู้จ้างหลายๆคนยังมีความสับสนเกี่ยวกับวีซ่า G-1เนื่องจากมีอายุเพียง 6 เดือน และความแตกต่างทางด้านภาษาที่เป็นอุปสรรคในการหางานประจำของอะจาร์ในงานช่างซ่อมรถยนต์เกาหลี เมื่ออะจาร์ได้งานพิเศษเขาได้รับเงินค่าตอบแทนประมาณ 50-100 เหรียญสหรัฐต่อวัน โดยลูกพี่ลูกน้องของอะจาร์ได้ส่งเงินช่วยเหลือรายเดือนจากตุรกีมาให้เป็นบางครั้ง แต่ก็มีรายได้แค่พอประทังชีวิตไปวันๆเท่านั้น
“ถ้ามีงานแยกส่วนประกอบรถยนต์ ผมก็จะมีงานทำเพราะเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ภาษาและผมก็รู้จักรถเกาหลีดี แต่เมื่อไหร่ที่ไม่มีรถที่ต้องแยกส่วนประกอบ ผมก็จะไม่มีงานไปหลายวันหรือหลายอาทิตย์เลยทีเดียว” อะจาร์กล่าว
อะจาร์อยู่ในเมืองเล็กๆนอกกรุงโซลในเมืองชุนชอนทางแถบตะวันออกซึ่งต่างจากคนอื่นๆ เพื่อจะได้จ่ายค่าเช่าที่ถูกกว่า โดยเขาจ่ายต่ำกกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับการพักอาศัยคนเดียวในอพาร์ทเมนต์ระดับกลางเมื่อเทียบกับที่เขาต้องจ่ายประมาณ 500 เหรียญในเมืองอินชอนในช่วงแรกก่อนที่เขาจะได้รับสิทธิในการพักอาศัยด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม
“ที่นี่สวยงามมาก เหมือนกับบ้านเกิดของผมที่ซีเรียเลย และชาวเกาหลีก็ใจดี แต่ผมก็ยังหวังว่าสงครามจะจบลงเร็วๆนี้ เพื่อผมจะได้กลับบ้านไปหาแม่ของผม ตอนนี้เธอสุขภาพไม่ค่อยดีด้วย” อะจาร์กล่าว ตอนนี้มีเพียงแม่และน้องชายของอะจาร์ที่อาศัยที่ซีเรีย โดยคนอื่นๆได้ย้ายไปยังประเทศอื่นเช่นตุรกี เบลเยี่ยม และอิตาลีแล้ว
เรื่องโดย Heinn Shinกรุงโซล ประเทศเกาหลี